【bein sport 3 ออนไลน์】‘น้อมนำหลักพอเพียง’เข็มทิศมงคล ‘วิถีชุมชนบ้านหลุมมะขาม’ พลิกฟื้นคืนป่า‘ฟื้นคืนความสุขชีวิต’ | เดลินิวส์

“ที่นี่เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเองก็มีรายได้จากป่า จนมีนายทุนข้างนอกเข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกมันสำปะหลังและอ้อย แค่เวลา 2-3 ปีเท่านั้น ป่าในชุมชนก็หายไปหมดจนแทบไม่เหลือ พอป่าหมดไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยน สุดท้ายชาวบ้านก็ไม่เหลืออะไรเลย” นี่เป็นเรื่องราวที่เคยเกิดที่ ชุมชนบ้านหลุมมะขาม หมู่ 8 ต.หนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ผ่านคำบอกเล่าจาก “วินัย สุวรรณไตร” ผู้นำชุมชนดังกล่าว ก่อนที่จะค้นพบ “เข็มทิศชีวิตที่ช่วยนำสู่ชีวิตใหม่” นั่นก็คือ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9”

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

วินัย สุวรรณไตร

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

วินัย สุวรรณไตร ประธานกลุ่ม เครือข่ายธนาคารต้นไม้บ้านหลุมมะขาม จ.ฉะเชิงเทรา เล่าให้ “ทีมวิถีชีวิต” ฟังว่า ในอดีตชุมชนนี้ในพื้นที่มีป่ามีต้นไม้หนาทึบ เคยเป็นป่าชุมชนที่อุดมสมบูรณ์มาก สมัยก่อนชาวบ้านมีวิถีชีวิตเก็บของป่าขาย และรับจ้างหาน้ำมันยางนา ไม่ต้องออกไปหาเงินในเมือง มีคนเอาเงินมาให้ถึงชุมชน ซึ่งการหาน้ำมันยางนาในป่านั้นชาวบ้านจะใช้วิธีขุดหลุมไว้ พอหาน้ำมันยางนาได้ก็นำมาเทใส่หลุม พอเกวียนที่มารับน้ำมันยางนามาถึง ชาวบ้านก็จะตักน้ำมันใส่ถัง 200 ลิตรที่บรรทุกเกวียนมาเพื่อให้ขนออกไป ในพื้นที่จึงมีหลุมเป็นจำนวนมาก จนเป็นที่มาของชื่อบ้านหลุมมะขามนั่นเอง

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

แต่เมื่อมีนายทุนเข้ามาชักชวนให้ชาวบ้านปลูกพืชเชิงเดี่ยว มันสำปะหลัง อ้อย ก็เป็นจุดเริ่มต้นความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ โดยเรื่องราวเริ่มเกิดขึ้นช่วงปี 2508-2509 มีนายทุนนอกพื้นที่เข้ามา ตามมาด้วยการกว้านซื้อที่ดินเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว และก็มีนายทุนบรรทุกต้นมันสำปะหลังมาให้ชาวบ้านปลูกถึงชุมชน แล้วพอคนเริ่มหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อต้องการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ก็เริ่มถางป่า เริ่มมีการเผา จนสร้างความเสียหายให้ป่าไม้ในชุมชนเป็นจำนวนมาก

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

สาธิตวิธีเจาะต้นยางนาเอาน้ำมัน

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

“จากเมื่อก่อนที่เดินออกไปขึ้นรถโดยสารนอกหมู่บ้าน 20 กว่ากิโลเมตร หัวยังไม่โดนแดดเลย แต่แค่ 2-3 ปี ป่าก็หายไป แบบที่เรียกว่าไม่เหลือเลย และสุดท้ายพืชเชิงเดี่ยวก็ไปไม่รอด หลายคนต้องล้มละลาย เพราะปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นแล้ว เนื่องจากดินมันเสื่อมสภาพ พอเสื่อมสภาพก็ต้องใช้ปุ๋ยใช้สารเคมีเยอะขึ้น ต้นทุนก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ราคาพืชผลที่ปลูกกลับไม่พุ่งตาม สุดท้ายยิ่งปลูกยิ่งขาดทุน คนปลูกมีแต่จนลงทุกวัน ที่รวยคือคนภายนอก จนสุดท้ายชาวบ้านก็เหลือแต่ตัวเปล่า ๆ ในแบบที่แม้แต่ควายสักตัวก็ยังเก็บเอาไว้ไม่ได้ ต้องขายนำเงินมาใช้หนี้”

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

อย่างไรก็ดี วินัย เล่าว่า จาก “วิกฤติชีวิต” ที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านค่อย ๆ ทบทวนบทเรียน ทำให้เห็นคุณค่าของป่า จากเดิมที่ไม่มีใครฉุกคิด แต่ตอนที่คิดจะเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านก็ยังไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน? ยังไง? เขาจึงขอไปเรียนรู้จาก ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ผู้มีชื่อเสียงด้าน “การปลูกสวนป่าวนเกษตร” จึงเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ว่าชุมชนจะทำยังไงทรัพยากรที่ถูกทำลายไปจึงจะฟื้นคืน นั่นคือ “น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้”ทั้งเรื่องการ “พึ่งพาตนเอง” ด้วยแนวคิด “ทำเอง ใช้เอง กินเอง” ปลูกทุกอย่างที่กิน-กินทุกอย่างที่ปลูก เมื่อเหลือก็แจก เหลือแจกก็จึงขาย เปลี่ยนการเพาะปลูก จากเดิมปลูกแค่อย่างเดียว ก็ส่งเสริมปลูกพืชผักสวนครัวและสมุนไพรต่าง ๆ แซมสลับไว้ในพื้นที่ป่า กับเสริมการปลูกป่าควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เพื่อเพิ่มต้นไม้หลักที่สำคัญ อย่างยางนา ตะเคียน ประดู่ มะค่า ตะแบก เป็นต้น

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

วัดขนาดบันทึกข้อมูลธนาคารต้นไม้

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

“พอกลับมาก็เอาความรู้มาทดลองทำ แต่ตอนแรก ๆ ยังไม่ได้ชวนคนอื่นทำตาม เนื่องจากเคยชวนชาวบ้านมาปลูกป่าแล้ว เขาก็ด่าว่าเราเป็นพวกโง่ ทำให้ช่วงแรก ๆ ที่เราเริ่มทดลองทำเอง เวลาที่ไปปลูกป่า ถ้ามีคนเดินผ่านมา เราจะหลบ จะแอบไม่ให้คนเห็นเลย เพราะกลัวถูกด่าว่าโง่” วินัยเล่า พร้อมกับบอกว่า แต่ก็ไม่เคยรู้สึกโกรธ เพราะคิดว่าชาวบ้านคงยังไม่เห็นผล ก็เลยไม่เชื่อเมื่อไปชวนให้ทำ จึงมองว่าถ้าตัวเองไม่ทดลองทำก่อนจนเห็นผล ใครที่ไหนจะมาเชื่อ จึงตัดสินใจว่าต้องทำให้รู้ จนเมื่อประสบความสำเร็จ เริ่มเห็นผลลัพธ์ คนอื่น ๆ ก็ค่อย ๆ สนใจ และเริ่มทำตามเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

วินัย เล่าอีกว่า ปี 2544 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เข้ามาร่วมฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้ชาวบ้าน มีการจัดอบรม 5 ฐาน ได้แก่ ข้าว-อาหาร ยารักษาโรค ของใช้ ปุ๋ย ดิน ซึ่งชาวบ้านถูกใจเรื่องอาหารและยา จึงสรุปกันว่าจะทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีในชุมชนเพื่อใช้ในครัวเรือน ผลิตได้มากก็จะขายสร้างรายได้ ซึ่ง ธ.ก.ส. ก็สนับสนุนผ่าน “โครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่” พาไปศึกษาดูงาน สนับสนุนเครื่องสกัดน้ำมันจากยางนาเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จนปัจจุบันชุมชนต่อยอดสู่พืชสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ตะไคร้ ข่อย มีอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

สาธิตทำผลิตภัณฑ์น้ำมันยางนา

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

พอก้าวแรกสำเร็จ ชุมชนก็ขยายผลสู่การ “ฟื้นฟูป่าชุมชน” ฟื้นป่าดั้งเดิม โดยตั้ง “กลุ่มธนาคารต้นไม้” ซึ่ง ธ.ก.ส. เข้ามาสนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจที่มีคุณค่าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงยั่งยืน อีกทั้งการปลูกต้นไม้มีผลลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ที่สำคัญทำให้ชาวบ้านมีหลักประกันชีวิตจากการที่ชุมชนมีไม้ใหญ่ที่ปลูกไว้เพื่อใช้เป็นทุนสะสมในยามฉุกเฉิน หรือเมื่ออายุมากขึ้น

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

และเกี่ยวกับ “ธนาคารต้นไม้บ้านหลุมมะขาม” นั้น ทาง เกียรติศักดิ์ พระวร ผช.ผจก. ธ.ก.ส. บอกเล่าว่า ธนาคารต้นไม้ที่นี่ได้รับการรับรองภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) พร้อมธนาคารต้นไม้ใน อ.แปลงยาว อีก 4 ชุมชน โดยชุมชนที่เข้าร่วมจะได้รับใบประกาศจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่ง ธ.ก.ส. มอบเงินสนับสนุนกิจกรรมนี้ในอัตราราคาที่ตันคาร์บอนละ 100 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อชุมชน

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

โชว์ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันยางนา

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

“เราพร้อมสนับสนุนธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ซึ่งประสงค์เข้าร่วมโครงการ T-VER 9 ชุมชน ได้แก่ 1.บ้านหลุมมะขาม 2.บ้านเกาะบรเพชร 3.บ้านแปลงนกเป้า 4.บ้านวังเย็น 5.บ้านหนองไม้แก่น 6.บ้านวังกะจะ 7.บ้านห้วยหิน อ.สนามชัยเขต และ 8.บ้านวังหิน 9.บ้านอ่างเตย อ.ท่าตะเกียบ ซึ่งมีสมาชิกรวม 61 คน จำนวนพื้นที่ 81 แปลง รวมเป็นขนาดพื้นที่ 1,226 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา โดยมีจำนวนต้นไม้ที่เข้าร่วมโครงการ 32,155 ต้น คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 305.47 ตันคาร์บอนต่อปี ซึ่งปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างยื่นเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียน T-VER กับองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก” ผู้บริหารคนเดิมกล่าว พร้อมบอกว่า ธ.ก.ส. มุ่งขับเคลื่อนภารกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ผ่านโครงการ BAAC Carbon Credit ซึ่งเตรียมขยายผลไปยังธนาคารต้นไม้อีกกว่า 6,800 ชุมชนทั่วประเทศ จะสนับสนุนการปลูกป่าเพิ่มปีละ 108,000 ต้น และวางเป้าสร้างปริมาณซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้ได้กว่า 510,000 ตันคาร์บอนภายในปี 2571

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

เครื่องสกัดน้ำมันยางนาที่ ธ.ก.ส. สนับสนุน

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

สลับกลับมาที่ วินัย สุวรรณไตร ทางประธานกลุ่มเครือข่าย “ธนาคารต้นไม้บ้านหลุมมะขาม จ.ฉะเชิงเทรา” ยังบอกกับ “ทีมวิถีชีวิต” ว่า สำหรับตัวเขา เรื่องงานพัฒนาชุมชนไม่มีคำว่าหยุดแน่ ๆ เพราะเป็นภารกิจที่ทำแล้วมีความุข ซึ่งได้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะหยุดทำก็ต่อเมื่อไม่มีลมหายใจแล้ว ส่วนเป้าหมายตอนนี้ คือการปลูกป่าเพิ่มให้ได้กว่า 5,000 ไร่ และน้อมนำ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” มาต่อยอดขยายผลเพิ่มอีก ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงนั้นทำให้ ชาวบ้านได้อยู่ดีกินดี และมีความสุข.

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

ชาวบ้านหลุมมะขามวันนี้ต่างมีรอยยิ้ม

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

เชื่อมโยงวิถี ‘มีป่า-มีรอยยิ้ม’

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

ผู้นำ ชุมชนบ้านหลุมมะขาม บอกไว้ด้วยว่าวันนี้ชาวบ้านที่นี่ “มีรอยยิ้ม” จากที่แทบจะไร้รอยยิ้มมานาน และเมื่อถอดรหัสรอยยิ้มที่มีความสุข ก็พบว่าเป็นเพราะ “ป่าชุมชนฟื้นกลับมา” เพราะป่า ต้นไม้ “เชื่อมโยงวิถีชีวิตของคน” ซึ่งป่าเป็นทั้งหมดของผู้คนที่นี่ ทั้งเป็นอาหาร เป็นยา เป็นของใช้ เป็นพลังงาน เป็นได้ทั้งหมด ไม่ใช่ปลูกแค่ให้ร่มรื่น แต่ปลูกเพื่อแสวงหาความสุข ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ “ตอนนี้ป่าชุมชนมีป่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 ไร่ โดยวางเป้าไว้ที่ 5,000 ไร่ เชื่อว่าอีกไม่นานจะไปถึงเป้าหมายนี้ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความภาคภูมิใจ ไม่ใช่ของผมคนเดียว เป็นของทุกคน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าตัวเงินไม่ได้ และพอป่าเริ่มฟื้นคืน คนก็เริ่มหันกลับมาสู่รากเหง้าและวิถีเดิม คือพึ่งพิงพึ่งพากัน ช่วยเหลือกันมากขึ้น เพราะไม่ได้มองที่รายได้เหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่มองที่การสร้างความสุขให้กันและกันมากกว่า”.

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์

บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน

น้อมนำหลักพอเพียงเข็มทิศมงคลวิถีชุมชนบ้านหลุมมะขามพลิกฟื้นคืนป่าฟื้นคืนความสุขชีวิตเดลินิวส์