【789km】‘จับตา’มิใช่แค่ตากใบ ‘ปัญหาไฟใต้’ ไฉนจึงไม่ดับ? (1) | เดลินิวส์

ทั้งนี้ “ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ไฟใต้” นั้น เหตุการณ์ความไม่สงบระลอกหลังเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานเกือบ 2 ทศวรรษ หรือนับตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งแม้บางช่วงจะดูเงียบ ๆ ไปบ้าง แต่ไม่นานก็เปรี้ยงปร้างตูมตามขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมา โดยปฏิกิริยาจากคดีตากใบก็จะต้องตามดูกันไปว่าจะอย่างไร?? ต้อง “จับตาไฟใต้” ที่ “อาจยิ่งลุกโชน??” โดยที่ เรื่องการ “ดับไฟใต้” จะยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ซัคเซสยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

นักวิชาการได้เสนอแนวทางไว้ไม่น้อย

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ล่าสุดก็มี “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ถึงรัฐ

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

เสนอให้ “แก้ปัจจัย 5 ประการสำคัญ”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

เกี่ยวกับ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ให้ “แก้ปัจจัย 5 ประการ” หรือ 5 ด้าน หรือ 5 หัวข้อ เพื่อ “แก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” นี่เป็นข้อเสนอผ่านมุมมองงานวิจัย ที่ ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ นักวิชาการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำไว้ และได้สะท้อนผ่าน “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” โดยสังเขปมีดังนี้

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ศ.ดร.อนุสรณ์ สะท้อนมาว่า ช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จนถึงเดือน เม.ย. 2567 มีเหตุความไม่สงบเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 22,495 ครั้ง อีกทั้งยังไม่มีแนวโน้มที่จะสงบลงแต่อย่างใด แม้จะมีการทุ่มงบประมาณ บุคลากร รวมถึงทรัพยากรจำนวนมาก แต่กลับไม่มีแนวโน้มที่จะสงบลง ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยจำนวนมาก ทั้งที่ดำเนินการโดยนักวิชาการ นักวิจัย ของหน่วยงานรัฐ และของสถาบันต่าง ๆ ที่พยายามทำความเข้าใจ อธิบาย และเสนอแนวทางแก้ปัญหาในแง่มุมต่าง ๆ แต่สถานการณ์ “ไฟใต้” ก็ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งนำสู่ “คำถาม” ที่ว่า “ทำไมไฟใต้ยังไม่ยอมดับ?” จนนักวิชาการก็มีปุจฉาว่า

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

หรืองานวิจัยที่มีตอบโจทย์ได้ไม่พอ?

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ก็ “นำสู่ข้อเสนอใช้งานวิจัยเป็นฐาน”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

จากปุจฉา จากข้อเสนอ จึงนำสู่การจัดทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่นำงานวิจัยมาใช้เป็นฐานในการจัดทำแนวทางการแก้ปัญหา” ประกอบด้วย 5 หัวข้อ คือ 1.รูปแบบการปกครอง 2.วัฒนธรรม 3.กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน 4.เศรษฐกิจ และการพัฒนา 5.การศึกษาที่มีความ “คาบเกี่ยวกัน” ซึ่งโดยสังเขปนั้นมีดังต่อไปนี้

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“รูปแบบการปกครอง” หัวข้อนี้ ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ ได้สะท้อนว่า เหตุความไม่สงบระลอกใหม่เป็นผลของปัญหาการเมืองกับการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างศูนย์กลางหรือระหว่างรัฐกับท้องถิ่น ซึ่งชาวมลายูมุสลิมจำนวนมากเห็นว่ารูปแบบการปกครอง รวมถึงนโยบาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ กฎหมายหลาย ๆ ส่วนนั้น ไม่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา อีกทั้งมีแนวคิดการใช้กำลังกดปราบ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่แนวคิดการแยกดินแดนเป็นเอกราชก็เป็นไปได้ยาก จึงมีการเสนอ “แนวคิดอัตบัญญัติ”ที่ใกล้เคียงหลักกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในสังคม โดยมีการ เสนอรูปแบบ “การปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ” หรือ “เขตการปกครองพิเศษ” เพื่อเป็นหนทางแก้ปัญหา

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

แต่กระนั้น แม้เขตการปกครองพิเศษหรือ “เขตอัตบัญญัติ” จะเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหา ทว่าก็มีงานวิจัยอีกส่วนเสนอว่า ถ้านำแนวคิดอัตบัญญัติมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจต้องมองให้ลึกลงไปยิ่งขึ้น ต้องลงถึงระดับชุมชน ที่เรียกว่า “จุลอัตบัญญัติ” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชนให้มีเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการเสนอให้จัดตั้งทบวงการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กัน ซึ่งจะเป็นหน่วยงานพิเศษที่อยู่ภายใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีทบวง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเมืองในพื้นที่ โดยที่มีงบประมาณของตนเอง

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดอัตบัญญัติในรูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ หรือเขตการปกครองพิเศษ ที่ มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง จะเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด เพราะ ไม่ขัดกับหลักการรัฐเดี่ยวและแบ่งแยกมิได้ของประเทศไทย และดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพราะเข้าใจสภาพปัญหาและสามารถดำเนินการได้อย่างฉับไว แต่ มีการประเมินว่าแนวคิดนี้อาจถูกต่อต้านจากชาวไทยพุทธ ข้าราชการในพื้นที่ เนื่องจาก มีการมองว่าอาจทำให้เสียเปรียบในการเลือกตั้งจากโมเดลดังกล่าว จึงทำให้แนวคิดนี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากระดับนโยบายเท่าที่ควร

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอในประเด็น “รูปแบบการปกครอง” นี้ ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ ระบุว่า หากพิจารณาแง่นี้ การแก้ปัญหาความไม่สงบ ควรโฟกัสไปที่การเร่งปรับความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับท้องถิ่น หรือระหว่างรัฐกับประชาชน ด้วยการมอบให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจหรือกำหนดชะตากรรมของตัวเองมากขึ้น โดยจะต้องเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมของคนพื้นที่ บนหลักการกระจายอำนาจ ที่ก็สอดคล้องกับกระแสเรียกร้องท้องถิ่นจัดการตนเองที่กำลังเกิดขึ้นทั่วทุกภาคของไทยขณะนี้ นี่เป็น “ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อดับไฟใต้” ด้วยการปรับแก้ “ปัจจัย” เกี่ยวกับ “รูปแบบการปกครอง” ที่นักวิชาการ“ใช้งานวิจัยต่าง ๆ มาเป็นฐานจัดทำข้อเสนอ”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

และ “ยังมีอีก 4 ปัจจัยที่คาบเกี่ยวกัน”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ที่ “ก็มีข้อเสนอปรับแก้เพื่อดับไฟใต้”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“ก็น่าพิจารณา” ตอนหน้ามาดูกัน

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์