【bo7 pg slot】เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลด NCDs | เดลินิวส์
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า 74% ของคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ NCDs ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากโรค NCDs ข้อมูลการสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted Life Years “DALY” ปี 2562 พบว่า 80% ของประชากรไทย คุณภาพชีวิตลดลงจากการเจ็บป่วย NCDs จำนวนประมาณ 400,000 คนต่อปี โดยเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ใช้สารเสพติด
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์
เครือข่ายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (International Network of Health Promotion: INHPF) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และสสส. ร่วมกันจัด Side Meeting เรื่องแกะกล่องนวัตกรรมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs Unboxing Innovations for NCDs Prevention) ในการประชุม Prince Mahidol Award Conference 2025 PMAC 2025 การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2568
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์
ดร.ชุน ฮงเทย์ (Dr.Tay Choon Hong) CEO of Health Promotion Board (HPB) สิงคโปร์ และประธานเครือข่ายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (INHPF) กล่าวว่า สิงคโปร์มุ่งลดอัตราการเกิดโรค NCDs ผ่านเทคโนโลยี การแพทย์ปฐมภูมิ และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเน้นการใช้ AI และ Big Data ผ่านโครงการ “Healthier SG” ที่มุ่งสร้างระบบป้องกันโรคเชิงรุกอย่างแม่นยำ ได้แก่
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์แพทย์ประจำตัว ดูแลสุขภาพต่อเนื่อง แผนสุขภาพส่วนบุคคล ปรับให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต กิจกรรมชุมชน ส่งเสริมการออกกำลังกาย และโภชนาการที่ดี HealthHub และ Healthy 365 แอปสุขภาพแห่งชาติ เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลหลัก เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพประชาชน ติดตามกิจกรรมสุขภาพ เช่น จำนวนก้าวเดิน ระยะเวลาการออกกำลังกาย และโภชนาการ พร้อมระบบให้รางวัลจูงใจ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 800,000 ราย“อีกโครงการสำคัญคือการคาดการณ์ภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุ (Pre-frailty Prediction) พัฒนาการป้องกันโรค โดยใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่ DigiCoach Programme ใช้เซนเซอร์ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดแบบเรียลไทม์ พร้อมคำแนะนำด้านโภชนาการ ในส่วนของ INHPF ความร่วมมือระดับโลก เน้นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดกับองค์กรสุขภาพทั่วโลก เช่น ไทย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และไต้หวัน เพื่อพัฒนานโยบายส่งเสริมสุขภาพระดับสากล” ดร.ชุน กล่าว
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์ดร.แคโรลีน วอลเลซ (Dr. Carolyn Wallace) ผู้จัดการฝ่ายวิจัยมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพแห่งรัฐวิคตอเรีย (VicHealth) ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า รัฐวิคตอเรียใช้ “Community Connectors” ใช้เครือข่ายชุมชน และโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก เพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพกับประชาชน ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น Facebook Instagram TikTok และ WeChat สื่อสาร และกระตุ้นการมีส่วนร่วม ร่วมมือกับนักสร้างคอนเทนต์ และผู้นำทางความคิด (KOLs) โดยมีนวัตกรรมสำคัญ
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์This Girl Can ส่งเสริมให้ผู้หญิงออกกำลังกายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องรูปร่าง มีผู้ติดตามกว่า 30,000 คน2. Reality Check แคมเปญวิดีโอผ่าน TikTok และ Instagram กระตุ้นเยาวชนให้หันมาดูแลสุขภาพจิต โดยทั้ง 2 โครงการมีการประเมินผลจาก 1. การวัดและประเมินผลของการดำเนินงาน 2. การเข้าถึงประชากรทุกกลุ่ม โดยคำนึงถึงความหลากหลายของประชากรเป้าหมายการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชากร
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลหากต้องการลดอัตราการเกิดโรค NCDs จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน และการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้นในระยะยาว
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์“สสส. พัฒนาเครื่องมือดิจิทัล นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การสร้างเสริมสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชัน Persona Health ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพในอนาคต พร้อมให้คำแนะนำด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล แอปพลิเคชัน สานสุข เน้นการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมภายในองค์กร เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Devices) เพื่อให้องค์กรสามารถออกแบบกิจกรรมสุขภาพ เช่น การแข่งขันออกกำลังกาย กิจกรรมลดความเครียด และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงาน นอกจากนี้ สสส. ให้ความสำคัญกับ “การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพโดยการใช้ข้อมูล (Data-driven) เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญในพื้นที่เฉพาะ” และร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และภาคส่วนต่างๆ มุ่งเน้น “Big Data” พัฒนาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพระดับจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสำหรับการกำหนดแนวทางส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในอนาคต
เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติมุ่งใช้เอไอลดNCDsเดลินิวส์