【คอบอลไทย】“เศรษฐกิจสุขภาพ”ความท้าทายสังคมสูงวัย | เดลินิวส์
งานประสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 ที่จัดขึ้น ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ภายใต้ประเด็นหลัก “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ โดยนายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์นายเดชอิศม์ กล่าวว่า เศรษฐกิจกับสุขภาพถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความท้าทายของไทยที่เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น และประเทศยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างในแง่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสังคมที่จะส่งผลกระทบในหลายมิติ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนว่า การบูรณาการระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน รวมถึงแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว และแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ จึงมีความสำคัญมาก
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์นายเดชอิศม์ กล่าวต่อว่า สช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือ คมส. ทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ สนับสนุนความร่วมมือในการขับเคลื่อนมติ สำหรับระเบียบวาระที่จะให้การรับรอง เพื่อเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2567 จำนวน 2 ระเบียบวาระ 1. “การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน” 2. “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ” โดยจะเชื่อมโยงเรื่องของสุขภาพกับเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาควบคู่กันไปได้อย่างสมดุล โดยการพัฒนาเศรษฐกิจต้องไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อเรื่องระบบสุขภาพของประเทศ ถือเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และนำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์“กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ถือเป็นกระบวนการพัฒนาที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคม ร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน ในฐานะรัฐบาลจึงอยากใช้โอกาสนี้ขอความร่วมมือทุกภาคส่วน มุ่งขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยพิบัติ 2. การใช้ศักยภาพของเครือข่ายสุขภาพในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค 3. การรับมือกับโรคไม่ติดต่อ (NCDs) 4. การเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ด้านโครงสร้างประชากร 5. ให้ความสำคัญกับข้อมูลของระบบสุขภาพ ดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ 6. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนระบบสุขภาพท้องถิ่น 7. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน 8. ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนเพื่อสุขภาพ โดยใช้ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นฐาน” นายเดชอิศม์ กล่าว
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึง ข้อท้าทายต่อการลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพื่อลดมูลค่าความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ว่า สำหรับโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs มี 5 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ 1. การดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจุบันไทยสามารถลดอัตราการดื่มแบบหนักได้มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่เกิดกลุ่มเป้าหมายการตลาดใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเด็ก และสตรีมากขึ้น นอกจากนี้กำลังมีการแก้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ ที่อาจทำให้เกิดการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น การซื้อขายผ่านออนไลน์ ซึ่งต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด 2. การสูบบุหรี่ แม้ว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในการลดอัตราการสูบบุหรี่จาก 30-40% เหลือ 17% แต่ยังพบปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็ก และเยาวชนมากกว่า 1 แสนคน 3. การรับประทานอาหาร รัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยมาตรการทางภาษี ซึ่งประสบความสำเร็จในการเก็บภาษีความหวาน และความพยายามต่อไปคือภาษีความเค็ม 4. พฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่จะส่งผลกระทบเชิงลบในสุขภาพระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก และเยาวชนที่ขยับร่างกายน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ 5. ปัญหาด้านมลพิษ หรือฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิต
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วย NCDs มากกว่า 74% นำมาสู่การเสียชีวิตมากกว่าปีละ 400,000 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ นับเป็นความท้าทายของสมัชชาสุขภาพ นพ.ไพโรจน์ กล่าว
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์ศ.คลินิก นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองประธาน คมส. กล่าวถึงการรายงานความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปีนี้ ว่า เรื่องการขจัดความยากจนตามแนวคิด BCG ยกระดับเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือน และการจัดการเชิงระบบ มีความก้าวหน้าที่สำคัญ 1. รัฐบาลเห็นชอบแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้ประชาชน 2. กรมควบคุมโรคได้จัดแผนปฏิบัติการด้านการป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อของไทยระยะ 5 ปี 3. สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สสส. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน จัดทำเมนูสูตรอาหาร และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นลดโซเดียม 77 จังหวัด 4. กลุ่มมติเกษตรอาหารความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร บรรจุเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 5. สวนผักคนเมือง ร่วมกับ สสส. เพื่อสร้างรูปธรรมพื้นที่ผลิตอาหารในชุมชนเมือง มติต่าง ๆ อย่างมีข้อท้าทาย ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทุกกลุ่ม เพื่อร่วมการดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อไป
เศรษฐกิจสุขภาพความท้าทายสังคมสูงวัยเดลินิวส์