【ตารางคะแนนไอร์แลนด์】เรื่อง “บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวาน” | เดลินิวส์

พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเพศชายยังมีค่อนข้างสูง โดยพบว่าร้อยละ 29.5 ของชายไทยสูบบุหรี่เป็นประจำ (สูบทุกวัน) เฉลี่ยวันละ 10 มวน หรือครึ่งซอง ในขณะที่หญิงไทยสูบบุหรี่เป็นประจำพบร้อยละ 1.8 สูบเฉลี่ยวันละ 6 มวน กลุ่มอายุที่มีประวัติเคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-29 ปี โดยพบสูงถึงร้อยละ 17.8 ในเพศชาย ในประชาชนไทยที่มีโรคเบาหวาน พบว่ายังมีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำถึงร้อยละ 10.2 โดยในเพศชายพบสูงถึงร้อยละ 21 ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแต่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัย พบมีความชุกของการสูบบุหรี่ใกล้เคียงกับคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน แต่ผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว มีความชุกของการสูบบุหรี่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่รู้ตัวถึงร้อยละ 38 ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานมีความตระหนักถึงภยันตรายของการสูบบุหรี่ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการได้รับความรู้ (diabetes self-management and support) จากแพทย์ และ/หรือทีมผู้รักษา อย่างไรก็ตามความชุกของการสูบบุหรี่ในผู้เป็นเบาหวานสำหรับประเทศไทยยังคงค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในเพศชาย

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์Vaping device

บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่ยังไม่เป็นโรค

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

มีข้อมูลทางระบาดวิทยามากมายที่แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ และ/หรือบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และความเสี่ยงนี้จะลดลงในผู้ที่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ แต่เลิกสูบแล้วในปัจจุบัน แต่ก็ยังพบสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 19 พบความเสี่ยงในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานสัมพันธ์กับปริมาณบุหรี่ที่สูบ โดยทุกๆ 10 มวนของการสูบบุหรี่ต่อวันเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้อยละ 16 อย่างไรก็ตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเมื่อหยุดสูบบุหรี่จะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เลิกสูบ โดยพบว่าหลังจากเลิกสูบบุหรี่ 10 ปีในเพศชาย และ 5 ปีในเพศหญิง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบ ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในประเทศสวีเดน และการศึกษาในประชากรแอฟริกันอเมริกันในประเทศสหรัฐอเมริกา

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

การศึกษาในประเทศเกาหลีเมื่อไม่นานมานี้ (พ.ศ.2564-2565) ในจำนวนประชากร 460,603 ราย พบว่าผู้สูบบุหรี่ชนิดมวน หรือผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานร้อยละ 22 และร้อยละ 15 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่ และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 39 ในผู้ที่สูบทั้งสองอย่าง

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เช่น มีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว อ้วนลงพุง มีภาวะไขมันพอกตับ เป็นต้น การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้น มีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุโดยตรงต่อการเกิดโรคเบาหวานจากสารนิโคติน และ/หรือสารเคมีบางชนิดที่มีในบุหรี่ ซึ่งอาจเป็นพิษต่อเบตาเซลล์โดยตรง ทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง และเพิ่มการดื้ออินซูลิน (การทำงานของอินซูลินลดลง) ผ่านทางหลายกลไก นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์เพิ่มขึ้น และไขมันแอชดีแอล (HDL cholesterol) ลดลง

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์Smiley elder covid recovery center female doctor using oximeter

บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

การสูบบุหรี่เพิ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานทั้งชนิดที่เกิดกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular) และหลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular) ผลการรวบรวมข้อมูลจากรายงาน 89 การศึกษา พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีอัตราตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า อัมพฤกษ์/อัมพาต (stroke) เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน (peripheral vascular disease) เพิ่มขึ้น 2 เท่า และโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) เพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เป็นเบาหวนที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน (diabetic kidney disease) ในผู้เป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นตาระยะรุนแรง (proliferative diabetic retinopathy) หรือ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (diabetic neuropathy) ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่าการหยุดสูบบุหรี่จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์/อัมพาต และโรคไตจากเบาหวาน    

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

โดยสรุป บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานในผู้ที่เป็นเบาหวานแล้ว การหยุดสูบบุหรี่ และ/หรือบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นและยังไม่เป็นเบาหวานไม่ควรหัดสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ที่กำลังสูบอยู่ ต้องเลิกสูบ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของท่านในระยะยาว

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชลิต รัตรสาร สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

นายแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่

เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนเบาหวานเดลินิวส์