【วิเคราะห์บอลยูโรวันนี้】‘มีคนอด!’แต่กินทิ้งอื้อ ‘จัดการอาหาร’ ลุ้น..‘ไทยมีธนาคาร?’ | เดลินิวส์

นี่เป็นส่วนหนึ่งจาก “เสียงสะท้อน” ที่ ’น่าคิด“ ซึ่งถูกระบุไว้ในเวทีประชุมรับฟังความเห็น แนวทาง การบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ “Food surplus” ของประเทศไทยที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือน มิ.ย. เพื่อจะนำสู่การจัดตั้ง ’ธนาคารอาหารแห่งชาติประเทศไทย Thailand‘s Food Bank“ หรือ “ฟู้ดแบงก์ไทย”

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

“บริหารจัดการอาหาร” นี่ “น่าสนใจ”

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

และ ’น่าลุ้น ไทยมีธนาคารอาหาร?“

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์Fullframe of healthy and unhealthy food

ทั้งนี้ “เข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ ตลอดจนอาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งมีระบบผลิตที่เกื้อหนุน ที่ยังสามารถรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือภัยพิบัติ” นี่เป็น “นิยามมั่นคงทางอาหาร” ที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ซึ่งทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้สะท้อนไว้เมื่อปีที่แล้ว ในการสะท้อนต่อข้อมูล ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “มั่นคงทางอาหาร”

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

บางช่วงบางตอนจากข้อมูลโดยศูนย์ดังกล่าว มีการชี้ไว้ว่า เรื่อง ’มั่นคงทางอาหาร“  นั้นถูกพูดถึงในหลายประเด็น เนื่องจาก เกี่ยวพันกับผู้คน ชุมชน สังคม เช่น เศรษฐกิจ รายได้ ความยากจน ซึ่งหากประชาชนหรือประเทศใด ’ขาดความมั่นคงทางอาหาร“ ก็จะส่งผลกระทบในหลาย ๆ มิติ ซึ่งจากประเด็นนี้ ’ฟู้ดแบงก์-ธนาคารอาหาร“ ก็’น่าลุ้น“

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

และ ’ยิ่งน่าลุ้น“ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่นักวิชาการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เคยสะท้อนผ่านเวทีเสวนาใต้ชายคาประชากร หัวข้อ “แผนระดับชาติของไทยปักธงไว้ตรงไหนให้คนไทยมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน” ที่จัดขึ้นช่วงปลายเดือน ก.พ. 2566 ซึ่ง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็เคยสะท้อนต่อข้อมูลไว้เช่นกัน โดยบางช่วงบางตอนจากเวทีดังกล่าว มีการระบุไว้สรุปได้ว่า... ’อาหารไม่ได้มีแค่เรื่องของการกิน หรือเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงมิติอื่น ๆ อาทิ ทางสังคม ทางวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย จึงจำเป็นที่ประเทศไทยต้องกำหนดทิศทาง-แนวทาง ให้ชัดเจน-เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งแม้เรื่องของอาหารถูกบรรจุเอาไว้ในแผนแม่บทชาติด้วยเช่นกัน แต่ยังขับเคลื่อนได้ไม่มากเท่าที่ควร จำเป็นต้องมีแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น“ ซึ่งกรณีนี้ “ธนาคารอาหารก็น่าจะเกี่ยว”

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์Woman picking bell peppers in a reusable bag Ecology Earth Day thematics

การจะจัดตั้ง “ธนาคารอาหาร-ฟู้ดแบงก์” นั้นประเทศไทยมีโครงการที่มีชื่อว่า ’โครงการพัฒนาธนาคารอาหารแห่งชาติ“ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาอาหาร ที่รัฐบาลไทยมีดำริจัดทำขึ้น โดย มีโมเดลคล้าย ๆ กับ “กฎหมายบริจาคอาหาร” ของเกาหลีใต้ ทั้งนี้เพื่อ สนับสนุนการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กับการจะทำให้ฟู้ดแบงก์ไทยเกิดขึ้นได้จริงนั้น ก็จำเป็นต้องมีแผนขับเคลื่อนให้ชัด ๆ จึงนำสู่การจัดเวทีระดมสมองเพื่อจัดทำแนวทาง โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) เมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

กับเรื่องนี้นั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ ’Food surplus“ ของประเทศไทย ที่ ต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาสูญเสียอาหาร และรวมถึงขยะอาหาร ด้วย

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

หัวหน้าโครงการการจัดตั้งธนาคารอาหารของไทย ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์ ระบุไว้ในเวทีระดมสมองว่า มีผลศึกษาในไทยกรณี Food surplus พบว่า 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นมาจะถูกทิ้ง ซึ่งทั้งสิ้นเปลืองทรัพยากร เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงอยากเห็นฟู้ดแบงก์ไทยเกิดได้จริง และประสบความสำเร็จ ขณะที่ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ที่ปรึกษาโครงการฯ ระบุไว้ว่า หัวใจสำคัญของการบริจาคอาหารส่วนเกิน คือการสร้างเครือข่ายกับผู้บริจาคกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีระบบที่สร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการบริจาคอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ไปถึงมือผู้รับด้วย นอกจากปริมาณที่เพียงพอ ต้องมีโภชนาการครบถ้วนด้วย ซึ่งคนไทยมีพื้นฐานจิตใจที่ดีเรื่องบริจาค แต่อาจยังขาดช่องทางให้บริจาค จึงควรสื่อสารสร้างแรงจูงใจและเข้าถึงผู้อยากบริจาคให้มากยิ่งขึ้น

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์Woman cooking vegetables on pan

ในเวทีรับฟังความเห็นดังกล่าวยังมีการเสนอแนะไว้ด้วยว่า จะผลักดันให้ฟู้ดแบงก์ไทยเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องทำให้คนไทยตระหนัก
ถึงประโยชน์การ ’ลดปริมาณขยะอาหาร“ หรือ ’ลดอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้ง“ โดยอาจจะ “เพิ่มแรงจูงใจ” ผ่านทางมาตรการจูงใจต่าง ๆ อย่างเช่น มาตรการทางภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษี ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่การผลิต

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

ทั้งนี้ ย้อนดูนิยาม “มั่นคงทางอาหาร” ย้อนดูกรณี “อาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน” กับเรื่อง ’Thailand‘s Food Bank ธนาคารอาหารแห่งชาติประเทศไทย“ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และ ’น่าลุ้นให้มีเร็ว ๆ“

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

คนไทยที่บางวัน ’ต้องอดอาหาร“ ยังมี

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

และ ’ต้องกินอาหารที่ไม่ดี“ นั้นก็มาก

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์

’จัดการอาหาร“ ไทย ’ทำได้ดี ดีแน่“.

มีคนอดแต่กินทิ้งอื้อจัดการอาหารลุ้นไทยมีธนาคารเดลินิวส์