【ตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล 16 ตุลาคม】"ชีวิตติดแกลม" ดอกผลของสังคมโซเชียลฯ | เดลินิวส์

ต้องยอมรับว่า “โซเชียลมีเดีย” ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราเป็นที่เรียบร้อย ชนิดที่แยกออกจากกันได้ยาก ซึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ที่สามารถหล่อหลอมให้ผู้ใช้มีพฤติกรรม จิตใจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นอยู่ที่ว่าคนเราจะรู้เท่าทันได้อย่างไร เรื่องนี้ ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อธิบายให้ฟังอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของเรื่องนี้ ว่า “โซเชียลมีเดีย” เป็นช่องทางการสื่อสาร และสร้างเครือข่ายทางสังคม ซึ่งเป็นเครือข่ายสำคัญ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นย่อมส่งอิทธิพลต่อคนเราแน่นอน ถ้าเราอยู่ในเครือข่ายที่ดี ก็ทำให้ชีวิตเราดี แต่ถ้าเราอยู่ในเครือข่ายที่ไม่ดี ก็ทำให้ชีวิตเราแย่ไปด้วย เช่น เครือข่ายที่มีความรุนแรง มีแต่เนื้อหาที่ไม่ดี มีแต่เรื่องดราม่า เรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ หรืออยู่ในวงที่มีแต่คนอวดร่ำอวดรวยเราท็อกสิค เราก็รู้สึกแย่ไปด้วย หากใช้เวลากับเครือข่ายนั้นนาน ๆ ก็เสียเวลาอยู่กับสังคมโลกจริง ๆ เสียโอกาสพบเพื่อน สังคม พ่อ แม่ ลูก

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

ถ้าพูดถึงเรื่องการ “ติดแกลม” ที่ปัจจุบันถูกมองว่า เป็นเรื่องติดตลก สนุกสนาน กลายเป็นเรื่องเชิงบวกนั้น ดร.นพ.วรตม์ ระบุว่า ภาษาจิตวิทยา จะมีสิ่งที่เรียกว่า “โซเชียลเลิร์นนิ่ง” เป็นทฤษฎีที่เราเรียนรู้จากสังคม เห็นเป็นอย่างไร ก็เริ่มเรียนรู้วิธีการ และเชื่อว่านั่นคือบรรทัดฐานของสังคม ที่เราต้องทำให้ได้แบบนั้น ทั้ง ๆ ที่ภาพที่เห็นอาจจะจริงหรือไม่จริง ๆ ก็ได้ แล้วเริ่มเปรียบเทียบกับตัวเองกับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นบรรทัดฐาน สัญชาตญาณของมนุษย์คือการเอาตัวรอด หากคิดว่าตัวเองตกบรรทัดฐานก็จะพยายามปรับให้เข้ากับสังคมที่เชื่อนั้น เพื่อไม่ให้แตกต่าง

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

“เมื่ออยู่ในโซเชียลฯ ที่มีแต่คนแสดงด้านดีออกมา ซึ่งมีการวิจัยชัดเจนแล้วว่า คนไม่นิยมแสดงภาพด้านลบของตัวเอง แต่จะแสดงด้านดี หากเราไปอยู่ในสังคมที่แสดงเฉพาะด้านดีในแง่ของวัตถุนิยม ใช้ชีวิตหรูหรา จะรู้สึกว่าปกติ รู้สึกว่าเพื่อนที่เรียน และโตมาเหมือนกัน แต่เขามีชีวิตที่หรูหรา ดีกว่า เมื่อเราเชื่อว่าเป็นมาตรฐาน แล้วตัวเองน่าจะตกมาตรฐาน และเริ่มมีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น นี่ถือเป็นการส่งอิทธิพลที่ไม่ดีต่อกันและกัน”

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงการเสพติดพฤติกรรมการใช้โซเชียลฯ นั้นนิยามได้ยาก เพราะแต่ละคนมีภูมิคุ้มกัน มีความสามารถในการใช้โซเชียลฯ ไม่เท่ากัน บางคน 2-3 ชั่วโมงก็ได้รับผลกระทบ บางคนทั้งวันก็ไม่เป็นอะไร แต่ข้อมูลคนไทยใช้ 8-9 ชั่วโมงต่อวัน เยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นแบบนี้มาโดยตลอด

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

ส่วนเรื่อง การติดแกลม การเสพติดชีวิตหรูหราก็วัดยาก แต่เท่าที่เห็นจริง ๆ มันมีเรื่องนี้เยอะในสังคมวัตถุนิยม ทั้งไทย หรือบางประเทศ เช่น เกาหลี ซึ่งเรื่องหนึ่งที่มีคนพูดถึงเยอะ คือทำให้มาตรฐานการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป มาตรฐานการเลือกคู่ยากขึ้น เพราะคนรู้สึกว่า คนนั้นมีแฟนดี ดูรวย ทั้งที่จริง ๆ เขาอาจจะซ่อนภาพที่ไม่ดีอยู่ข้างหลังก็ได้

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

ดร.นพ.วรตม์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าพูดถึงประชากรไทยที่อยู่กับโซเชียลฯ มานานก็จะแบ่งเป็นหลายเจเนอเรชัน อย่างโซเชียลฯ กับ “เด็กเจนอัลฟา” ซึ่งแก่สุดตอนนี้ก็อายุประมาณ 13-14 ปี กำลังเข้าวัยรุ่น เป็นเจนที่ไม่รู้จักช่วงเวลาที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีอินเทอร์เน็ต เขาเกิดมาพร้อมกับการมีสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นความเข้าใจของเขาจะไม่เหมือนกับเรา และเราจะไม่สามารถเข้าใจเด็กเจนฯ นี้ได้ โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแค่เครื่องมือ

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

“ดังนั้นมันสร้างการเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสาร เปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าใจ เปลี่ยนแปลงการแสดงออกของเด็ก เปลี่ยนแปลงแม้กระทั่ง “ความอยากเป็น” ซึ่ง 1 ใน 5 อาชีพในอนาคตเด็กอยากเป็นในช่วง 5-10 ปี ที่ผ่านมา คืออยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์”

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

กลับมาที่เรื่องของสภาพจิตใจของคนในยุคโซเชียลฯ ดร.นพ.วรตม์ ย้ำว่า มีเปราะบาง ซึ่งจริง ๆ ก็เปราะบางมานานแล้ว ที่ชัดเจนมากคือ การที่มีเทคโนโลยีเยอะ ทำให้คนสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้พร้อมกันในเวลาเดียว แต่ทำให้เรารออะไรได้ไม่นาน คอนเทนต์ที่เราดูสั้นลง ทุกอย่างต้องเสร็จในระยะเวลารวดเร็ว การที่รอได้ไม่นาน ก็สัมพันธ์กับการที่เวลาเกิดปัญหาอะไรแล้วเราไม่สามารถรีรอในการจัดการได้ ทำให้คนหัวร้อนง่ายขึ้น ใจร้อนง่ายขึ้น สมัยก่อนจะแก้ไขอะไรต้องรอเป็นวัน ๆ สมัยนี้สามารถส่งข้อความแป๊บเดียวจบ

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

แน่นอนว่า ปัจจุบันมีคนไข้เข้ารับการบำบัดโรคทางจิตเวชที่เชื่อมโยงกับการสื่อสารโซเชียลฯ เพิ่มขึ้น เอาเฉพาะงานที่ตัวเองดูแลอยู่ในฐานะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จะเจอผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมาพร้อมกับภาวะติดเกม ติดโซเชียลฯ ด้วยตลอดเวลา พบปัญหาการกลั่นแกล้งที่โรงเรียนและออนไลน์ รูปแบบแตกต่างกัน และรุนแรงขึ้น จากเดิมถูกแกล้งที่โรงเรียนกลับบ้าน 4 โมงเย็นก็ไม่ถูกแกล้งแล้ว แต่ปัจจุบันถูกแกล้งที่โรงเรียนแล้ว กลับมาบ้าน 2-3 ทุ่มยังถูกแกล้งอยู่เลยผ่านทางออนไลน์ ความรุนแรงมากขึ้น เจอเด็กซึมเศร้าจากการเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำไมทุกคนมีความสุข ร่ำรวย ปิดเทอมไปต่างประเทศ แต่เขาไม่ได้ไป

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

“เราเห็นสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้มีการเจ็บป่วยมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน เด็กยุคนี้ยอมรับเรื่องโรคทางจิตเวชมากขึ้น เช่น ถ้าซึมเศร้า เขาก็กล้าพูด กล้าบอกบนโซเชียลฯ ว่าเป็นซึมเศร้า พอกล้าพูดก็จะทำให้คนที่อาจจะสงสัยอยู่เข้ารับบริการที่เร็วขึ้น คนที่รักษาอยู่ก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีตราบาปหรือมีการตีตรา เขาก็สามารถเข้ารักษาได้ดี ดังนั้น ก็มีเรื่องดี”

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม ดร.นพ.วรตม์ แนะนำว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราเป็นคนควบคุมเครื่องมือเหล่านี้ ดังนั้นอย่าปล่อยให้เครื่องมือควบคุมเรา การมีสติเป็นเรื่องสำคัญ ขอให้รู้ว่ามีทั้งประโยชน์และโทษ จึงต้องมีสติทุกครั้งที่ใช้ว่า สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่เรื่องจริง อย่าปล่อยให้ใจลอยไปแล้วเชื่อทุกอย่างที่อยู่บนโลกออนไลน์ วันหนึ่งหากรู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากการใช้โซเชียลฯ เช่น ก้าวร้าวมากขึ้น ติดแกลมมากขึ้น ก็ขอให้มีสติ และห่างจากโซเชียลฯ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ชีวิตติดแกลมquotดอกผลของสังคมโซเชียลฯเดลินิวส์