【ตารางคะแนนลีกา2 เยอรมัน】ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร? วิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุม กนง. 21 ส.ค. 67

นักเศรษฐศาสตร์และสำนักวิจัยส่วนใหญ่ประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ในการประชุมนัดวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ก่อนจะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี เหตุเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นและดอกเบี้ยโลกอยู่ในขาลง

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

สำหรับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา SCB EIC มองว่า จะส่งผลต่อนโยบายการเงินอย่างจำกัด ขณะที่แรงกดดันจากฝั่งการเมืองต่อธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) น่าจะยังคงดำเนินต่อไป

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

วันนี้ (20 สิงหาคม) ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยกับ THE STANDRD WEALTH ว่า แรงกดดันทางการเมืองจะยังคงมีต่อไป เนื่องจากฝั่งการเมืองและแบงก์ชาติมีมุมมองต่อนโยบายการเงินที่แตกต่างกัน

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

“ปกติเรื่องการเมืองจะไม่ค่อยเกี่ยวกับการทำนโยบายของแบงก์ชาติ แต่มาตรการด้านเศรษฐกิจหรือผลกระทบจากมาตรการจะมีผลต่อการตัดสินใจ กระนั้นวันนี้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองยังไม่ได้กระทบกับเศรษฐกิจ จึงต้องรอดูว่าแนวทางการดำเนินนโยบายของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่ผมเชื่อว่าจะไม่เปลี่ยนไปมาก”

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

นอกจากนี้ ดร.สมประวิณ ยังกล่าวอีกว่า กรณีดิจิทัลวอลเล็ต “ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายหรือการสื่อสารของแบงก์ชาติ ก็ไม่ได้บอกว่ารวมมาตรการดังกล่าวในการพิจารณาอยู่แล้ว” ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจึงอาจมีผลกระทบต่อนโยบายการเงินจำกัด

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคKKP มอง ดิจิทัลวอลเล็ตส่อล่ม อาจเร่ง ธปท. ลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ขณะที่ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มองว่า ดิจิทัลวอลเล็ตจะมีผลต่อการตัดสินใจด้านดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ กล่าวคือถ้าดิจิทัลวอลเล็ตมาแน่นอน ธปท. อาจชะลอการลดดอกเบี้ยออกไปก่อน แต่เมื่อมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต โอกาสที่จะเกิดการลดดอกเบี้ยก็ย่อมมีมากขึ้นหรือเร็วขึ้น

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

“เดิมที KKP ประเมินว่า หากมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต การหั่นดอกเบี้ยครั้งแรกอาจจะเกิดขึ้นกลางปี 2568 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคิดว่าการลดดอกเบี้ยอาจเกิดเร็วขึ้นได้ ภายในต้นปี 2568 แทนเนื่องจาก ธปท. อาจจะเริ่มมองว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ แย่หลังไตรมาส 3-4 ของปีนี้” ดร.พิพัฒน์ กล่าว

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

สำหรับประเด็นเรื่องแรงกดดันจากฝั่งการเมืองต่อ ธปท. ดร.พิพัฒน์ มองว่า มีแนวโน้มจะลดลงในยุคของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ดร.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า กนง. น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% ไปทั้งปีนี้ เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมายังสอดคล้องกับสิ่งที่ ธปท. ประเมินไว้ แม้มีสัญญาณความเสี่ยงขาลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Downside Risks) เช่น การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งรวมไปถึงการสร้างบ้านและการบริโภคสินค้าคงทน อาทิ รถยนต์ปรับตัวลดลง และมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคทุกฝ่ายอยากเห็นคลัง-แบงก์ชาติร่วมมือกันเดินหน้าเศรษฐกิจ

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า กนง. น่าจะมีการพูดคุยกันเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ้าง เช่น ความล่าช้าของงบประมาณประจำปี 2568 ที่อาจทำให้เศรษฐกิจแผ่วช่วงปลายปี และโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่น่าจะมีการ Scale-Down ลง จึงอาจต้องมีการถกกัน แต่ปัจจัยเหล่านี้จะไม่ใช่องค์ประกอบหลักในการตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย แต่จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ส่วนเรื่องแรงกดดัน คาดว่าจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ เห็นได้จากช่วงที่ผ่านมา หลัง พิชัย ชุณหวชิร ขึ้นดำรงตำแหน่ง แรงกดดันก็ผ่อนคลายลง

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ดร.อมรเทพ ยังกล่าวด้วยว่า มองต่อไปในระยะข้างหน้า ไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้ง แต่ทุกฝ่ายอยากเห็นการร่วมมือกันมากกว่า เพื่อเดินหน้าเศรษฐกิจต่อไป

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคSCB EIC เชื่อ กนง. จะลดดอกเบี้ยสิ้นปี เหตุเศรษฐกิจไทยกำลังเดินลงบันได

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ดร.สมประวิณ กล่าวว่า เมื่อมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเดินลงบันได เนื่องจากแม้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาแบบ QoQ ขยายตัว 1.2% แต่ในไตรมาสต่อไปๆ การขยายตัวแบบ QoQ อาจจะต่ำกว่า 1% หรือแผ่วลงเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาภายในและภายนอกประเทศ

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

“ตัวเลขการเติบโตแบบ QoQ จะสะท้อนโมเมนตัมว่า เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาเราเดินเร็วขึ้นหรือช้าลง ขณะที่ตัวเลขการเติบโตแบบ YoY ยังมีปัจจัยเรื่องฐานเข้ามาด้วย ดังนั้นตัวเลขสูงไม่ได้บอกว่าเศรษฐกิจดี”

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ดร.สมประวิณ ยังเชื่อด้วยว่าปัจจัยที่ช่วยเอื้อให้ ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยได้คือปัจจัยเชิงวัฏจักร ซึ่งจะมีผลกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยดูได้จากกำลังซื้อที่น่าจะอ่อนแรงเรื่อยๆ จากภาวะรายรับไม่พอรายจ่าย ซึ่งจะกดอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้อุปสงค์จากต่างประเทศก็เริ่มแผ่วลงเรื่อยๆ เห็นได้จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกพ้นจุดสูงสุดแล้วและกำลังแผ่วลง เมื่อรวมกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นทั่วโลกในระยะต่อไป สุดท้าย กนง. ก็จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงปลายปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยตอนนั้นจะสะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยอ่อนแรงลงไม่ใช่แค่จากปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่เป็นปัจจัยเชิงวัฏจักรด้วย

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคttb ลุ้น กนง. ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งปีนี้ เหตุทิศทางดอกเบี้ยโลกขาลง-หนี้ครัวเรือนรุมเร้า

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

นริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต ประเมินว่า กนง. น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมายังสอดคล้องกับสิ่งที่ ธปท. ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี ภายในสิ้นปีนี้นริศมองว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง (0.25-0.50%) เนื่องมาจากแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยโลกอยู่ในช่วงขาลงและปัญหาหนี้ครัวเรือน

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

“ต้องจับตาการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยหาก Fed ลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนนี้ ก็อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยโลกกำลังเข้าสู่ช่วงขาลง ดังนั้นจึงต้องจับตาการประชุมในเดือนตุลาคมว่า กนง. จะนำปัจจัยดอกเบี้ยต่างประเทศเข้าไปพิจารณามากแค่ไหน” 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

นริศกล่าวอีกว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากต้องการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ การลดดอกเบี้ยก็สามารถช่วยได้ เนื่องจากหากดอกเบี้ยลดลง เงินที่ประชาชนจ่ายหนี้เป็นงวดๆ ก็จะสามารถลดต้นได้มากขึ้น ทำให้จำนวนหนี้ลดลงได้ นอกจากนี้หากเศรษฐกิจไทยยังโตต่ำกว่าศักยภาพ การลดอัตราดอกเบี้ยลงอาจจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายไทยเหมาะสมกับศักยภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคกสิกรมอง กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในปีนี้เพิ่มขึ้น

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. วันที่ 21 สิงหาคม 2567 คาดว่า กนง. จะยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ต่อเนื่อง เนื่องจาก กนง. ส่งสัญญาณในการประชุมรอบที่แล้วว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพขยายตัวต่ำลง 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ำหนักว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ แต่ก็มองความเป็นไปได้ที่ กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในไตรมาส 4/67 มีสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่เคยคาดไว้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มยังอยู่ในระดับต่ำ

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยกับ THE STANDARD WEALTH หลังจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย GDP ไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 2.3% ว่า เนื่องจากตัวเลข GDP ล่าสุดออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ กสิกรไทยจึงให้น้ำหนักไปทางคงอัตราดอกเบี้ยไว้

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสควิจัยกรุงศรีคาด กนง. ตรึงดอกเบี้ยถึงสิ้นปี

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา วิจัยกรุงศรีคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ในการประชุมวันที่ 21 สิงหาคมที่จะถึงนี้ และมีแนวโน้มที่จะตรึงไว้ในช่วงที่เหลือของปี โดยมีปัจจัยหนุน ดังนี้

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงไตรมาส 4

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคธปท. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ และอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินไว้ (Outlook Dependent)

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคธปท. กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้นโยบายแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted Policy) ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาคการผลิตที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างและเผชิญการแข่งขันจากต่างประเทศที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

“ความเห็นดังกล่าวบ่งชี้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นนโยบายผ่อนคลายแบบวงกว้าง (Broad-Based Policy) จึงยังไม่น่าจะเป็นเครื่องมือหลักในการหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้”

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

 

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสค

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรวิเคราะห์แนวโน้มก่อนประชุมกนงสคสามารถติดตาม THE STANDARD WEALTH
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้งานอยู่แล้วได้เลยFacebookTwitter XInstagramLine OABlockditYoutubeTikTok