【สล็อต 98 เครดิตฟรี】‘ความเหงา-โดดเดี่ยว’ กำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพ ใช้ AI แก้-ลดเหลื่อมล้ำ | เดลินิวส์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา ภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์สุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และ 7 องค์กร คือ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPF) ธนาคารจิตอาสา IDG Oneness Thailand สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดประชุม Complete Well-being in the Age of AI: The Crucial Role of Spiritual Health and Practical Strategies ความเป็นอยู่ที่ดีอย่างสมบูรณ์ในยุคของ AI: บทบาทสำคัญของสุขภาวะทางปัญญา และกลยุทธ์การปฏิบัติ ภายใต้
การประชุม Prince Mahidol Award Conference (PMAC) 2025 การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
ความเหงาพาคนเสี่ยงสุขภาพ
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เล่าว่า งานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ทางสังคมกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดย J. Holt-Lunstad และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสาร PLOS Medicine ระบุว่า อันตรายจากความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน หรือการดื่มแอลกอฮอล์วันละ 6 แก้ว นอกจากนี้ ภาวะขาดการสัมพันธ์เชื่อมโยงอาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเสพติดสุราและบุหรี่ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และสมองเสื่อม การเผชิญกับวิกฤติความเหงาและความโดดเดี่ยว กลายเป็นความท้าทายสำคัญของยุคปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางรับมือและพัฒนางานสุขภาวะทางปัญญาให้แก่สังคม ซึ่งตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของ สสส.
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์“สสส. ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนากลยุทธ์และนโยบายที่เชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุขและการพัฒนาสังคม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน และสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบและวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึก การใช้ AI ในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการบำบัดและดูแลจิตใจในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงแอปพลิเคชันสำหรับการฝึกสมาธิและเจริญสติ ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการเยียวยาและพัฒนาตนเองในระยะยาว อย่างไรก็ตาม แม้ AI จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา แต่ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงมิติทางอารมณ์และความเป็นมนุษย์ที่ลึกซึ้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์
พัฒนาสุขภาวะท้าทายระดับโลก
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์ดร.เฟรดริก ลินเดนโครนา หัวหน้าฝ่ายร่วมสร้างสรรค์งานวิจัย เป้าหมายการพัฒนาภายใน (Inner Development Goals: IDG) ประเทศสวีเดน กล่าวว่าการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและการเติบโตภายในกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ IDG มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะสำคัญ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การเข้าสังคม และการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าร่วมกัน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างสังคมที่สมดุลและยั่งยืน
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์ตัวอย่างหนึ่งคือ โครงการวิจัยที่พัฒนากลยุทธ์เชื่อมโยงผู้คนผ่านเครือข่ายระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนจากการแข่งขันเป็นความร่วมมือ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในยุคปัจจุบันการพัฒนาในระดับบุคคลและชุมชนที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างกรอบการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมและการเชื่อมโยงในระดับโลก
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของโลกยุคใหม่
ใช้วิทยาศาสตร์ผสานจิตวิญญาณ
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์ดร.กาบอร์ การ์ไซ กรรมการผู้จัดการ Mind and Life Europe กล่าวว่า ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับ Polycrisis หรือ วิกฤติโลกที่ซับซ้อนหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความไม่มั่นคงทางจิตใจ และภาวะโลกร้อน การมีสุขภาวะทางปัญญาที่ดี กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจร่วมกัน และพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทั้งด้านจิตใจและสังคมในฐานะตัวแทนของ Mind and Life Europe องค์กรเน้นการเชื่อมโยงปฏิบัติสมาธิและจิตวิญญาณเข้ากับงานวิจัยวิทยาศาสตร์และปรัชญา
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์แนวทางการผสมผสานนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับปัญหาซับซ้อนของโลก การนำสุขภาวะทางปัญญากลับคืนสู่ชีวิตครอบครัวและชุมชน ไม่ได้เป็นเพียงการตอบสนองต่อความโดดเดี่ยวหรือภาวะซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความหวังให้กับคนรุ่นใหม่ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายของยุคสมัย เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวและรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีสติและสมดุล
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์ผู้คนเผชิญความเหลื่อมล้ำ
ความเหงาโดดเดี่ยวกำลังเป็นวิกฤติโลกเสี่ยงสุขภาพใช้AIแก้ลดเหลื่อมล้ำเดลินิวส์น.ส.อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรม กล่าวว่า สุขภาวะทางปัญญาคือพลังขับเคลื่อนความยุติธรรมทางสังคมและการลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สุขภาวะทางปัญญาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่ยังเป็น เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะในบริบทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ การค้นพบสันติสุขในจิตใจและความเมตตาผ่านการฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ฉันมีพลังใจต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ในฐานะนักเคลื่อนไหวที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ได้พัฒนากระบวนการที่ผสมผสานแนวคิด สตรีนิยมและจิตวิญญาณ โดยให้ความสำคัญกับการฟังอย่างลึกซึ้ง การเยียวยาจากภายใน และการสร้างพลังให้กับผู้หญิงในชุมชนที่เผชิญความยากลำบาก สุขภาวะทางปัญญาจึงเป็น หัวใจสำคัญของการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่เพียงช่วยให้เราตระหนักถึงความทุกข์และการสูญเสีย แต่ยังช่วยสร้างพลังใจก้าวไป
ข้างหน้าเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีสติและยั่งยืน.