【bet 188】"ริมฝั่งโขง" กรณีศึกษา "น้ำพื้นที่บุ่งคล้า" ร่วมบูรณาการ "ยั่งยืน" | เดลินิวส์
ได้เสนอโครงการเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาทั้งระบบ ที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยเน้นในด้านพลังงานและอาหาร ในพื้นที่ ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ ซึ่งตั้งอยู่ชิดติดริมแม่น้ำโขง “ นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการระบุไว้โดย นริศ อาจหาญ นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า หรือ อบต.บุ่งคล้า ในกิจกรรมแนะนำ โครงการนำร่องของประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์โครงการนี้ บริหารจัดการเกี่ยวกับน้ำ“
เป็น โครงการพื้นที่ริมโขงที่น่าสนใจ“
ทั้งนี้ เกี่ยวกับ โครงการนำร่องของประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะนำเสนอในวันนี้ การจัดกิจกรรมแนะนำโครงการมีขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อบต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ โดยมี จุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานกล่าวเปิด ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งในไทย จากต่างประเทศ และระดับสหประชาชาติ
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่สนับสนุนโครงการนี้ ที่เรียกย่อ ๆ ว่า โครงการ P-LINK“ ไล่เรียงตั้งแต่พื้นที่จนถึงระดับสหประชาชาติ หลัก ๆ ก็มี อบต.บุ่งคล้า, จังหวัดบึงกาฬ, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), Mekong River Commission (MRC), Mekong Institute (MI), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐเกาหลีใต้, สำนักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือ ใต้-ใต้ (United Nations Office for South–South Cooperation : UNOSSC) ซึ่งในวันแนะนำโครงการก็มีผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ ผู้แทนสทนช. ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย ผู้แทน UNOSSC ประจำประเทศไทย ซึ่งก็เป็นอีกส่วนที่ฉายชัดความน่าสนใจของโครงการนี้
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์โครงการ ความร่วมมือครั้งสำคัญ“
เพื่อ พัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง“
ทางผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ จุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ได้กล่าวถึง โครงการ P-LINK ไว้ว่า เป็นโครงการนำร่องในประเทศไทยเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบอัจฉริยะสำหรับการจัดหาน้ำอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสำหรับชุมชน ภายใต้กำหนดระยะเวลา 15 เดือน เริ่มจากเดือนมิถุนายน 2567 ไปถึงเดือนกันยายน 2568 ซึ่งจะ ครอบคลุมด้านน้ำ อาหาร และพลังงานเป็นหลัก โดยมีการออกแบบเพื่อเพิ่มการเข้าถึงน้ำสะอาดโดยใช้พลังงานหมุนเวียน
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์ในการดำเนินการโครงการ มี Miss Yejin Kim ชาวเกาหลีใต้ เป็นผู้จัดการ โครงการนำร่อง “P-Link” โดยได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า เพื่อดูแลรับผิดชอบโครงการนำร่องนี้ ซึ่งได้มีการให้ข้อมูลไว้เกี่ยวกับแผนริเริ่มในการ บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะโดยปรับให้เหมาะสมกับความท้าทายในท้องถิ่น“ เช่น การสูญเสียน้ำจำนวนมาก ความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่จำกัดเกี่ยวกับการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งได้จัดเตรียมความพร้อมแผนงานไว้เรียบร้อย พร้อมก้าวสู่ขั้นตอนการปฏิบัติใน พื้นที่ ต.บุ่งคล้า ทันที
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์โครงการนี้ทาง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ในฐานะสำนักงานเลขาธิการ คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee-Information System : TNMC-IS) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกลางภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง ได้รับการประสานจาก สำนักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือ ใต้–ใต้ หรือ UNOSSC (United Nations Office for South–South Cooperation) ประสงค์ขอรับแนวทางและการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำเนินโครงการนำร่องประเทศไทย ภายใต้ โครงการ Triangular Cooperation Project on Sustainable Development in the Lower Mekong Basin based on the Water-Energy-Food (WEF) Nexus หรือ โครงการ P-LINK“ อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีงบดำเนินโครงการนำร่อง 600,000,000 วอนเกาหลีใต้ หรือราว 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพื้นที่ ต.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์ทั้งนี้ ในส่วนของนายก อบต.บุ่งคล้า นริศ อาจหาญ ก็ได้เผยไว้ด้วยว่า อบต.บุ่งคล้า ได้เสนอโครงการเพื่อจะนำสู่การแก้ปัญหาทั้งระบบ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการและยั่งยืน และก็น่ายินดีที่ ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และอีกหลายหน่วยงาน จนเป็นที่มาการดำเนินโครงการ ครั้งนี้ ซึ่งขอแสดงความขอบคุณทุกองค์กรเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย โดยที่มาการเสนอโครงการนี้เกิดจากการ ประเมินความต้องการในพื้นที่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน ต.บุ่งคล้า ซึ่ง ประเด็นสำคัญที่พบคือ อัตราการสูญเสียน้ำ การสูญเสียทรัพยากร
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์ประกอบกับ ความต้องการน้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของประชากร ส่งผลให้สถานการณ์ปัญหารุนแรงเพิ่มขึ้น อีกทั้งคุณภาพน้ำที่จัดหาได้ยังต่ำกว่ามาตรฐาน ยังมีช่องว่างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินการด้านน้ำประปาซึ่งนำสู่การปฏิบัติที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อพิจารณาโดยรวมถึงความท้าทายต่าง ๆ ก็บ่งชี้ชัดเจนว่า จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำแบบอัจฉริยะสำหรับการจัดหาน้ำอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสำหรับชุมชนด้วย
ริมฝั่งโขงquotกรณีศึกษาquotน้ำพื้นที่บุ่งคล้าquotร่วมบูรณาการquotยั่งยืนquotเดลินิวส์ก็น่าตามดูซัคเซส โครงการ P-LINK“
ที่ถือได้ว่า เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา“
กรณี ร่วมบริหารจัดการน้ำยั่งยืน“.