【ผลบอลคัมบูร์】ภารกิจเพื่อผู้ป่วย 'โรงพยาบาลแห่งอนาคต' เปิดใจคีย์แมนทีมอเวนเจอร์ส สจล. 'ยังขาดปัจจัย' รอคนไทยใจบุญมาช่วยเหลือ | เดลินิวส์
“…ตั้งใจให้ที่นี่เป็นโรงพยาบาลที่แตกต่าง เพราะนอกเหนือจากการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังตั้งใจทำให้เป็นที่นี่เป็นแหล่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยด้วย” นี่เป็น “ภารกิจสำคัญ” ที่ทาง ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ระบุไว้กับ “ทีมวิถีชีวิต” ในวันที่พา คณะผู้บริหารเดลินิวส์ และ กองบรรณาธิการเดลินิวส์ เยี่ยมชมติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (King Mongkut Chaokhun Thahan Hospital) หรือมีชื่อย่อว่า “KMCH” ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ก็มีเรื่องราวเบื้องหลังและเส้นทางน่าสนใจ ที่วันนี้ “ทีมวิถีชีวิต” มีเรื่องราวมานำเสนอ…
ภารกิจเพื่อผู้ป่วยโรงพยาบาลแห่งอนาคตเปิดใจคีย์แมนทีมอเวนเจอร์สสจลยังขาดปัจจัยรอคนไทยใจบุญมาช่วยเหลือเดลินิวส์ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์“แม้จะเป็นโรงพยาบาลของรัฐ แต่ไม่ได้ใช้เงินภาษีประชาชนเลย แต่เกิดจากการสนับสนุนช่วยเหลือของผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน” อาจารย์เอ้ หรือ ศ.ดร.สุชัชวีร์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ ระบุ พร้อมเล่า “ที่มา” ของการสร้างโรงพยาบาลว่า ย้อนกลับไปช่วงที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง อธิการบดี สจล. ซึ่งช่วงนั้นเองได้มีแนวคิดที่จะก่อตั้ง “คณะแพทยศาสตร์” ขึ้น เพราะตั้งใจไว้นานแล้วว่า ถ้ามีโอกาสเป็นอธิการบดีจะก่อตั้งคณะนี้ขึ้นมาในรั้ว สจล. โดยคณะแพทย์นี้ นอกจากจะต้องเชี่ยวชาญการรักษาแล้ว ยังต้องการสร้างแพทย์ที่เป็นนักวิจัยและนักนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ ด้วย จนในที่สุดคณะแพทยศาสตร์ สจล. ก็จึงเกิดขึ้นสำเร็จ โดยปัจจุบันนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกที่เรียนจบก็ได้ไปเป็นคุณหมอแล้ว ทั้งนี้ ทาง ศ.ดร.สุชัชวีร์ ขยายความที่ต้องท้าวความเรื่องนี้ เพราะเชื่อมโยงกับการก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารแห่งนี้ โดยมีแนวคิดให้โรงพยาบาลแห่งนี้เป็น “โรงพยาบาลแห่งอนาคต” ที่มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อดูแลผู้คนจำนวนมาก รวมถึงต้องการให้ที่นี่เป็น “โรงพยาบาลวิจัย” เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ และสร้างเครื่องมือกับอุปกรณ์การแพทย์ใหม่ ๆ ให้กับ ประเทศไทย จนกลายมาเป็น “คำนิยามสำคัญ” ของโรงพยาบาล นั่นคือ “โรงพยาบาลที่เป็นผู้นำด้านการรักษาและสร้างนวัตกรรมครบวงจรแห่งแรกของไทย”
ทาง ศ.ดร.สุชัชวีร์ เล่าอีกว่า ในช่วงก่อนจะเริ่มก่อสร้างโรงพยาบาล คือราวต้นปี 2563 ตนเองมีโอกาสได้ไปพบกับผู้ว่ากรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีโอกาศได้ไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลของญี่ปุ่น และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นประสิทธิภาพของโรงพยาบาลที่นั่น จึงอยากที่จะก่อตั้งโรงพยาบาลที่คิดไว้ให้สำเร็จ แต่หลังกลับมาเมืองไทย ก็เจอกับวิกฤติโควิด-19 พอดี ซึ่งขณะนั้น ไทยเกิดวิกฤติขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ในฐานะที่เป็นอธิการบดี สจล. จึงระดมบุคลากรทั้งจากคณะแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตย์มาช่วยกันพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ จนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรม “เครื่องช่วยหายใจขนาดเล็ก” และ “เครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์” โดยใช้เงินบริจาคของคนไทยทั่วประเทศนำมาผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันนวัตกรรมดังกล่าวได้มีการแจกจ่ายไปทั่วประเทศรวมกันแล้วถึงกว่า 5,000 เครื่อง
“จากเหตุการณ์นั้นยิ่งรู้สึกว่าเรามาถูกทางแล้วที่จะสร้างโรงพยาบาล เพราะเรามีทั้งความพร้อม และศักยภาพ จึงมุ่งมั่นว่าจะต้องสร้างโรงพยาบาลนี้ให้สำเร็จ และต้องเป็นโรงพยาบาลวิจัยด้วย เพราะปัจจุบันไทยต้องเสียเงินให้ต่างชาติปีละหลายหมื่นล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์มาใช้ ซึ่งเรามองว่าหากแพทย์ของสามารถสร้างเครื่องมือได้เอง ไม่ใช่แค่ลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ แต่ยังได้เครื่องมือแพทย์ในราคาที่ถูกลงอีกด้วย” ศ.ดร.สุชัชวีร์ เล่าถึง “แนวคิด” ที่ว่านี้ จนนำไปสู่การเดินหน้าสร้างโรงพยาบาลดังกล่าว
นอกจากเป้าหมายการผลิตแพทย์และสร้างนักวิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์กับเครื่องมือทางการแพทย์แล้ว ศ.ดร.สุชัชวีร์ ยังย้ำว่า ตั้งใจให้โรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลของรัฐที่ “สวยที่สุด-ทันสมัยที่สุด” ด้วย และอีกเรื่องที่ภูมิใจก็คือ การสร้างโรงพยาบาลนี้ยังเป็นการรวมตัวบรรดาศิษย์เก่าของ สจล. ในสาขาต่าง ๆ มาช่วยกันทำให้โรงพยาบาลแห่งนี้เกิดขึ้นเป็นจริง และด้วยความที่เป็นการรวมตัวของคนเก่งและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทำให้ทีมงานนี้ “เปรียบเสมือนกับทีมอเวนเจอร์ส”
อย่างไรก็ตาม แม้มุ่งมั่นที่จะ “สร้างโรงพยาบาลแห่งอนาคต” แห่งนี้ให้สำเร็จ แต่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ ได้เล่าให้ฟังว่า การก่อสร้างมีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น นั่นก็คือ ขาดแคลนเงินสำหรับการก่อสร้าง จนนำมาสู่คำถามว่าแล้วจะทำยังไงดี? เพราะการสร้างโรงพยาบาลสักแห่งนั้น ต้องใช้เงินหลัก 1,000 ล้านบาท
“เราเริ่มต้นด้วยเงินที่มีแค่ 2 แสนบาท ที่บริจาคโดยมูลนิธิโรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้าฯ เพื่อตั้งเป็นมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จากนั้นเราก็วิ่งหาเงินเข้ามาทุกทาง ตั้งแต่การทอดผ้าป่า สร้างพระให้เช่าบูชา ประมูลภาพศิลปะ แม้แต่ทำนาฬิกา Seiko รุ่น Limited ขึ้นเพื่อนำมาประมูล กับจัดงานอีเวนต์ทุกอย่างเพื่อขอรับบริจาคจากประชาชน นอกจากนี้ ตอนที่ผมเขียนหนังสือชื่อ “คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง” เราก็ได้เงินบริจาคมาสร้างโรงพยาบาลหลายล้านบาท นอกจากนั้นคุณแม่ของผมเองก็ได้นำเงินส่วนตัวมาบริจาคให้การสร้างโรงพยาบาลด้วย เรียกว่าช่วงนั้น เจอใคร ผมขอให้มาช่วยสร้างโรงพยาบาลหมด ทั้งเพื่อน ทั้งคนรู้จัก จนได้เงินมา 187.95 ล้านบาท” เป็นเส้นทางที่ยากลำบากของการสร้างโรงพยาบาลนี้ ที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ เล่าให้เราฟัง พร้อมกับกล่าวว่า ตอนนั้นต้องทำทุกทางเพื่อหาเงิน แต่แม้จะทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว สุดท้ายก็ได้เงินทุนไม่ได้ตามเป้าอยู่ดี
“แม้จะทำทุกวิถีทางแบบสุด ๆ แล้ว ก็ยังได้เงินไม่ครบตามเป้า แต่เราก็รอไม่ได้แล้ว เพราะในเมื่อทุกคนบริจาคมาแล้ว คนที่บริจาคก็คงอยากที่จะเห็นความก้าวหน้า เราจึงตัดสินใจเริ่มก่อสร้าง แม้เงินที่มีจะยังไม่ครบก็ตาม ตอนนั้นคิดไว้ในใจว่าจะสร้างไปเรื่อยๆ ทีละชั้น และเปิดให้บริการเท่าที่สร้างเสร็จไปก่อน แม้จะไม่สะดวกนัก แต่สถานการณ์แบบนี้ก็คงดีกว่ามารอให้ได้เงินครบแล้วค่อยก่อสร้าง เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าจะได้ครบเมื่อไหร่” ศ.ดร.สุชัชวีร์ ระบุ
อย่างไรก็ดี แต่ช่วงที่เริ่มก่อสร้างก็มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น เมื่อมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งซึ่งมีสามีเป็นเจ้าของบริษัท บางปะอินเสาเข็มคอนกรีต ได้ช่วย “บริจาคเสาเข็มให้ฟรี” พร้อมกับ “ช่วยตอกเสาเข็มให้ฟรีทุกต้น” เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ ซึ่งถ้าคิดเป็นเงินแล้วก็เป็นเงินสูงกว่า 40 ล้านบาท จนทำให้อาคารโรงพยาบาลเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และเมื่อคนเริ่มเห็นว่าทำจริง ก็เริ่มมีเงินบริจาคเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้ก็ยังได้รับงบสนับสนุนในส่วนที่ยังขาดจากทาง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 665.05 ล้านบาท จนได้งบก่อสร้าง “อาคารโรงพยาบาล” ตามเป้าในที่สุด
ขณะที่หนึ่งในคีย์แมนอีกท่านอย่าง ศ.นพ.อนันต์ ศรีเกียรติขจร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สจล. กล่าวเสริมว่า คณะแพทยศาสตร์ของ สจล.พยายามสร้างผลผลิตให้แตกต่างจากที่อื่น ๆ โดยนอกจากจะเน้นการให้ความรู้เรื่องแพทย์ทั่วไปแล้ว ยังต้องการสร้างนักวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วย ทำให้นักศึกษาแพทย์ที่จบไปจากที่นี่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ที่อื่น ๆ โดยทุกคนจะมีความสามารถด้านการวิจัยสูงมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่า แม้ประเทศไทยจะมีชื่อเสียงด้านบริการทางการแพทย์ แต่กลับไม่มีบทบาทด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเลย ทำให้ที่ผ่านมาประเทศไทยมีแต่ซื้อเข้า ด้วยเหตุนี้ สจล.จึงมองว่า เราควรมีบทบาทการเป็นผู้นำพัฒนาในด้านนี้ให้กับประเทศไทย
“เราหวังว่าบัณฑิตที่จบออกไปจากเราจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่องานด้านนวัตกรรมการแพทย์ของประเทศไทย และของโลกในอนาคต” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สจล. ระบุ พร้อมกล่าวอีกว่า ถ้าโรงพยาบาลนี้แห่งก่อสร้างสำเร็จแล้ว เชื่อว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบการแพทย์และของประเทศไทย โดยนักศึกษาแพทย์ทุกคนสามารถใช้ที่นี่เป็นแหล่งศึกษาเพิ่มเติมได้ โดยเฉพาะในด้านของการทำวิจัย อีกทั้งยังสามารถใช้ที่นี่เป็นพื้นที่ทดสอบนวัตกรรมได้อีกด้วย
“เราเชื่อเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงส่งเสริมให้อาจารย์ก็ต้องพัฒนาตัวเองเช่นกัน เพราะมุ่งหวังว่า ที่นี่จะเป็นพื้นที่ที่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน หรือร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ต่าง ๆ” ศ.นพ.อนันต์ ระบุ พร้อมย้ำว่า ทุกคนที่มีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดโรงพยาบาลนี้ตั้งใจว่า นอกจากที่นี่จะเป็นโรงพยาบาลที่ช่วยเหลือประชาชนแล้ว ยังมุ่งหวังให้โรงพยาบาลนี้สร้างประโยชน์ด้านการวิจัยนวัตกรรมด้วย
“การสร้างโรงพยาบาลนี้ เราทำเพื่อเป็นอนุสรณ์การครบรอบ 60 ปี ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ด้วย หรืออยากให้คนไทยมองว่า เราจะได้มอบของขวัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนคนไทย ก็คงจะพูดได้”
ทั้งนี้ ในช่วงสุดท้ายของการนำ คณะผู้บริหารเดลินิวส์ และ กองบรรณาธิการเดลนิวส์ เยี่ยมชมติดตามดูความคืบหน้าการก่อสร้าง โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร หรือ “KMCH” ทาง รศ.นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ได้ทิ้งท้ายว่า “โรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่ได้ต้องการที่จะแข่งขันกับใคร แต่มุ่งเน้นที่จะศึกษาวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ ที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้จากที่บ้าน (Home-based Care) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนพยายามส่งเสริมให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรักษาผู้ป่วย เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้…ประเทศชาติขาดดุลน้อยลง.
ภารกิจเพื่อผู้ป่วยโรงพยาบาลแห่งอนาคตเปิดใจคีย์แมนทีมอเวนเจอร์สสจลยังขาดปัจจัยรอคนไทยใจบุญมาช่วยเหลือเดลินิวส์‘สร้างโรงพยาบาล’ เท่ากับ ‘ให้ชีวิต’
ในฐานะประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ ทาง ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลแห่งนี้ใกล้จะเสร็จแล้ว ซึ่งคิดว่าจะสร้างเสร็จภายในปี 2567 อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม แม้จะได้เงินบริจาคและเงินสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารแล้ว แต่ก็ยังขาดเงินทุนในการดำเนินการในส่วนอื่น ๆ อยู่อีกมาก และที่สำคัญ ศ.ดร.สุชัชวีร์ ย้ำว่า ตอนนี้ลมหายใจของโครงการนี้เริ่มใกล้หมดแล้ว แต่โรงพยาบาลยังต้องการงบเพื่อซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก จึงต้อง “พึ่งพิงผู้มีจิตศรัทธา” เพื่อ “ร่วมสร้างโรงพยาบาล” แห่งนี้ โดยผู้ต้องการสมบทบทุนสามารถบริจาคที่ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 693-0-32393-4
“ไม่มีอะไรได้บุญที่สุด เท่ากับให้ชีวิตคน จึงอยากขอให้ทุกคนมาช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ใช่แค่บริจาคเพื่อสร้างโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการแพทย์ด้วยครับ” ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว.
ภารกิจเพื่อผู้ป่วยโรงพยาบาลแห่งอนาคตเปิดใจคีย์แมนทีมอเวนเจอร์สสจลยังขาดปัจจัยรอคนไทยใจบุญมาช่วยเหลือเดลินิวส์บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน
ภารกิจเพื่อผู้ป่วยโรงพยาบาลแห่งอนาคตเปิดใจคีย์แมนทีมอเวนเจอร์สสจลยังขาดปัจจัยรอคนไทยใจบุญมาช่วยเหลือเดลินิวส์