【ci supercare】ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 'เมนูอาหารใต้' ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืน | เดลินิวส์
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เกิดความตระหนัก รับรู้ในคุณค่าและความสำคัญ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในชุมชนของตนเองให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยมีผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา นักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่เข้าร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อไม่ให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสูญหายไปตามกาลเวลา และยังสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน นำมาสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละท้องถิ่นได้อีกด้วย โดยพื้นที่ภาคใต้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้คัดเลือก มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 4 รายการ ประกอบด้วย 1.ข้าวยำปัตตานี 2.เกลือหวานปัตตานี 3.ไก่ฆอและ จังหวัดปัตตานี 4.เถ้าคั่ว จังหวัดสงขลา
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นายชาคริต สิทธิฤทธิ์ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า มรดกทางวัฒนธรรมถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยภารกิจหลักในส่วนนี้จะอยู่ที่กรมศิลปากร กับอีกประเภทคือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ข้าวยำปัตตานี เกลือหวานปัตตานี ไก่ฆอและ เถ้าคั่ว ที่จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะ ในการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและคงรักษาเอาไว้ให้อยู่ต่อไปในอนาคตผ่านวิถีชีวิต ดังนั้นหากกล่าวถึงโดยรวมแล้ว มรดกทางภูมิปัญญา ก็จะหมายถึงองค์ความรู้ที่ถูกสืบทอดต่อกันมา ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีการจำแนกไว้ใน 6 ประเภทด้วยกันได้แก่ 1.ศิลปะพื้นบ้าน 2.ศิลปะการแสดง 3.แนวปฏิบัติทางสังคม ประเพณี พิธีการ และเทศกาล 4.ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5.งานฝีมือช่างดั้งเดิม 6.การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์การลงพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานีและสงขลา ได้เน้นการส่งเสริมไปที่ข้อ 4.ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล เพราะมองว่าเรื่องของอาหารสามารถหยิบยกมาใช้เพื่อให้ผู้คนได้เห็นถึงมรดกทางภูมิปัญญาได้อย่างชัดเจน ประกอบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มาเป็นหน่วยงานหลัก ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก มุ่งเน้นให้ชุมชนตระหนักรู้ถึงคุณค่า และความสำคัญของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่มากขึ้น รวมถึงสร้างความเข้าใจว่ามรดกทางภูมิปัญญาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ต่อยอดทางเศรษฐกิจภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เปรียบเสมือนว่าเป็นการทั้งส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไปด้วยกัน
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นายชาคริต กล่าวด้วยว่า การทำงานของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะไม่ใช่การทำงานในรูปแบบของนโยบายจากข้างบนลงไปสู่ข้างล่างเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูความพร้อมด้วยว่าในแต่ละชุมชนมีอย่างไรบ้าง ต้องการจะไปต่อมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็ทำงานแบบ พบเจอกันตรงกลาง ในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างการของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมมองว่า ชุมชนคือรากฐานที่สำคัญที่สุด ที่ช่วยให้มรดกทางภูมิปัญญายังคงอยู่ได้ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ส่งเสริมการใช้ซอฟท์พาวเวอร์ หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เข้ามามีส่วนในการส่งเสริมมากขึ้น เชื่อว่า หากทุกฝ่ายมองเห็นเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจนแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต่อไปได้
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นอกจากนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังมีบทบาทเพื่อสนับสนุนให้นำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้จริง ทั้งการท่องเที่ยว การศึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัย พัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัย จะเห็นได้ว่ากรมมีบทบาทการทำงานที่ครอบคลุมในทุกมิติ ให้มรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้รับการอนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน โดยอยากฝากให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันระดมความคิดว่า จะทำอย่างไรให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ถูกส่งต่อไปยังสังคมและทุกคนในประเทศรับรู้ได้มากขึ้น เพราะสื่อโซเชียลมีเดียก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ดีในการกระจายข่าวสารออกไปสู่วงกว้างได้เช่นกัน
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ทั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมสนับสนุนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่อยู่ในภาคใต้ คือ ข้าวยำปัตตานี เกลือหวานปัตตานี ไก่ฆอและ และ เถ้าคั่ว ซึ่งทั้งหมดต่างมีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่ถูกส่งต่อกันมาแตกต่างกันไป ถูกสืบทอดมาอย่างช้านาน และรอให้สังคมในวงกว้างได้รับรู้ว่ามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในประเทศไทย
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นางสาววรรณา อาลีตระกูล นักวิชาการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กล่าวถึงความสำคัญของข้าวยำปัตตานีว่า เป็นเมนูที่รับประทานได้ทุกที่ และยังเป็นการสะท้อนอัตลักษณ์และวิถีชีวิต โดยมีจุดเด่นคือ ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นเมนูที่รับประทานง่าย ทำได้เร็ว ราคาไม่แพง และหารับประทานได้ง่าย พบเห็นร้านขายได้ทั่วไปในจังหวัดและยังคงได้รับความนิยม ซึ่งได้เคยให้ข้อเสนอแนะในการให้ข้าวยำปัตตานีได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านการให้ความรู้ในหนังสือแบบ E-book หรือวีดิโอในสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้บุคคลที่สนใจสามารถนำไปต่อยอดในการทำอาหารชนิดนี้ต่อไปได้
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ด้านนายฮาร์ดี หะมิดง นักออกแบบ นักพัฒนา และ Creative ของจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบันหลายฝ่ายหันมาสนใจ มองเห็นคุณค่า และพร้อมพัฒนาต่อยอดข้าวยำปัตตานี จึงเชื่อว่าการทำให้เมนูข้าวยำปัตตานีเป็นที่รู้จักและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดถือเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ด้วยการสร้างแบรนด์แบบผสมผสานกลมกลืนเข้าไปในวิถีชีวิตของเมือง หากนึกถึงจังหวัดปัตตานีต้องมีข้าวยำปัตตานีอยู่ในนั้นด้วย แม้ว่าจะมีบรรจุหีบห่อที่ดี นำไปขายในต่างถิ่นได้ แต่หากสามารถสร้างคุณค่าขายความรู้สึก ที่ต้องมารับประทานข้าวยำปัตตานีแบบต้นฉบับที่ต้องมาในจังหวัดปัตตานีได้ ก็จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวในจังหวัดที่มากขึ้นผ่านรูปแบบอื่นๆ เช่น การนั่งเรือกอและ หรือชื่นชมธรรมชาติได้อีกด้วย มองว่า ข้าวยำปัตตานีถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองปัตตานี
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ส่วนนายอหามะ แวหลง เจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกลือหวานปัตตานี กล่าวว่า เกลือหวานปัตตานีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่หาไม่ได้ในพื้นที่อื่นคือมีรสชาติเค็มน้อยและปลายรสไม่เค็มจัด มีความกลมกล่อมอย่างมาก เป็นผลมาจากน้ำจืดผสมกับน้ำกร่อย แต่ในปัจจุบันเกลือหวานปัตตานีกำลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งจำนวนชาวนาเกลือลดลง การขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตลาด และการแข่งขันกับเกลือจากพื้นที่อื่น ซึ่งขณะนี้จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่สุดท้ายที่เหลืออยู่ในการทำนาเกลือของภาคใต้ ถือเป็นมรดกชิ้นสุดท้าย ดังนั้นหากต้องการให้เกลือหวานปัตตานีอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น การสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องนโยบายการประกันราคา การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริโภคในวงกว้าง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและได้มาตรฐาน
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ขณะที่ ผศ.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี ในฐานะนักออกแบบและนักพัฒนา กล่าวว่า เกลือหวานปัตตานี สามารถนำมาต่อจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายได้ เพราะมีการบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ จึงได้เริ่มต้นจัดทำเป็นสินค้าแปรรูปชุมชน เช่น เกลือสปา พร้อมกับการศึกษาข้อมูลจึงพบว่า เกลือหวานปัตตานีสามารถนำมาทำเป็นเกลือแกงได้ และมีคุณประโยชน์ มีสารไอโอดีนสูงกว่าที่เพชรบุรี สมุทรสาคร จนนำมาสู่เรื่องของการมี คุณค่า คุณประโยชน์ คุณภาพ เป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจากภายนอกในการช่วยสร้างผู้ประกอบอาชีพนาเกลือให้มากขึ้น พร้อมกับให้คนที่ทำนาเกลือมีความรู้ในการทำนาเกลืออย่างลึกซึ้ง สามารถนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นางสาวนุรัยดา ปาลายา ตัวแทนผู้ประกอบการ ร้านไก่ฆอและ จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ไก่ฆอและ ถือเป็นอาหารประจำถิ่นของจังหวัดปัตตานีมีรสชาติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษยาวนานกว่า 100 ปี ปัจจุบันจังหวัดปัตตานี มีผู้จำหน่ายไก่ฆอและ มากกว่า 60 ราย แต่ข้อท้าทายคือ ไก่ฆอและ มีอายุการเก็บได้สั้น ส่วนใหญ่ไม่เกิน 7 วัน และผู้ขายส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี ทำให้ขาดทายาทผู้มาสืบทอด ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ในอนาคตจำนวนผู้ขายอาจลดลง ซึ่งสวนทางกับกระแสความนิยมบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมเสนอแนะว่า อยากให้ทุกฝ่ายเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์ไก่ฆอและให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์นายฮาร์ดี หะมิดง นักออกแบบ นักพัฒนา และ Creative ของจังหวัดปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่า สูตรของไก่ฆอและสามารถก้าวเข้าสู่การพัฒนาในประดับประเทศได้ เพราะเป็นเหมือนอาหารที่อยู่คู่ในงานมหรสพต่างๆ ทั้งในรูปแบบอาหารมื้อหนัก อาหารทานเล่น ดังนั้นหากต้องการต่อยอดออกไปให้รู้จักมากขึ้น จะต้องพัฒนาสูตรอาหารให้พลิกแพลง เช่น น้ำกะทิ หรือน้ำมะนาว ควรแยกทำเป็นซอสจิ้ม เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น หรือนำวัตถุดิบอื่นมาผสม เช่น ใบสะแหน่ หรือใบกะเพรา พร้อมกันนี้ ควรสื่อสารไปในสื่อหลากหลายช่องทาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ไก่ฆอและเป็นที่รับรู้มากขึ้น
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ด้าน อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณกล่าวว่า เถ้าคั่วเป็นอาหารของจังหวัดสงขลาที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งรสชาติที่ได้จาก “น้ำส้มโหนด” ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในน้ำราดเถ้าคั่ว และถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะคนรุ่นใหม่หันมารับประทานกันมากขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ ยังใช้วัตถุดิบที่มีเฉพาะในท้องถิ่น เช่น กุ้งจากทะเลสาบสงขลา น้ำตาลจากต้นตาลโตนด และผักพื้นบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายในสงขลา ทั้งวัฒนธรรมไทย จีน และมุสลิม พร้อมระบุว่า จำเป็นต้องมีการสร้างคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น เริ่มตั้งแต่รากฐานให้เด็กได้รู้จักของที่อยู่ในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ส่วน นายธนกฤต วนะสุข ตัวแทนกลุ่ม De South มองว่า ปัญหาที่พบก่อนหน้านี้ของเถ้าคั่วคือ ไม่สามารถทำเป็นของฝากจากสงขลาได้ เพราะติดขัดเรื่องการบรรจุหีบห่อ จึงได้ช่วยกันพัฒนาการบรรจุหีบห่อหรือ packaging ให้ง่ายต่อการเป็นของฝากมากขึ้น ปรับเป็นถ้วยเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถรับประทานไปเดินไปได้ รวมถึงการทำน้ำจิ้มแยกออกมาจะช่วยในเรื่องของการนำเถ้าคั่วไปรวมกับอาหารอื่นได้มากขึ้นอีกด้วย
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์ทั้งนี้ ในงานเสวนา ทั้งฝ่ายของภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษา ต่างเห็นตรงกันว่า ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการสร้างแนวคิดริเริ่มในการพัฒนา ต่อยอด และอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ถูกสืบทอดต่อไป
ร่วมเดินหน้าผลักดันส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเมนูอาหารใต้ให้เป็นที่รู้จักและยั่งยืนเดลินิวส์