【ตารางคะแนนบอลโปรตุเกส】บีดีไอจับมือภูเก็ต สร้างเมืองอัจฉริยะ-ดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลก | เดลินิวส์

แม้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง ‘Big Data’ และ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ (AI) จะไม่ใช่เรื่องใหม่หรือน่าตื่นเต้นสำหรับคนในยุคปัจจุบัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ในสังคมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ ที่โลกกำลังเผชิญ

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

เมื่อนำ AI มาประยุกต์ใช้กับ Big Data จะทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น กล่าวคือBig Data และ AI มีศักยภาพในการช่วยแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างโลกที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลัง อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

ดังที่ ‘สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่’ (องค์การมหาชน) หรือ ‘BDI’ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนในจังหวัดภูเก็ต แถลงวิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงานในการนำ Big Data และ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดภูเก็ตให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดตัวโครงการ ‘Phuket Old Town Carbon Neutrality 2030’ โดยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและบูรณาการ 3 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์โครงการแพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Envi Link): มุ่งเน้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพโครงการแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านท่องเที่ยวแห่งชาติ (Travel Link): มุ่งเน้นการสร้างระบบข้อมูลที่ครอบคลุมและทันสมัย เพื่อสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยวและดึงดูดนักท่องเที่ยวโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ (Smart Data Analytics Platform): มุ่งเน้นการสร้างระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ในเมือง เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน

‘สรวงศ์ เทียนทอง’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวในฐานะประธานเปิดโครงการ ‘Phuket Old Town Carbon Neutrality 2030’ ว่า รัฐบาลได้เน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบ หรือ ‘Responsible Tourism’ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายระดับชาติในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 พร้อมกันนี้ ยังประกาศสนับสนุนภูเก็ตเป็นเจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกในปี พ.ศ.2569 

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

“โครงการ ‘Phuket Old Town Carbon Neutrality 2030’ ถือเป็นก้าวสำคัญในการนำนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติจริงในพื้นที่นำร่อง โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ตให้เป็นต้นแบบของเมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน การดำเนินงานภายใต้โครงการนี้จะช่วยตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเป็นแรงบันดาลใจให้พื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศหันมาพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเช่นกัน ความสำเร็จของโครงการนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ย่านเมืองเก่าภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าอยู่ น่าเที่ยว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล” สรวงศ์ กล่าวต่อ

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

เช่นเดียวกันกับ ‘โสภณ สุวรรณรัตน์’ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ความสำคัญของการนำข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตอย่างยั่งยืนนั้น ซึ่งถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จังหวัดภูเก็ตในฐานะแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกและศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ การนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์และนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ จะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด อาทิ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบาย การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้น

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

โครงการดังกล่าว สอดคล้องกับภารกิจหลักของ BDI ในการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล สำหรับจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวได้นำมาซึ่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ก็มาพร้อมกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์อันเนื่องมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การคมนาคมขนส่ง การบริโภคพลังงาน และการจัดการขยะ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

BDI จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบและปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในจังหวัดภูเก็ตอย่างละเอียด จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากลยุทธ์และนโยบายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม เช่น การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ และการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจและชุมชนในจังหวัดภูเก็ตสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

ด้าน ‘รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการ BDI’ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวได้มีการร่วมมือกับมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน เทศบาลนครภูเก็ต และชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘Envi Link’ ให้สามารถประเมินและบริหารจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์ในพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตได้อย่างแม่นยำและครอบคลุม โดยได้นำ AI มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิด เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ โดยระบบ AI จะสามารถจำแนกประเภทยานพาหนะและคำนวณปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างอัตโนมัติ รวมถึงมีการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ และการบริหารจัดการขยะ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างเป็นรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำเสนอผ่านแดชบอร์ดข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตให้ได้ 30% ภายในระยะเวลา 3 ปี และขยายผลไปสู่พื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ต่อไป

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ร่วมกับ ‘บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง’ (PKCD) เพื่อพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Bus EV ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรและมลพิษทางอากาศในย่านเมืองเก่า ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้อง CCTV และ GPS เพื่อปรับปรุงเส้นทางและตารางเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังผนึกกำลังภาคีเครือข่ายในการผลักดันให้ภูเก็ตเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ด้วยการนำแพลตฟอร์ม ‘ข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวแห่งชาติ’ หรือ ‘Travel Link’ มาใช้ ซึ่งรวบรวมข้อมูลการเดินทาง พักแรม การใช้จ่าย และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น อินโฟกราฟิกที่อัปเดตเป็นรายวันและรายเดือน ช่วยให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Travel Link ไปใช้ในการกำหนดนโยบายฟรีวีซ่า ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและสร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาท

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

ต่อเนื่องมาจนถึงการร่วมกับ ‘สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต’ ดำเนินโครงการ ‘พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ’ (Smart Data Analytics Platform) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลกลางที่รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต อาทิ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อสนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจในการบริหารจัดการเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดภูเก็ต และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ในเบื้องต้น โครงการฯ ได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของแพลตฟอร์มบนระบบคลาวด์ และจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์

“ทิศทางการดำเงินงานของ BDI ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต ยังคงมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะยกระดับขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้กว้างยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับและตอบโจทย์กับการใช้งานในพื้นที่ได้อย่างสูงสุด โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะทำให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบด้านความยั่งยืนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต” รศ. ดร.ธีรณี กล่าวทิ้งท้าย

บีดีไอจับมือภูเก็ตสร้างเมืองอัจฉริยะดันสู่เจ้าภาพการประชุมท่องเที่ยวยั่งยืนโลกเดลินิวส์