【ลิ้งบอลสด】เล่าเรื่องความยั่งยืน บนยอดเขา “ยุงเฟรา” | เดลินิวส์
เรื่องราวความยั่งยืนของการรถไฟยุงเฟราเริ่มต้นตั้งแต่ความอุตสาหะในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายแรก เพื่อขึ้นไปยังยอดเขา ณ จุดที่ได้ชื่อว่าเป็นสถานีรถไฟที่สูงที่สุดในยุโรปในวันนั้น ที่ต้องใช้เวลายาวนานถึง 16 ปี เพราะรถไฟคือขนส่งมวลชนที่สามารถขนทั้งผู้คนและทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นไปพร้อมกันได้ในคราวเดียว ก่อนจะตามมาด้วยกระเช้าลอยฟ้าซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มาจากพลังงานน้ำ
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
และล่าสุด “ไอเกอร์เอ็กซเพรส” (Eiger Express) กระเช้าลอยฟ้าแบบ 3 สายที่ทันสมัยที่สุดในโลกในเวลานี้ ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2020 โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีกริลเดิลวาลด์เทอร์มินอล สถานีรถไฟที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งร้านของที่ระลึก ร้านขนม ช็อคโกแลต ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้าน KIRCHHOFER ที่รวมนาฬิกาสัญชาติสวิสฯ ไว้เกือบครบทุกแบรนด์ ไปจนถึงร้านอุปกรณ์สกีและกีฬาฤดูหนาว
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์ด้วยความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงชุมชนที่อยู่โดยรอบ ก่อนหน้าที่ไอเกอร์เอ็กซเพรสจะก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการ การรถไฟยุงเฟราจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชนที่อยู่ระหว่างเส้นทาง เพราะแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้มีราวตากผ้ามามาบดบังทิวเขาเบื้องหลังที่โอบล้อมอยู่ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เสียงส่วนใหญ่แบบประชาธิปไตยแต่ทุกหลังคาเรือนที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องเห็นชอบ
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์“เราต้องให้คำมั่นกับชุมชนว่า กระเช้าลอยฟ้าจะไม่สร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา ตอนที่เปิดให้ลงคะแนนโหวตช่วงแรกมีคนที่เห็นด้วยราว 70% ส่วนที่เหลือเราก็พยายามทำความเข้าใจจนทั้งหมดเห็นด้วย แม้ว่าจะทำให้ใช้เวลานานขึ้นกว่าโครงการจะเริ่มได้ แต่นี่คือสิ่งที่เราต้องทำ” เรโม เคเซอร์ (Mr. Remo Käser) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Jungfrau Top of Europe อธิบาย
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
แม้จะได้รับความเห็นชอบแต่ไอเกอร์เอ็กซเพรสก็ยังคงเป็นพาหนะที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมดังเดิม การรถไฟยุงเฟราออกแบบให้มีเสาเชื่อมต่อเพียง 7 ต้น กับระยะทาง 6.5 กิโลเมตร โดยมีวิวของเอกเขาไอเกอร์ นอร์ธเฟสให้ชมระหว่างทาง ตู้โดยสารหนึ่งสามารถจุคนได้มากที่สุด 26 ที่นั่ง และมีตู้วีไอพีหนึ่งเดียวที่มีที่นั่งเพียง 10 ที่ ซึ่งจะออกจากโรงจอดมาเข้าประจำการเฉพาะวันที่มีคนจองใช้บริการเท่านั้น ความวีไอพีนี้นอกจากห้องโดยสารส่วนตัวเฉพาะกลุ่มแล้ว ยังมารพร้อมกับบริการห้องรับรองพิเศษ พร้อมของว่างและเครื่องดื่ม แถมด้วยเข้าห้องลับอย่างไอซ์บาร์
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์ใช้เวลาเพียง 15 นาทีก็พาขึ้นไปถึงยังสถานีไอเกอร์เกลตเชอร์ (Eigergletscher) จุดเชื่อมต่อรถไฟเพื่อขึ้นไปยัง “ยุงเฟรายอค” (Jungfraujoch) ซึ่งจะจอดแวะพักให้ลงไปสัมผัสกับหิมะขาวโพลนที่ห่อหุ้มภูเขาด้านนอกที่สถานีไอสเมียร์ (Eismeer) ที่ความสูง 3,160 เมตรจากระดับน้ำทะเลราว 5 นาที ก่อนจะเรียกกลับขึ้นรถเพื่อต่อไปสุดทางที่ความสูง 3,454 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
ทันทีเดินออกจากสถานียุงเฟรายอคก็จะพบกับร้านอาหาร ร้านของที่ระลึก และแผนที่การเดินเที่ยวชมจุดต่าง ๆ บอกยอดเขา เริ่มด้วยห้องฉายภาพยนตร์ 360° ที่จะนำภาพความสวยงามของยอดเขายุงเฟรามาให้ชมแบบที่ไม่ต้องกลัวว่า หากขึ้นมาวันที่หิมะถล่มจะมองไม่เห็นอะไรเลย ขยับมาอีกนิดคือลิฟท์คู่ที่เร็วที่สุดในสวิสซึ่งจะพาขึ้นไปยัง “ระเบียงชมวิวสฟิงซ์” (Sphinx Terrace) ที่อยู่เหนือขึ้นไปอีกราว 110 เมตรในเวลาเพียง 25 วินาที
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
ระเบียงที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่บนความสูง 3,571 เมตรจากระดับน้ำทะเล หอดูดาวรูปโดมตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางเทือกเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะเป็นหนึ่งในภาพจำของยุงเฟราที่ใคร ๆ ต้องขึ้นมาเช็คอิน ในวันที่ฟ้าเปิดและอากาศโปร่งใสโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน จะสามารถมองเห็น ธารน้ำแข็งอาเล็ทช์ (Aletsch Glacier) ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในเทือกเขาแอลป์ ว่ากันว่ามีความยาวถึง 23 กิโลเมตร และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติขององค์การยูเนสโกด้วย
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์นอกจากหน้าที่ในการเป็นระเบียงชมวิวให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมเยือนแล้ว ที่นี่ยังทำหน้าที่เป็นสถานีรายการสภาพอากาศด้วย เพราะหากคนที่ตั้งใจขึ้นมายังยุงเฟราแล้วไม่ได้ออกไปชมวิวสมใจ อาจจะขึ้นมาเสียเที่ยวได้ การรถไฟยุงเฟราจึงมีการพยากรณ์และรายงานสภาพอากาศด้านบนแบบแทบจะเรียกว่านาทีต่อนาที เพราะเพียงชั่วอึดใจลมพายุหิมะที่พัดกระหน่ำก็อาจจะหยุดลงจนสามารถออกไปเดินเล่นได้แบบไม่น่าเชื่อ
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
กลับลงมาจากสฟิงซ์เดินต่อไปอีกนิดเป็นโซนอัลไพน์ เซนเซชั่น (Alpine Sensation) อุโมงค์ที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียง บอกเล่าเรื่องราวการบุกเบิกเส้นทางรถไฟ ที่ต้องผ่านความยากลำบากมากมาย รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวยอดเขายุงเฟราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถัดไปอีกนิดคือ “ไอซ์ พาเลซ” (Ice Palace) ถ้ำน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจากการเจาะเข้าไปใต้ธารน้ำแข็งตั้งแต่ปี 1934 จากอุโมงค์ที่เป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยว วันนี้ไอซ์ พาเลซทำหน้าที่เป็นห้องนิทรรศการประติมากรรมน้ำแข็งรูปแบบต่าง ๆ ที่จะหมุนเวียนสับเปลี่ยนไปตามจินตนาการของศิลปิน มีทั้งนำอินทรีย์ เพนกวิน หรือหมีขั้วโลก และบางครั้งก็มีตัวละครจากอะนิเมชั่นชื่อดังมาเป็นแขกรับเชิญพิเศษด้วย
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์แถมยังแอบมีมุมลับอย่าง “ไอซ์บาร์” พื้นที่สุดไพรเวทที่มีประตูทางเข้าซ่อนอยู่ระหว่างทางเดินในอุโมงค์ ห้องโถงด้านในนอกจากจะมีถังเครื่องดื่มที่หมักไว้ท่ามกลางความหนาวเย็นแล้ว ยังมีเครื่องดื่มสูตรพิเศษให้ลิ้มลองเรียกความอบอุ่นให้กับร่างกายอีกต่างหาก
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์
จุดสุดท้ายก่อนจะวนถึงสถานีรถไฟยุงเฟราคือ กลาเซียร์ พลาโต (Glacier Plateau) ลานหิมะที่เป็นอีกหนึ่งในไฮไลท์ของยุงเฟรายอค โดยเฉพาะธงสวิสฯที่พลิ้วไสวตามแรงลม ณ จุดที่มีการปักธงครั้งแรกเมื่อราวร้อยกว่าปีก่อน ในวันเปิดทำการของรถไฟยุงเฟราเมื่อปี 1912 ที่จุดนี้ในวันที่ฟ้าเป็นใจ จะมียอดเขาหิมะของเทือกเขาแอลป์มาแสดงตัวเป็นฉากหลังสุดอลังการ อีกด้านยังมองลงไปเห็นอาเล็ทช์กลาเซียร์ได้ด้วย ว่ากันว่ายังสามารถมองเห็นวิวเลยไปไกลถึงเขตของเยอรมันและฝรั่งเศส โดยมีโดมศูนย์วิจัยเป็นหนึ่งในฉากหลัง
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์

วันนี้แม้จะมีไอเกอร์เอ็กซเพรสมาช่วยร่นระยะเวลาเดินทางได้ถึง 47 นาที แต่การเดินทางด้วยรูปแบบเดิมอย่างการนั่งรถไฟจากอินเตอร์ลาเคน หรือกริลเดิลวาลด์ก็ยังคงมีอยู่ เช่นเดียวกับเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำอายุเกินกว่าร้อยปี ที่ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 60 ล้านกิโลวัตต์ซึ่งยังคงเดินเครื่องผลิตพลังงานสะอาดต่อเนื่อง ขณะที่โซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาดล่าสุดที่การรถไฟยุงเฟราเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ มีทั้งที่ติดตั้งบนหลังคาของสถานีรถไฟแต่ละแห่งและโครงการต่อเนื่องในอนาคต“ยุงเฟรามีเป้าหมายลดการใช้น้ำมันให้ได้อีกราว 30% ภายใน 1 ปี เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด ไม่เพียงเท่านั้นเรายังมีโรงงานผลิตน้ำที่รองรับทั้งการใช้ของบ้านเรือนที่อยู่รอบ ๆ และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน โดยมีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนจะปล่อยออกสู่ธรรมชาติ มีระบบการจัดการขยะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Food Waste เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ขณะเดียวกันก็มีการสนับสนุนสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากชุมชน ทั้งผัก ผลไม้ นม และชีส ทั้งยังสนับสนุนธรกิจรายย่อยในพื้นที่ทัง้โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้วย” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Jungfrau Top of Europe ทิ้งท้าย
เล่าเรื่องความยั่งยืนบนยอดเขายุงเฟราเดลินิวส์