【ดีแทคสายเปย์】ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษา “โรคซึมเศร้า” และ “โรคอ้วน” | เดลินิวส์

ในงานประชุมวิชาการร่วม ประจำปี 2567 “BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2024” ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “A ROAD TO LIFELONG WELL-BEING : EP.2 UNLOCK THE HEALTHY LONGEVITY” มีการเสวนาในหัวข้อ “ความเครียดและจิตใจ สำคัญต่อการคุมเบาหวานและน้ำหนัก” โดย นพ. ชัยชนะ จรูญพิพัฒน์กุล รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ และ นพ.อโณทัย สุ่นสวัสดิ์ รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์นพ. ชัยชนะ จรูญพิพัฒน์กุล

นพ. ชัยชนะ จรูญพิพัฒน์กุล จิตแพทย์ผู้สูงอายุ ศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ กล่าวถึงเหตุที่หลายคนเป็นโรคอ้วนว่า เป็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันของประสบการณ์ในชีวิตกับอาหารที่รับประทาน เช่นบางคนอาจมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีกับอาหารบางประเภท จึงปฏิเสธที่จะรับประทาน หรือหากมีความรู้สึกที่ดีกับอาหารบางชนิดที่เป็นเสมือนรางวัลและสร้างความสุขให้ทุกครั้งที่ได้รับประทาน อาหารชนิดนั้น ๆ จะไม่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ชื่นชอบที่จะหารับประทานแต่จะเป็นสิ่งที่จะช่วยเยี่ยวยาจิตใจในช่วงที่ประสบกับความทุกข์ ความเครียด เพราะเมื่อได้รับประทานอาหารเหล่านั้นแล้วจะรู้สึกมีความสุข

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์

“การที่คนเรามีความสุขเวลาที่รับประทานอาหารที่ทำให้อ้วน ในช่วงเวลาที่เหงา เศร้า เสียใจ อย่างเค้ก ไอศกรีม ชานมไข่มุก อาหารที่มีน้ำตาลสูงเหล่านี้จะทำให้มีความสุขในช่วงที่น้ำตาลในร่างกายสูงขึ้น เราจึงเข้าใจว่าร่างกายต้องการสารอาหารเหล่านี้ในขณะนั้น แต่ร่างกายของคนเราไม่ได้มีเครื่องวัดหรือสัญญาณเตือนว่ากำลังขาดสารอาหารประเภทไหน เป็นจิตใจของเราต่างหากที่ต้องการอาหารที่เคยรับประทานแล้วมีความสุข อย่างเช่นในวัยเด็กเราอาจได้รางวัลเป็นขนมเค้ก หรือไอศกรีม เมื่อเรียนได้ดีจากพ่อแม่ คนส่วนใหญ่จึงมักรับประทานอาหารที่ทำให้อ้วนยามที่รู้สึกมีปัญหาทางจิตใจ เมื่ออาหารเชื่อมโยงกับจิตใจ จึงเป็นสิ่งที่อยากมากหากจะตัดสิ่งเหล่านั้นออกจากคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะแต่ละคนก็มีประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับอาหารแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นคนอ้วนจึงไม่ใช่คนที่มีความสุขเสมอไปอย่างที่เข้าใจกัน”

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์นพ.อโณทัย สุ่นสวัสดิ์

ขณะที่ นพ.อโณทัย สุ่นสวัสดิ์ จิตแพทย์ ศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ อธิบายถึงสถานการณ์โรคซึมเศร้าที่เกี่ยวโยงกับโรคอ้วนที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกว่า คนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนพร้อมกันเป็นภาวะที่พบได้เยอะมาก จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่า มีประชากรกว่า 800 ล้านคน เป็นโรคอ้วน ส่วนคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีอยู่ราว 300 ล้านคน ซึ่งถือว่าเยอะมาก และยิ่งหากเจอว่าเป็นทั้งสองโรคร่วมกันในคนคนเดียวโอกาสที่การรักษาจะล้มเหลวมีค่อนข้างสูง นี่จึงเป็นสิ่งที่ผู้รักษาจะต้องเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างโรคทั้งสองชนิด ต้องรู้ว่าจะรักษาไปด้วยกันได้อย่างไร โรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเป็นภาวะที่มีความสัมพันธ์ คนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนถึงร้อยละ 50 ขณะเดียวกันคนไข้ที่เป็นโรคอ้วนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 50 เช่นกัน เป็นภาวะที่เกิดร่วมกันได้ ดังนั้นแพทย์อายุรกรรมที่ดูแลเรื่องน้ำหนัก และจิตแพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน คนไข้ต้องได้รับการดูแลเรื่องจิตบำบัดขณะเดียวกันก็ต้องดูแลเรื่องน้ำหนักตัวด้วย เพราะหากรักษาเพียงด้านใดด้านหนึ่งโอกาสที่การรักษาจะล้มเหลวก็จะมีมากขึ้น เพราะคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและโรคอ้วน โอกาสในการรักษาในประสบผลสำเร็จจะยากกว่าคนไข้อื่น

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์

“โรคซึมเศร้าและโรคอ้วน ต้องยอมรับว่าเกิดจากไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีผลทำให้อ้วน พอเริ่มอ้วนก็จะเริ่มรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ความมั่นใจในตัวเองน้อยลง ขณะเดียวกันพอน้ำหนักเพิ่มจะมีการอักเสบบางอย่างในระยะยาว ซึ่งส่งผลให้วงจรในการควบคุมอารมณ์ของสมองเปลี่ยนไป และนำไปสู่โรคซึมเศร้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วนหรือซึมเศร้ามันมีความสัมพันธ์กันในแง่ของชีววิทยา เวลารักษาจึงต้องรักษาไปพร้อม ๆ กัน”

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์

นพ.อโณทัย ระบุถึงแนวทางการรักษาว่า ต้องเริ่มจากความเข้าใจของทั้งคนไข้และแพทย์ผู้ทำการรักษากก่อนว่าโรทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ทั้งคนรักษาและคนไข้ต้องร่วมจัดการปัญหาไปด้วยกัน ทั้งการพยายามลดน้ำหนักให้ได้ด้วยการออกกำลังกายและปรับอาหารที่รับประทาน จิตแพทย์ต้องร่วมตั้งเป้าหมายของคนไข้ให้พอดี ๆ ไม่สูงจนเกินไปจนทำให้คนไข้ท้อ ค่อย ๆ ขยับไปทีละนิด พอลดได้ทีละนิด ๆ ร่างกายแข็งแรงขึ้น ความภาคภูมิใจของคนไข้ก็เกิดขึ้น บางครั้งอาจให้ยาต้านเศร้าร่วมด้วยเพื่อให้มีอาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด แล้วโอกาสในการรักษาหายจะมีมากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใด ๆ เลย

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์

งานประชุมวิชาการร่วมฯ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการ โดยแนวคิดในปีนี้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของโลกและประชากรยุคปัจจุบันอย่าง “เส้นทางสู่การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน”

ไขรหัสความสัมพันธ์และการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอ้วนเดลินิวส์