【หวยหนังสือพิม】มองข่าวกม.ต้านรัฐประหาร มองความสัมพันธ์ในรัฐบาล | เดลินิวส์
กองเชียร์เพื่อไทยโวย ทำไมต้องดราม่า เขายังศึกษาอยู่ด้วยซ้ำ ..ก็ไม่ให้ดราม่าได้อย่างไร ในเมื่อ 1. โยนเรทโครมมาอย่างนั้น 2.คนพูด คือนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง ซึ่งมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้ ไม่ใช่ไก่กาที่ไหน ท่าทีของรัฐมนตรีมันมีผลมาก ..ก่อนที่เพื่อไทยจะโดนรุมกินโต๊ะเรื่องภาษีหนักกว่านี้ ก็มีคน“เปลี่ยนเรื่องให้” คือนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ( ฉบับที่..) พ.ศ .มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้ ครม.มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพล กำหนดให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ครม. มีอำนาจสั่งให้นายทหารยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวได้ หากกระทำการนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อสกัดการรัฐประหาร
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์เรื่อง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมนี้ ก่อนหน้า นายสุทิน คลังแสง อดีต รมว.กลาโหมก็เคยเสนอร่างเข้ามา แต่เหมือนกับว่า ครม.ยังให้ทบทวนอยู่ ..กลายเป็นประเด็นร้อนในกลาโหมและกองทัพ ถ้าฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะพลเรือนจะเข้ามาล้วงลูกแต่งตั้งโยกย้าย เพราะมันมีสิ่งที่เหมือนจะเรียกได้ว่า“วัฒนธรรมองค์กร”ในหมู่ทหาร ที่เอาเรื่องการดำเนินการส่วนบุคคลมาทำกันเอง พี่น้องกัน เพื่อนกัน ช่วยเหลือกัน อย่างที่เราเห็นเวลาโผทหารออก ว่า ต้องดูว่าใครรุ่นไหน รุ่นพี่ที่ได้ขึ้นวางรุ่นน้องขึ้นต่อหรือไม่ อย่างกองทัพบกก็ต้องดูการวางตัวแม่ทัพภาคที่ 1
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์และสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารในหลายประเทศ คือ “การเมืองล้วงลูกกองทัพ” จะปลดผู้บัญชาการทหารระดับสูง พวกนี้เขาก็ระดมกำลังกันลุกขึ้นต่อต้าน ..สมมุตินะสมมุติ ในประเทศไทย ถ้าจะรัฐประหารกันอีกครั้ง ก็ดูว่า ผบ.ทบ.กับแม่ทัพภาคที่ 1 มีสายสัมพันธ์ที่ดีอะไรกัน เพราะกองกำลังหน่วยแรกที่จะเข้ายึดอำนาจคือกองทัพภาคที่หนึ่ง จากนั้นทัพภาคที่ 2 ฝั่งอีสาน อาจเคลื่อนกำลังมาสมทบ
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์การออกกฎหมายก็เรื่องหนึ่ง การปฏิบัติก็เรื่องหนึ่ง อย่างเช่น ถึงมีกฎหมายอยู่ แต่ ครม.อาจพิจารณาคนตามที่สภากลาโหมเสนอก็ได้ เพียงแต่ถืออำนาจไว้ให้อุ่นใจว่า มีปัญหาปลดได้ สั่งยับยั้งได้ ..แต่ก็เป็นไปตามที่ “เสี่ยหนู”อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.มหาดไทยพูด คือ “ถ้าเขาจะรัฐประหาร กฎหมายอะไรก็ช่วยไม่ได้ เพราะถ้าทำจริงก็ฉีกรัฐธรรมนูญ นักการเมืองก็อย่าทำตัวให้เป็นเงื่อนไขรัฐประหารได้ ต้องซื่อสัตย์ สุจริต รักษาความสงบ และอย่า อย่าให้แตกความสามัคคี เงื่อนไขการรัฐประหารมีอยู่แค่ไม่กี่เงื่อนไข ส่วนใหญ่ก็มาจากนักการเมืองทั้งนั้น เราก็อย่าไปเข้าเงื่อนไขเหล่านั้น อย่าไปยุแยงให้ใครแตกความสามัคคี อย่าไปลงถนนจนทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์“การจัดโครงสร้าง การบริหารราชการกลาโหม พรรคภูมิใจไทยไม่มีความชำนาญ ไม่มีข้อมูลมากพอที่จะให้ความเห็นได้ เราจึงขอสงวนความเห็นส่วนนี้ไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับฟังคำชี้แจงจากผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. ก่อน แต่หลักการสำคัญที่ควรต้องมีคือ การเมืองไม่ควรไปก้าวก่ายแทรกแซงกองทัพ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษและเป็นสถาบันสำคัญสำคัญของชาติ ที่มีต้องมีกฎหมายพิเศษหรือกฎหมายเฉพาะมากำกับดูแลการบริหาร เพื่อความมั่นคงของชาติ การช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีสถานการณ์วิกฤติ ทั้งจากภัยความมั่นคง และภัยธรรมชาติ รวมถึงการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นภารกิจหลักของกองทัพ รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติห้ามผู้ใดกระทำการปฏิวัติ รัฐประหาร ล้มล้างรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ขนาดรัฐธรรมนูญยังห้ามไม่ได้ แล้วกฎหมายใหม่จะใช้ได้จริงหรือ” เสี่ยหนูให้ข้อสังเกต
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์ทหารเก่าอย่าง “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ( พปชร.) ก็ฝาก “บิ๊กต๊ะ”พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรค พปชร.แถลงไม่เห็นด้วย โดยบิ๊กป้อมว่า สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่ มาตรา 25 เพื่อให้ฝ่ายการเมือง มีอำนาจเหนือผู้บัญชาการเหล่าทัพในการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพล โดยกล่าวอ้างว่า มีการเล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ ย่อมจะต้องรู้จักศักยภาพและประสิทธิภาพของกำลังพลใต้การบังคับบัญชาดีกว่า ฝ่ายการเมือง ซึ่งเข้ามามีอำนาจเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และหมุนเวียนเปลี่ยนไป ตามกลไกของการเลือกตั้ง
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์“ตามมาตรา10 ของพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2556 ได้กำหนดเอาไว้ว่า “ กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) สำนักงานรัฐมนตรี (2) สำนักงานปลัดกระทรวง (3) กรมราชองครักษ์ (4)หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (5) กองทัพไทย ซึ่งหมายความว่าเจตนาของพรรคการเมืองที่ยกร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เพื่อฝ่ายการเมือง เข้ามามีอำนาจเหนือกองทัพนั้น จะมีอำนาจเหนือ ตาม(2)(4) ซึ่งเป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง การเสนอร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมของพรรคการเมืองนั้น จะเป็นการบั่นทอนให้กองทัพอ่อนแอลง และจะนำกองทัพ ไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น จึงขอคัดค้าน อย่างถึงที่สุด” โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าว
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์ส่วนเพื่อไทย “บิ๊กอ้วน”ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.กลาโหม บอกว่า เอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมสภากลาโหมแล้ว และจะมีข้อคิดเห็น ข้อแนะนำปรับปรุง ต้องดูเรื่องหลักการและความเป็นจริงว่าจะจัดการอย่างไร ในฐานะประธานประชุมสภากลาโหมไม่อยากให้ความเห็นไปก่อน ขณะนี้ยังไม่ทราบว่า แนวทางจะออกมาอย่างไร อย่าเพิ่งไปคิดว่าลดอำนาจทหารหรือไม่ เพราะไม่มีเจตนานี้ ทหารก็มีกฎระเบียบกฎหมายของเขาในการควบคุมดูแลเหมือนพลเรือน
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์เมื่อย้อนกลับไปข้างต้น สาเหตุของการรัฐประหารมาจากการปลดผู้บัญชาการระดับสูง หากฝ่ายการเมืองล้วงลูกได้ ก็มีโอกาสเกิดรัฐประหาร และอาจแรงขึ้น สื่อได้ถามเรื่องนี้กับบิ๊กอ้วน ได้คำตอบว่า “ยังไม่เคยเห็นรายงานว่ามีใครพูด และผมยังไม่คุยเรื่องนี้กับผู้บัญชาการเหล่าทัพคนใด ขอรอฟังความเห็นจากคณะกรรมการกลั่นกรองก่อน กองทัพกับการเมืองวันนี้ก็ยังคุยกันดี ไม่มีเหตุอะไรที่จะไปล้วงลูกฝ่ายข้าราชการประจำ” ดูท่าบิ๊กอ้วนหัวเสียกับเรื่องนี้พอสมควร ถึงได้กำชับผู้สื่อข่าวมาอีกว่า “ขอให้พูดแต่ประเด็นที่เป็นจริงมีอะไรเกิดขึ้นแล้วค่อยมาถาม ไม่ใช่ถ้าอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะเป็นการคิดฝันไปเอง ขอให้อยู่เป็นข้อเท็จจริง”
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์และว่า ความเห็นของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ผู้เสนอร่างกฎหมาย ไม่ได้หมายความว่าเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทย ในส่วนพรรคดำเนินการอย่างไรอย่างไรก็จะต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้ง เรื่องกฎหมายยังต้องดูรายละเอียด ต้องมีกลั่นกรอง ก่อนเข้าที่ประชุม ครม. สภากลาโหมได้พิจารณาไปแล้วเบื้องต้น ย้ำว่าจุดยืนนี้ยังไม่ใช่จุดยืนที่เพื่อไทยลงมติ”
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์เจอกระแสค้านก็ส่วนหนึ่ง กระแสจากพรรคที่เหมือน“ไม่อยากมีปัญหากับทหาร”ก็ด้วย ทำให้ที่สุดแล้ว สส.หัวเขียง นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ แบะท่าจะถอนร่าง อ้างว่า จากการรับฟังความเห็นของประชาชนในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ตาม มาตรา77 ของรัฐธรรมนูญ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีเสียงคัดค้านจำนวนมาก วันที่ 12 ธ.ค.นี้ ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยก่อนประชุมสภา จะขอถอนร่างไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ จะสิ้นสุดการรับฟังความเห็นตาม มาตรา 77 ในวันที่ 1 ม.ค.68
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์“ไม่ใช่การแทรกแซงกองทัพ การเสนอแต่งตั้งทหารระดับนายพลจะดำเนินการโดยคณะกรรมการของส่วนราชการนั้นๆ เป็นผู้เสนอชื่อนายพลตามหลักเกณฑ์กระทรวงกลาโหม จากนั้นจึงจะเสนอให้ ครม.พิจารณา ทุกอย่างมีระเบียบกระทรวงกลาโหมควบคุมขั้นตอนแต่งตั้ง ไม่ใช่ ครม.แต่งตั้งเอง หรือกรณีกำหนดให้นายกฯ โดยความเห็นชอบของ ครม. มีอำนาจสั่งให้นายทหารยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวได้ หากกระทำการนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อสกัดการรัฐประหาร ก็เหมือนที่ สส.เกาหลีใต้ ใช้อำนาจยับยั้งการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดี หลายประเทศมีมาตรการเข้มข้นสกัดการยึดอำนาจ ตอนนี้จากที่หวังไว้ 100% ถ้าได้มาสัก 30-50 % ก็คงพอใจแล้ว”
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์สส.หัวเขียงบอกว่า เมื่อหลายพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ก็ต้องนำมาทบทวนใหม่ การที่หลายส่วนมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถสกัดการยึดอำนาจได้ เป็นความเห็นแต่ละคน ส่วนตัวมองว่า ช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง เหมือนที่เกาหลีใต้ ที่ให้สภามีส่วนร่วมการยับยั้งการใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ไม่ได้กลัวขัดแย้งกับกองทัพ แต่ต้องเคารพเสียงสังคม เมื่อสังคมไม่เอาด้วยก็ทบทวน
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์เอาจริง ถ้าพูดกันด้วยแบบอย่างการรัฐประหารในไทยสองครั้งที่ผ่านมา คือ ทหารประกาศยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญ เรียกผู้เห็นต่าง“เข้าค่าย”ในกองทัพทันที ..ภาพมันเป็นอย่างที่เสี่ยหนูพูด คือ“ถ้าเขาจะทำก็ทำ” อย่างไรก็ตาม คนก็คาดหวังการตรวจสอบถ่วงดุลในกองทัพให้โปร่งใส ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธ เรื่องการซ้อมทรมานนายทหารระดับล่างที่มีข่าวออกมาเรื่อยๆ ก็ไม่รู้ว่า กฎหมายจัดระเบียบจะช่วยตรงนี้ได้หรือไม่ ไม่ใช่อะไรๆ ก็ซุกทำกันในค่าย
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์แต่ภาพหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้คือ “เพื่อไทยเกรงภูมิใจไทย” เหมือนยอมให้พรรคภูมิใจไทย“ขี่คอ”อยู่ อะไรที่เคยคิดว่าจะเป็นมติรัฐบาลไปได้ตลอดรอดฝั่ง อยู่ๆ ภูมิใจไทยไม่เอาด้วยก็ต้องกลับลำกัน ทั้งนี้เป็นเพราะภูมิใจไทยคือพรรคเสียงข้างมากอันดับสองในรัฐสภา และมี“สายสัมพันธ์”ที่ดีกับ สส.หลายคน แต่ก็แว่วข่าวว่า ทางเพื่อไทยก็หวังลึกๆว่า “เลือกตั้งใหม่จะรวมเสียงพรรคร่วมรัฐบาลให้ได้ถึง 300 โดยไม่ต้องมีภูมิใจไทย”
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์ตัวเลือกแรกที่เขาคิดจะเอามารวมด้วย คือพรรคกล้าธรรมที่มีความสัมพันธ์อันดีกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และอาจมีพรรคใดพรรคหนึ่งดูดคนจากรวมไทยสร้างชาติ ( รทสช.) ไปเข้าพรรคใหม่ ( แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกดูดเข้าภูมิใจไทย ซึ่งทำพื้นที่ใต้แข็งแรงอยู่ และจะแย่งฐานเสียง รทสช.)
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์เรื่องนี้รอเวลาพิสูจน์ ใกล้เลือกตั้งเราจะได้เห็น..เผลอๆ ถ้ายุบสภาอาจเห็นการโยกย้าย สส.ครั้งใหญ่.
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์………………………………………………………
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”
คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่
มองข่าวกมต้านรัฐประหารมองความสัมพันธ์ในรัฐบาลเดลินิวส์