【ครึ่งสลึงราคา】‘รักทึกทัก’มิใช่ไร้ข้อดี ‘มีลิมิตคลั่งไคล้’ ทำได้‘ช่วยฮีลใจด้อม’ | เดลินิวส์

ทั้งนี้ ยุคดิจิทัลเช่นยุคนี้ ศิลปินหรือคนดัง ๆ นิยมใช้ “ช่องทางโซเชียล” เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่าด้อมของตนเอง ซึ่งก็มีผลเชิงบวกต่อศิลปิน ช่วยรักษาฐานความนิยมจากกลุ่มแฟนคลับ แต่ก็อาจมี “ปัญหา” จาก “ความสัมพันธ์แบบด้อม” ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับ “ด้อม” บางคนที่ “ไม่รักษาระดับความสัมพันธ์” รูปแบบนี้ จน

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ส่งผลให้ “เกิดความสัมพันธ์เป็นพิษ”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

“จากรักที่มากล้นเกิน” เกินระดับพอดี

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

จน “เกิดปัญหาทั้งต่อศิลปินและด้อม”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม นอกจาก “มุมลบ” ในแง่ “ข้อเสีย” จากการที่ “ความสัมพันธ์แบบพาราโซเชียลฯ มีมากไป” แล้ว ในมุมกลับกัน ถ้าหาก “ด้อม” หรือ “แฟนคลับ” สามารถรักษาระดับความสัมพันธ์แบบข้างเดียวหรือแบบฝ่ายเดียวดังกล่าวเอาไว้ให้ “อยู่ในขอบเขตเหมาะสม พอดี” ไม่ล้นเกินไป กรณีความสัมพันธ์แบบพาราโซเชียลฯ ก็จะมี“มุมบวก”ก็จะมี“ข้อดี”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

จะดีอย่างไร?? ลองมาพินิจข้อมูลกัน

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ทั้งนี้ กับ “ข้อดี” กับ “มุมไม่แย่” ของ“รักแบบด้อม”ซึ่งเป็น “ความสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม” นั้น ก็มีการสะท้อนไว้ผ่านรายการออนไลน์ที่จัดโดย คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม และนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะจิตวิทยา คือ นัทธ์ชนัน สังฆรักษ์ กับ วรินธา วิจิตรวรศาสตร์ ซึ่งก็มีการวิเคราะห์ผ่าน “มุมจิตวิทยา” ถึง “ข้อดี” ของความสัมพันธ์ “พาราโซเชียล รีเลชั่นชิป”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ทาง นัทธ์ชนัน นิสิตคณะจิตวิทยา หนึ่งในผู้ร่วมรายการ ได้ระบุถึงเรื่องนี้ไว้ว่า จากที่ได้ทำการศึกษา ค้นพบว่า ปัจจุบันสามารถจำแนก “พฤติกรรมของด้อม”หรือแฟนคลับ ได้ “4 ระดับ” โดยแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้คือ ระดับที่ 1 “แฟนคลับที่รู้เพียงผิวเผิน” ซึ่งเป็นกลุ่มด้อมหน้าใหม่ที่อาจจะเพิ่งได้มาติดตามศิลปินแบบใกล้ชิด, ระดับที่ 2“แฟนคลับที่เริ่มอุทิศตัว” เป็นการขยับจากแฟนคลับในระดับที่ 1 ก้าวขึ้นมาสู่ระดับที่ 2 โดยแฟนคลับกลุ่มนี้จะเริ่มมีการติดตามศิลปินมากขึ้น เช่น มักมองหากิจกรรมที่เข้าร่วมเพื่อให้ได้ใกล้ชิดศิลปินมากขึ้น จากเดิมที่แค่ติดตามหรือส่องผ่านช่องทางต่าง ๆ

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ถัดมา ระดับที่ 3“แฟนคลับที่เริ่มทุ่มเทกายใจ”ซึ่งเป็นการก้าวขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งของ “ชาวด้อม” โดยแฟนคลับที่ขยับขึ้นสู่ระดับที่ 3 นี้ก็จะเริ่มเพิ่มขอบเขตการติดตามศิลปินที่ชอบที่รัก จากเดิมที่แค่ติดตามผ่านโซเชียลและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศิลปินไปร่วมงาน ก็จะขยายวงการติดตามศิลปิน ด้วยการ พยายามไปดักรอเพื่อให้ได้พบเจอศิลปินตามสถานที่ต่าง ๆ

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

และ อีกระดับก็คือ ระดับที่ 4“แฟนคลับที่เริ่มล้ำเส้น” ที่เริ่มแสดงออกให้เห็นถึง พฤติกรรมไม่เหมาะสมของด้อมต่อศิลปิน เช่น การ สะกดรอยตามศิลปินในชีวิตจริง ซึ่งในต่างประเทศ อย่างเกาหลีใต้ ก็เคยเกิดกรณีในลักษณะนี้โดยเหล่าแฟนคลับของศิลปินเกาหลีใต้ จนเกิดคำว่า “ซาแซงแฟน” ขึ้นมา เพื่อนำมาใช้อธิบาย “รักร้าย ๆ” รูปแบบนี้ เหล่านี้เป็น “4 ระดับความสัมพันธ์แบบข้างเดียวของด้อม” ที่มีตั้งแต่รักระดับปกติ ไปจนถึงขั้นรักร้าย ๆ ที่ไม่เหมาะไม่ควร

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

แล้วถ้า “รักษาระดับ” ความสัมพันธ์แบบข้างเดียว หรือ “พาราโซเชียล รีเลชั่นชิป” แบบนี้ ให้อยู่ในขอบเขต ให้อยู่ในระดับที่พอดี กรณีนี้ จะส่ง “ผลดีต่อด้อม” หรือแฟนคลับ ได้อย่างไรบ้าง?? ประเด็นนี้ วรินธา หนึ่งในผู้ร่วมรายการ ระบุไว้ว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวที่พบ ถ้า “ความชอบอยู่ในระดับที่เหมาะสมก็จะมีประโยชน์มาก” ในแง่ของการ “ฮีลจิตใจจากอารมณ์ที่กำลังแย่” เช่น หากกำลังมีปัญหาชีวิต เมื่อได้พูดคุยกับศิลปินที่ชื่นชอบก็จะช่วยให้ความรู้สึกแย่ ๆ ลดน้อยลงหรือหายไปได้ จนมีกำลังใจในชีวิตต่อไป หรืออยากที่จะสู้ชีวิตต่อไปเพื่อที่จะได้มีโอกาสติดตามศิลปินต่อไปเรื่อย ๆ

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ทั้งนี้ ทางผู้ร่วมรายการคนเดิมยังระบุถึง “ข้อดีของรักแบบด้อม” ซึ่งมี “ต่อสุขภาวะทางจิต” ไว้อีกว่า จากงานวิจัยที่ทำในหัวข้อ “การศึกษาระดับที่แฟนคลับเทิดทูนบูชาศิลปิน” เพื่อหาคำอธิบายว่า “ความรัก ความสัมพันธ์แบบด้อม” นั้นจะมีผลอย่างไรต่อสุขภาวะทางจิตหรือไม่?? จากผลศึกษาพบว่า ถ้าแฟนคลับมีการติดตามหรือรับชมศิลปินโดยที่สามารถบาลานซ์ระดับการใช้โซเชียลของตัวเองได้ หรือ ควบคุมระดับความคลั่งไคล้ได้ในความสัมพันธ์รูปแบบ “พาราโซเชียล รีเลชั่นชิป” ก็จะ “ช่วยเพิ่มสุขภาวะทางจิตที่ดี” โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ “ด้อม” ที่มี “รักแบบทึกทักจนมากเกินไป”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ขณะที่ ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ ก็ได้อธิบายสรุปเรื่องนี้ในช่วงท้ายของรายการออนไลน์ที่จัดโดย คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไว้ว่า “ความสัมพันธ์ของแฟนคลับกับศิลปิน” ที่เป็น “สัมพันธ์แบบรักข้างเดียว” นี้ หากจะใช้เรื่องนี้ให้เกิด “ประโยชน์ต่อสุขภาวะทางจิต” ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกันของ 2 ฝ่าย คือ ศิลปิน และแฟนคลับ โดย แฟนคลับต้องรู้ขอบเขต ต้องไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของศิลปิน ส่วนศิลปินก็ต้องรู้ว่าคอนเทนต์แบบใดเปิดเผยได้ แบบใดอันตรายและที่สำคัญศิลปินต้องไม่ปกป้องแฟนคลับที่ทำผิดกฎ นี่เป็นคำแนะนำน่าพิจารณา เพื่อให้เกิดประโยชน์จาก

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

สัมพันธ์ข้างเดียว หรือ “รักแบบด้อม”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

“ทึกทักรักมากไป” ก็จะ “เป็นปัญหา”

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

“รักเหมาะสม” ก็จะ “เป็นประโยชน์”.

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

รักทึกทักมิใช่ไร้ข้อดีมีลิมิตคลั่งไคล้ทำได้ช่วยฮีลใจด้อมเดลินิวส์