【สล็อต g2g】Grad and Glow Arts Thesis Showcase | เดลินิวส์
ไอคอนสยาม จัดงาน “Grad and Glow Arts Thesis Showcase” ยกระดับประสบการณ์ด้านศิลปะ เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปนิพนธ์สู่สายตาชาวโลก พบปะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวงการสร้างสรรค์และศิลปะไทย ร่วมชมผลงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านงานศิลปะแก่นักศึกษา เพื่อเสริมศักยภาพและค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ไปทำงานร่วมกับองค์กร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ถึง 24 พฤษภาคม 2568 ณ ICON Art Culture Space ชั้น 8 ไอคอนสยาม
เดลินิวส์
คุณณัฐวุฒิ เฉลิมวันเพ็ญ Head of Business Relations and Art Community บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า แนวคิดหลักของไอคอนสยามคือการนำสิ่งที่ดีที่สุดของไทยมาบรรจบกับสิ่งที่ดีที่สุดของโลก ซึ่งรวมถึงด้านศิลปะและวัฒนธรรมด้วย ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้ผลงานศิลปะของศิลปินไทยสามารถต่อยอดไปสู่เวทีระดับโลกได้ ตลอดจนพยายามนำงานศิลปะระดับโลกมาจัดแสดงให้คนไทยได้ชื่นชมอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังสนับสนุนพื้นที่ให้ศิลปินไทยรุ่นใหม่ รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้จัดแสดงผลงานศิลปะของตนเองให้ปรากฏสู่สายตาทั่วโลก
เดลินิวส์
โดยไอคอนสยาม ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทเดนท์สุฯ บริษัท เพนนีเลนฟิล์มส์ จำกัด บริษัท อาร์ทเวนเจอร์ เอ็นเอฟที จำกัด บริษัท บ.บู่ 1924 จำกัด ได้ให้การสนับสนุนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้งาน Grad and Glow Arts Thesis Showcase พร้อมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวงการศิลปะมาร่วมชมผลงานของนักศึกษาพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และแชร์ประสบการณ์ด้านงานศิลปะให้นักศึกษาว่าที่ศิลปินไทยรุ่นต่อไปได้นำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ และยังเป็นการค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้าร่วมงานระดับองค์กรต่อไป ซึ่งจะเป็นการสร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายด้านศิลปะให้แก่ทั้งนักศึกษาผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้เชี่ยวชาญ และลูกค้าของไอคอนสยามที่มาร่วมชมผลงานศิลปนิพนธ์ในครั้งนี้ด้วย”
เดลินิวส์สำหรับพิธีเปิดงานในวันนี้ได้รับเกียรติจาก คุณมณีรัตน์ จันทร์มี ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญประกอบไปด้วย คุณรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย, คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรม ของเครือกลุ่มบริษัทเดนท์สุฯ ประเทศไทย, คุณชีวา ลาภินตั้งสุทธิ Executive Director ArtVentureNFT Co., Ltd. คุณกษิติ สังข์กุล Films director และผู้ก่อตั้งบริษัท Penny Lane Films คุณประภาพร แซ่บู่ และ คุณรัฐวุฒิ ชัยวงศ์ขจร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บ.บู่ 1924 จำกัด ร่วมงาน และชมนิทรรศการศิลปนิพนธ์ The Last Suffer Thesis Exhibition ของนักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ -23 มีนาคม 2568 ณ ICON Art Culture Space ชั้น 8 ไอคอนสยาม
เดลินิวส์โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านต่างยินดีที่ได้มาร่วมแนะแนวและให้ความรู้กับนักศึกษา พร้อมเปิดเผยถึงโอกาสที่จะได้ร่วมสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ในครั้งนี้ อาทิ คุณรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มองว่า “ศิลปินที่ดีต้องมีแพสชั่น และความใฝ่รู้ในการแสวงหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ มีความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ เปิดกว้างกับความคิดใหม่ ๆ ซึ่งจะพิจารณาได้จากทัศนคติที่เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นต่าง มีความตื่นตัวที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ใหม่ ๆ รอบตัวและเป็นคนที่สามารถนำเอาศิลปะมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน หรือการใช้ชีวิตจริงได้ ซึ่งตราบใดที่เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับคนไทยและประเทศไทย “เราต้องช่วยกันสร้างเวทีให้ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้มีที่แสดงออก เพื่อให้คนรุ่นใหม่ของเรามีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และที่สำคัญเราจะต้องช่วยกันให้ผู้ประกอบการ ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ให้บริการรายใหญ่รายเล็กของไทยได้มีโอกาสเข้าถึงงานศิลปะหรือความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ เพื่อนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นกับสินค้าหรือแบรนด์ไทยต่างๆ ในวงกว้างมากขึ้นอีก ต้องขอขอบคุณไอคอนสยาม ที่ได้เปิดพื้นที่ให้น้องๆ ได้มาจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ ทำให้ผลงานนักศึกษาได้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนในวงกว้างและยังเปิดโอกาสให้น้องๆได้เจอกับผู้เชี่ยวชาญในสายงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างสรรค์ และต่อยอดผลงานในอนาคตต่อไป” คุณรติ กล่าว
เดลินิวส์
ด้าน คุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มด้านการตลาดและนวัตกรรมของเครือกลุ่มบริษัทเดนท์สุฯ ประเทศไทย กล่าวว่า อนาคตคือโอกาสที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะว่า platform, สื่อ หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้งานศิลป์ สามารถที่จะไปได้หลากหลายช่องทาง หลากหลายการใช้งาน หลากหลายการประยุกต์ใช้ ดังนั้นศิลปินรุ่นใหม่หรือนักศึกษาที่มีความกระตือรือร้นที่จะตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตของสื่อ เข้าใจบทบาทของงานศิลป์ที่มีต่อผู้บริโภคงานศิลป์ และเข้าใจมุมมองทางด้านการตลาด การบริหารธุรกิจ จะมีโอกาสมากมาย สำหรับเดนท์สุฯ ประเทศไทย เรามองหาน้อง ๆ ที่มีจินตนาการ ถ่ายทอดความคิดออกมาได้ดี มีพลัง เปิดกว้างด้านความคิด ยอมรับคำติชมเพื่อนำไปพัฒนาร่วมกับองค์กรได้ อีกทั้งต้องมีความ Creative ในเชิงพานิชย์ด้วย เพราะในอุตสาหกรรมที่ผมอยู่ เราไม่ได้ขายงานศิลป์ เราขายงานพาณิชศิลป์ที่ช่วยแบรนด์ทำการสื่อสารเพื่อช่วยกระตุ้นหรือเปลี่ยนแปลงเรื่องราวบางอย่าง ซึ่งการที่ไอคอนสยามเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ได้เจอบุคลากรที่เป็นนักปฏิบัติงานจริง ผมเชื่อว่าจะทำให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตที่พลวัตจะแรงขึ้น เร็วขึ้น ที่สำคัญคืองานนี้จะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมงานศิลป์ งานการตลาด และการปั้นเด็กรุ่นใหม่ให้มีฝีมือออกมาสู่วงการ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศชาติของเราก้าวหน้าต่อไป”
เดลินิวส์
สำหรับคุณกษิติ สังข์กุล Films director และผู้ก่อตั้งบริษัท Penny Lane Films บอกว่า “ผมดีใจที่ไอคอนสยามเล็งเห็นความสำคัญของงานเชิงศิลปะวัฒนธรรม ตัวผมเองพร้อมจะเปิดรับน้อง ๆ รุ่นใหม่อยู่แล้ว แต่เรื่องสำคัญคือ Generation Gap ดังนั้นเราจึงมองหาคนที่เปิดใจรับบุคลิกลักษณะคน Gen ผมได้ด้วย เพราะการทำงานเป็นทีม ต้องมีความอดทนอดกลั้น การลดอัตตาหรือทิฐิลง เพื่อให้สามารถทำงานในชีวิตจริงร่วมกับคนอื่นได้ นี่คือความสำคัญพื้นฐานที่คนทำงานมืออาชีพต้องมี”
เดลินิวส์
ด้าน คุณชีวา ลาภินตั้งสุทธิ Executive Director ArtVentureNFT Co., Ltd. เผยว่า “ต้องขอขอบคุณที่ไอคอนสยามให้ความสำคัญ และมีพื้นที่ให้ศิลปินไทยได้แสดงผลงานผ่านพื้นที่ที่คนทั่วโลกรู้จัก เพราะไทยเรามีเอกลักษณ์โดดเด่นหลายด้าน รวมถึงด้านศิลปะ การที่องค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับศิลปะ ทำให้แนวโน้มที่ศิลปินไทยจะเป็นที่รู้จักในระดับโลกก็มีมากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญคือศิลปินต้องสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีเอกลักษณ์ มีความขยัน มีวินัย และถ้าทำได้ทั้ง Physical และ Digital จะยิ่งดีมาก ๆ”
เดลินิวส์
และ คุณรัฐวุฒิ ชัยวงศ์ขจร ผู้ร่วมก่อตั้ง BOO กล่าวว่า “ปัจจุบันศิลปินและนิสิตรุ่นใหม่มีฝีมือและ Creativity สูงมาก เขาไม่ได้มองแค่ผลงาน แต่มองไปถึงธุรกิจที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วย ในฐานะผู้บริหารองค์กรแนะนำได้เพียงว่า หากอยากก้าวไปสู่นักออกแบบหรือศิลปินมืออาชีพ ควรเตรียมใจให้แน่วแน่และมีแพสชั่นต่อการทำงานศิลปะ เพราะถ้าเราตั้งใจ ยึดมั่นในความเชื่อ ในขณะเดียวกันก็มีใจที่เปิดกว้าง รับฟัง จะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งโปรเจ็กต์นี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ สำหรับน้อง ๆ นักศึกษา กับการที่มีผู้ใหญ่ใจดีอย่างไอคอนสยามให้การสนับสนุนพื้นที่แสดงผลงานที่ และยังได้มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทที่มีคุณภาพด้วย” ด้านคุณประภาพร แซ่บู่ ผู้ร่วมก่อตั้ง BOO ได้เสริมถึงเกณฑ์การพิจารณาศินปินรุ่นใหม่เข้าร่วมทำงานในองค์กรว่า “คัดเลือกศิลปินของ BOO พิจารณาจากทัศนคติเป็นหลัก อาจจะต้องมีการพูดคุยเพื่อดูว่าทัศนคติ เข้ากับบริษัทเราได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงพิจารณาศักยภาพของนักศึกษาจากผลงานที่นำมาจัดแสดงว่า ผลงานของแต่ละคนบ่งบอกถึงความคิดและความเป็นตัวตนของเขามากแค่ไหน”
เดลินิวส์
สำหรับการจัดงานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาประกอบไปด้วย 6 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัย ได้จัดแสดงตามช่วงเวลาดังนี้
เดลินิวส์• วันที่ 19-23 มีนาคม 2568 : นิทรรศการศิลปนิพนธ์ The Last Suffer Thesis Exhibition ของนักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ด้านการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity), การออกแบบและจัดทำแอนิเมชัน (Animation), การออกแบบโมชันกราฟิก (Motion Graphic), การออกแบบภาพประกอบ (Illustration Design), การออกแบบกราฟิก (Graphic Design), การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (Publication Design), การออกแบบอีเว้นท์ (Event Design) และงานออกแบบอื่น ๆ
เดลินิวส์
• วันที่ 1 16 เมษายน 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ รูป นาม ไทย “Art Thesis Exhibition” ของนักศึกษาสาขาวิชาจิตรกรรมไทย ภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่มีอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานศิลปะไทยในรูปแบบที่มีความหลากหลาย โดยไม่ยึดติดกับลักษณะดั้งเดิม มีกระบวนการทางความคิดและกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่น่าสนใจ
เดลินิวส์• วันที่ 17 23 เมษายน 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DAP Thesis Exhibition 1st” ของนักศึกษาสาขาวิชามัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่รวมตัวกันก่อตั้งองค์กรนักศึกษาในนาม Dec Applied Art (DAP) เพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่แสดงออกผลงานของตัวเองและเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้รู้จักกับประยุกต์ศิลปศึกษามากยิ่งขึ้น โดยนิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DAP Thesis Exhibition 1st” ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นออกสู่สายตาประชาชนในวงกว้าง
เดลินิวส์
• วันที่ 26 เมษายน 5 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DreamMart” ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้า (ผลงาน) อันเกิดจากความฝัน ของนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ต้องการเสนอสินค้าที่ตัวเองมั่นใจให้ออกไปสู่สายตาลูกค้าได้เลือกชม ยอมรับ และพึงพอใจ สร้างภาพลักษณ์ที่แปลกตาไปจากภาพจําเดิม ๆ ของการเข้าชมงานศิลปะ โดยจะใช้ธีมของซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อตั้งคําถามถึงเส้นกั้นบาง ๆ ระหว่างงานศิลปะและสินค้า ที่ความหมายของงานกลายเป็นเรื่องรอง เน้น “ขายได้” เป็นหลัก ตราบใดที่งานศิลปะยังต้องอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม ศิลปิน ยังต้องแข่งขันกันขายงานเพื่อเลี้ยงชีพ และชื่อเสียง แล้วงานศิลปะจะเป็นสิ่งที่สูงส่งอย่างที่คิดจริงหรือ
เดลินิวส์• วันที่ 7 13 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ “มธุระอัตตา” ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา วิทยาลัยเพาะช่าง ที่นำเสนอผลงานหลากหลายรูปแบบ ทั้งผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเทคนิคช่างสิบหมู่ เทคนิคสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ, เทคนิคสีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ, เทคนิคกํามะลอ, เทคนิคสีอะคริลิกบนเสื่อกระจูด, เทคนิค Silk Screen, Paper Block, ประติมากรรมลักษณะนูน, เครื่องปั้นดินเผา, ดิจิทัลอาร์ต, ภาพพิมพ์แกะไม้ ฯลฯ
เดลินิวส์• วันที่ 15 24 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอผลงานจิตรกรรมสองมิติ, ประติมากรรมลอยตัว, จิตรกรรมสื่อผสม, เทคนิคสีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ, ประติมากรรมสื่อผสม,บูธงานศิลปะ, งานแฮนด์เมด, งานปักผ้าและอีกมากมาย
เดลินิวส์
ผู้รักงานศิลปะและผู้สนใจ สามารถชื่นชมผลงานสุดสร้างสรรค์ และให้กำลังใจนักศึกษา ในนิทรรศการศิลปนิพนธ์ จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ในงาน Grad and Glow Arts Thesis Showcase ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ถึง 24 พฤษภาคม 2568 ณ ICON Art Culture Space ชั้น 8 ไอคอนสยาม.
เดลินิวส์