【download epson l3110】‘ชวนคิด?’จากหมูเด้ง ‘จิตวิทยาหวง’ น่าห่วง!..ถ้า‘ซินโดรม’ | เดลินิวส์

ทั้งนี้ หมูเด้งนั้นฟีเวอร์ มีคนรัก มีคนหลง หรืออาจมีคนหวง ก็ว่ากันไป อย่างไรก็ตาม หากผลพวงจากความน่ารักของหมูเด้งจะทำให้มีการ“คิดต่อและตระหนัก” เกี่ยวกับการ “หวง” โดยโฟกัสกรณี “คนหวงคน” ก็ย่อมจะเป็นผลดีจากความน่ารักของหมูเด้งอีกรูปแบบ

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ก็ธรรมดา รักใครชอบใครแล้วหวง

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

แต่ถ้า “หวงเกินเหตุอาจไม่ธรรมดา!!”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

เกี่ยวกับเรื่อง “หวง” นี่วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะพลิกแฟ้มสะท้อนต่อข้อมูลที่น่าสนใจชุดหนึ่งอีกครั้ง นั่นคือข้อมูลโดย นิลุบล สุขวณิช นักจิตวิทยาการปรึกษา และนักเขียนของ เว็บไซต์ iSTRONG ที่ได้อธิบาย “ความหวง” ไว้ผ่านบทความในเว็บไซต์ดังกล่าว หลักใหญ่ใจความมีว่า ถ้าหวง“เกินเหตุ เกินไป”อาจจะเข้าข่าย “ภาวะ” ที่เรียกว่า“โอเทลโลซินโดรม (Othello Syndrome)”ที่จะมีความหวงเกินเหตุ แสดงอาการหวงมากเกินไป ซึ่ง ทุกเพศสภาพอาจจะเกิดภาวะนี้ได้!!

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ทางนักจิตวิทยาผู้เขียนบทความท่านดังกล่าวได้อธิบายถึงภาวะที่เรียกว่า Othello Syndrome นี้ไว้ว่า เป็นชื่อที่มีที่มาจากชื่อตัวละครของ William Shakespeare ในเรื่อง Othello, Moor of Venice โดยในเรื่องนั้นตัวละครตัวนี้ได้เกิดความรู้สึกหึงหวงและหวาดระแวงว่าคนรักของตนเองจะเป็นชู้กับชายอื่น จึงได้สังหารคนรักของตนและฆ่าตัวตายตาม ซึ่งทางนักจิตวิทยาได้มีการนำชื่อตัวละครตัวนี้มาใช้เรียก “พฤติกรรมที่มีอารมณ์หึงหวงมาก”อย่างไรก็ตามกับภาวะดังกล่าวนี้ก็ยังมีคำเรียกคำอื่น ๆ ด้วย

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ภาวะ Syndrome แบบนี้ยังถูกเรียกในอีกหลายชื่อ อาทิ Delusional Jealousy, Erotic Jealousy Syndrome, Morbid Jealousy, Othello Psychosis, Sexual Jealousy ซึ่งไม่ว่าจะคำใด โดยรวมแล้วก็หมายถึง การที่บุคคล มีจินตนาการขึ้นมาว่าคนรักของตนกำลังแอบนอกใจ แอบไปมีคนอื่น โดยที่บุคคลนั้น มักเชื่อจินตนาการตนเองอย่างหนักแน่นว่าคือความจริง จนส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรม “หึงหวง” ซึ่งบางรายอาจขยับไปขั้นที่ยิ่งกว่า คือมีพฤติกรรม“หึงโหดกว่าปกติ”หรืออาจถึงขั้น

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

“ลงไม้ลงมือกับคนรัก สังหารคนรัก!!”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

เพราะ “มีความหึงหวงมากล้นเกินไป”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าข่ายมีภาวะSyndrome ดังที่ว่านี้ ในบทความโดย นิลุบล ได้มีการให้ “วิธีสังเกต” ไว้ดังนี้คือ มักจะชอบกล่าวหาคนรัก ว่าไม่ซื่อสัตย์ ว่านอกใจ ยิ่งถ้าเห็นคนที่รักไปทำดีกับคนอื่นก็จะคิดระแวงขึ้นมาทันที, มักจะชอบรุกล้ำความเป็นส่วนตัว หรือชอบสะกดรอยตาม หรือชอบตรวจเช็กโทรศัพท์คนรักดูว่าติดต่อใครบ้าง, แสดงความหึงหวงที่รุนแรงชัดเจน เช่น ไม่ยอมให้คนรักมีเพื่อนต่างเพศเลย, ขาดความสามารถควบคุมตนเองเช่น คิดอะไรก็พูดหรือทำเลย, หมกมุ่นกับการหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าคนรักนอกใจ ซึ่งแม้ไม่เจอหลักฐานก็ยังเชื่อว่าคนรักนอกใจอยู่ดี นี่เป็นอาการโดยสังเขปผู้ที่เข้าข่ายภาวะนี้

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

นักจิตวิทยาการปรึกษา และนักเขียนของเว็บไซต์ iSTRONG ยังระบุไว้อีกว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดภาวะนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐาน “สาเหตุอาการ” ไว้ดังนี้คือ เกิดจากบาดแผลทางใจวัยเด็ก มีวัยเด็กที่ต้องอาศัยอยู่กับผู้เลี้ยงดูที่เป็นคนเอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือเคยเห็นพ่อแม่ถูกนอกใจ, มีความผูกพันทางอารมณ์แบบไม่มั่นคง ส่งผลให้กลายเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเองน้อย, ใช้สารเสพติด จนส่งผลให้การทำงานของสมองผิดปกติ หรือ มีอาการจิตเวชอื่นร่วมด้วย เช่น โรคจิตเภท โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่ง นี่เป็นข้อสันนิษฐานสาเหตุภาวะ-อาการ

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ที่สำคัญคือ ภาวะนี้ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ จำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาวิธีรักษานั้น อาทิ รักษาด้วยยา เพื่อให้อาการหลงผิดหวาดระแวงลดลง และ รักษาด้านจิตสังคม ก็สำคัญในการรักษา เพราะแม้จะอาการดีขึ้นแล้ว แต่ปัญหาด้านสังคมอาจยังคงอยู่ จึงต้องรักษาด้านนี้ควบคู่ เช่น ทำจิตบำบัด ทำกลุ่มบำบัด เป็นต้น ซึ่งการรักษาจะขึ้นกับระดับ “ความรุนแรงของความหวง” ถ้าไม่ได้มีพฤติกรรมรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น ก็อาจไม่ถึงขั้นมีอาการหลงผิด แต่อาจเกิดจากความเครียดหรือความกดดันอื่น ๆ แต่กรณีที่คนใกล้ตัวสัมผัสได้ถึงอาการรุนแรงผิดปกติ ควรให้มีการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

หลักใหญ่ใจความอีกส่วนจากชุดข้อมูลบทความ ทาง นิลุบล สุขวณิช ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า แม้ “โอเทลโลซินโดรม (Othello Syndrome)” จะไม่ได้เป็นโรคที่มีระบุไว้ในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช แต่ อาการ “หวงจนเกิดหวาดระแวงเกินความจริง” มีความ “คล้ายคลึงกับอาการหลงผิด (Delusional)”ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรคจิต (Psychosis) โดยผู้มีอาการมักไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง และมักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดตนเอง ถึงแม้จะมีหลักฐานมาหักล้างหรือโต้แย้งก็ตาม ที่สำคัญ ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยบุคคลที่มีอาการรุนแรงอาจมีการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น!! ซึ่งประเด็นนี้ยิ่ง “น่าห่วง!!”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ทั้งนี้ทั้งนั้น มาถึงบรรทัดนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็ขอเน้นไว้ว่า ใครที่ “มันเขี้ยวหมูเด้ง” รู้สึกเอ็นดู ชอบ รัก หลง แล้วเกิดรู้สึก “หวง” ขึ้นมา ก็มิได้หมายความว่าจะมีภาวะ Syndrome ดังที่ ณ ที่นี้ได้สะท้อนต่อข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญมาข้างต้น อย่างไรก็ดี จากกระแส “ฟีเวอร์หมูเด้ง” นี่หากมีแง่มุมเรื่องใดที่พาให้ “คิดต่อและตระหนักเพื่อป้องกันปัญหา” ก็น่าจะเป็นประโยชน์

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

เรื่องรักแล้ว “หวง” นี่ก็ “น่าตระหนัก”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

เพื่อจะ “ป้องกันเกิดโศกนาฏกรรม”

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ยุคนี้ “หวงจนเกิดเรื่องร้าย ๆ อื้อ!!”.

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

ชวนคิดจากหมูเด้งจิตวิทยาหวงน่าห่วงถ้าซินโดรมเดลินิวส์