【fun88】อาฟเตอร์ช็อคเขย่า“ทุนเทา” | เดลินิวส์
ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 เกิดเรื่องตามมามากมาย ที่กลายเป็นโจทย์ท้าทายรัฐบาลว่า “พร้อมจะหยิบปัญหาที่ซ่อนใต้พรมขึ้นมาจัดการหรือไม่ ?” โดยเฉพาะเรื่องทุนที่ไม่น่าชอบมาพากล ไม่ทราบว่า จัดการไปจะกลายเป็นหยิกเล็บเจ็บเนื้อคนในรัฐบาลหรือนายทุนพรรคอะไรหรือไม่ แต่ต้องจัดการให้ได้เด็ดขาดเสียที สิ่งที่เรียกว่าเป็น aftershock ที่เขย่าหัวใจคนไทยจริงๆ หลังการถล่ม คือ “ตกลงความปลอดภัยในชีวิตของคนไทยเป็นอย่างไร จ่ายภาษีให้ใครไปซื้อของแบบกินส่วนต่าง หรือจ่ายภาษีให้ใครไปกินหรู อยู่แพ งหรือไม่ ?” ก็หลังจากตึกถล่ม ก็เหมือนน้ำลดตอผุด “ความน่ารังเกียจ”โผล่ขึ้นมาเต็มไปหมดจนน่าตกใจ
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์อันดับแรกที่น่าจะกระแทกใจคนไทยมากที่สุด คือ “การใช้นอมินีของทุนต่างชาติ” บริษัทผู้รับเหมา ไชน่า เรลเวย์ No.10 ( CREC ) ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท สัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 51 ล้านบาท เป็นบุคคล 3 ราย คือ นายโสภณ มีชัย ร้อยละ 49 นายประจวบ ศิริเขตร ร้อยละ 40.8 นายมานัส ศรีอนันท์ ร้อยละ 10.2 นายชวนหลิง จางถือหุ้น ร้อยละ 49 สัดส่วนคนไทยเยอะกว่าถึง ร้อยละ 1
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์ผลจากการตรวจสอบเบื้องต้น นอมินีไทย ทั้ง 3 คน จากสภาพไม่ใช่คนดูมีรายได้แบบผู้บริหาร เป็นเพียงแค่พนักงานทั่วไป ชื่อของนายโสภณกลับเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นในหลายบริษัท แล้วจะไม่ให้สงสัยว่า เรื่องนี้ไม่มีเบื้องหน้า เบื้องหลังได้อย่างไร เผลอๆ หลายคนอาจคิดไปได้ไกลถึงการใช้ทุนเข้ามารุกกลืนชาติ โดยอาศัย “คนไทยขายชาติ” เอื้อประโยชน์ให้ “ทุนเทา”เข้ามา
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์ซึ่งตรงนี้จะปลุกความคับแค้นในใจคนไทยหรือไม่ กับการที่ต่างชาติเข้ามาฉกฉวยทรัพยากรไทย โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายหรือยืมมืออำนาจรัฐทุจริต ในช่วง 1-2 เดือนนี้ คนไทยปลุกกระแสไม่พอใจต่างชาติที่มาซื้อตึกคอนโดมีเนียมแล้วปล่อยเช่า ซึ่งมันกระทบไปถึงผู้ประกอบการโรงแรมที่ทำตามกฎหมายหรือพวกทัวร์ศูนย์เหรียญ แล้วรัฐบาลควรปล่อยให้มีการเบียดเบียนทรัพยากรเช่นนี้หรือไม่ และถ้ามีทางออก จะมาในรูปแบบใด
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์
อย่างไรก็ตาม เมื่อตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คือ ตอแรกที่โผล่ขึ้นมา ประเด็นหน้างานที่ต้องสอบสวนคือ “มีการกำหนดขอบเขตโครงการอย่างไร ?” ตรงนี้ต้องไปดูทีโออาร์ ว่า ได้ยอมรับสเปคเหล็กไว้เช่นที่มีปัญหาหรือไม่ หรือเป็นการกระทำนอกข้อตกลงของบริษัทผู้ประมูล กรณีนี้ภาครัฐส่วนไหนเป็นผู้ทำสัญญา ซึ่งมีเสียงลือว่าจะโยนกันแล้ว “ตึกเป็นความรับผิดชอบของผู้ว่า สตง. แม้ว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ( คตง.) จะขอเข้าไปช่วยดูแล แต่ทางนั้นกลับโยนว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าฯ”
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์สะเทือนหนักขึ้นอีก เพราะปัญหาเกิดกับองค์กรตรวจสอบ หลายคนอยากให้นายมณเฑียร เจริญผล ผู้ว่า สตง.ออกมาเล่าเรื่องการประมูล การกำหนดสเปควัสดุ ไปจนถึงการพิจารณาถึงเบื้องหลังบริษัทคู่สัญญาด้วย ที่ผ่านมา สตง.ขึ้นชื่อเรื่องความละเอียดยิบ และเคยมี อดีตผู้ว่า สตง.บางคนท่องคาถา “เงินหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” และในวันนี้คงไม่ใช่วันที่ผู้ว่า สตง.จะมาปลอบขวัญตัวเองและคนในองค์กรด้วยการให้จับมือกันไว้แล้ว หายใจลึกๆ แล้ว??
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์
ส่วนภาครัฐขยับจะสอบปัญหาที่เกิดขึ้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม จะให้ ดีเอสไอพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เจอผิดอะไรเพิ่ม เช่น ฮั้วประมูลก็ฟันด้วยทันที
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์ในส่วนของเหล็ก “รมต.ขิง”เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม สุ่มตรวจเหล็กที่เก็บหลักฐานมา พบมีการใช้เหล็กข้ออ้อย ตกมาตรฐานอยู่ 2 ขนาด เป็นของบริษัทซินเคอหยวนที่ถูกกรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งปิดไปตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 67 และจะมอบให้ “ผู้ช่วยโอ๋” น.ส. ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรมว.อุตสาหกรรม ตรวจโรงงานซินเคอหยวน ต.หนองละลอก อ.หนองค่าย จ.ระยอง ถ้าพบเหล็กที่อายัดไว้ถูกนำมาขายจะมีโทษทันที
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์ขอให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ “สารตั้งต้น” ของการแก้ปัญหา “ทุนเทา” และทลายการทุจริตให้ได้ ก็จะถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลได้เลย.
อาฟเตอร์ช็อคเขย่าทุนเทาเดลินิวส์