【settee bet.asia】Content Lab: Mid-Career พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพ | เดลินิวส์

ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีส์ของไทย กลุ่มบุคลากรวิชาชีพระดับกลางหรือ Mid-Career คือกลุ่มคนในอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีความเชี่ยวชาญในสายอาชีพของตนเองมากพอ แต่ยังต้องการพื้นที่และโอกาสที่จะเติบโตก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพนี้อีกมาก ด้วยประสบการณ์การทำงาน ทักษะเฉพาะทาง และศักยภาพที่สามารถผลักดันและเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่ม Mid-Career จึงมีความมุ่งมั่นในการกำหนดทิศทางอนาคตของตนเอง การสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ และการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมคอนเทนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดันนักสร้างสรรค์ไทยที่มีความรู้ความสามารถด้านคอนเทนต์ ให้ได้มีโอกาสยกระดับทักษะและเติบโตในสายวิชาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการอย่าง “Content Lab: Mid-Career” โครงการพัฒนาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์และซีรีส์สำหรับสายคอนเทนต์กลุ่ม Mid-Career ภายใต้โครงการใหญ่ “Content Lab 2024 สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” ขึ้นในปี 2567 โดย “Content Lab: Mid-Career” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาปีที่ 2 ในปีนี้ มุ่งส่งเสริมบุคลากรวิชาชีพระดับกลางในสายโปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ และนักเขียนบท ให้ได้พัฒนาทักษะและผลงาน ที่รองรับเทรนด์ความต้องการของตลาดและการเติบโตของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับนานาชาติ ปีนี้นอกจาก CEA จะรักษามาตรฐานในการฝึกอบรมทีมที่เข้าร่วมโครงการ “Content Lab: Mid-Career” ให้มีศักยภาพแล้ว ยังสานฝันให้ทีมที่เข้ารอบได้มีโอกาสนำเสนอผลงานกับกลุ่มนักลงทุนด้านภาพยนตร์และซีรีส์โดยตรง ผ่านกิจกรรม Business Matching โดยหากผลงานเข้าตานักลงทุน ก็จะถูกต่อยอดเป็นผลงานที่ได้ผลิตจริงต่อไป

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

โครงการ “Content Lab: Mid-Career” มีทีมผู้ผลิตหนังหรือซีรีส์มืออาชีพที่มีประสบการณ์จริงในการทำงานด้านภาพยนตร์หรือซีรีส์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 18 ทีม โดยมีทีมงานที่เกี่ยวข้องที่ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม นำโดย คุณพิมพกา โตวิระ รับหน้าที่หัวหน้าโครงการ “Content Lab: Mid-Career” คุณอาทิตย์ อัสสรัตน์ เป็นผู้จัดทำหลักสูตร และเมนเทอร์ผู้เชี่ยวชาญในวงการภาพยนตร์และซีรีส์ 6 ท่าน ได้แก่ คุณอมราพร แผ่นดินทอง, คุณฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์, คุณเกรียงไกร วชิรธรรมพร, คุณอดิสรณ์ ตรีสิริเกษม, คุณสรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ และคุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ทีมผู้เข้าร่วมโครงการต่างได้เรียนรู้กระบวนการเขียนบทและแนวทางการพัฒนาโปรเจ็กต์ของตนเอง ผ่านคลาสเรียนเข้มข้นจำนวน 11 คลาส โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และการให้คำปรึกษาจากเมนเทอร์ของโครงการ หลังจากทีมผู้เข้าร่วมโครงการได้ผ่านการอบรมอย่างเข้มข้นจากคลาสเรียนแล้ว จึงได้นำเสนอโปรเจ็กต์ที่ได้บ่มเพาะและพัฒนามาตลอดระยะเวลา 2 เดือน เพื่อชิงทุนสนับสนุนการผลิตตัวอย่างเนื้อหาแบบสั้น (Pilot Video) จำนวน 150,000 บาท โดยโครงการได้มีการคัดเลือกเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อย ซึ่ง 10 ทีมสุดท้ายที่ได้รับคัดเลือก มีโอกาสได้นำเสนอ Pitch Package และ Video Pilot กับนักลงทุนเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ ในกิจกรรม Content Project Market ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 25 ตุลาคมที่ผ่านมาอีกด้วย

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

หนึ่งในผลงานของทีมภาพยนตร์ขนาดยาวอย่างทีม คมศาสตรา ผ่าแผ่นดิน ที่มีสมาชิกในทีมประกอบด้วย อดิสรณ์ อันสงคราม, กฤษดา คะสุวรรณ์ และสุวพันธุ์ วงษ์คำอุด ได้เล่าถึงโอกาสจากการที่ได้ร่วมโครงการว่า “โครงการนี้เปิดโอกาสให้กับทุกคนที่มีไอเดีย มีความฝัน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทีมเรามาจากจังหวัดขอนแก่น ซึ่งการได้เข้าร่วมโครงการนี้ก็เป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ทีมได้มีพื้นที่ในการบอกเล่าและแบ่งปันไอเดียของตัวเองที่ถ่ายทอดในรูปแบบของภาพยนตร์ รวมถึงโอกาสในการได้นำเสนอคอนเทนต์ของตัวเองให้กับแพลตฟอร์มทั้งในและต่างประเทศ เราเชื่อว่าจุดแข็งของคอนเทนต์ไทยมีอยู่แล้วแต่ยังขาดโอกาสและพื้นที่ เพราะฉะนั้นโครงการอย่าง Content Lab: Mid-Career ที่เปิดโอกาสให้เรานี้ เป็นเหมือนการยกระดับไอเดียหรือสตอรี่ของเราให้เติบโตมากขึ้น และผลักดันให้เกิดการรับรู้ทั้งในระดับประเทศไปจนระดับนานาชาติ

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

ทางด้านทีม ไฟต์นี้เพื่อเธอ (Fight For You) ทีมที่เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนและรุ่นพี่สมัยมหาวิทยาลัยอย่าง กมลธร เอกวัฒกิจ, วสุพล สุวรรณจูฑะ และณัฐพงศ์ พิพัฒน์ธนทรัพย์ กล่าวถึงโครงการว่า “สิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้เรื่องหลักเลยคือโอกาส ทีมเราเป็นการรวมตัวของคนที่ทํางานมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่มีโอกาสได้รับคำแนะนำกับเมนเทอร์ จนถึงวันที่ได้นำเสนอผลงานกับนักลงทุนจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ โครงการนี้ทําให้เราทําภาพยนตร์ได้ง่ายขึ้นมากกว่าที่เราจะไปเดินหาโอกาสหรือแพลตฟอร์มด้วยตัวเอง รวมถึงตอนนี้ที่ภาพยนตร์ของเราได้ผ่านการบ่มเพาะในโครงการ ก็อาจจะมีคนรู้จักมากขึ้น มีการการันตีว่าผ่านโครงการ “Content Lab: Mid-Career” มา โอกาสในการที่จะพัฒนาโปรเจ็กต์ก็ดูง่ายขึ้นกว่ายุคสมัยเมื่อประมาณ 5-10 ปีที่ผ่านมา ที่ต่อให้มีบทที่ดีแค่ไหนก็ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริง นอกจากคอนเน็กชันแล้ว อีกมุมหนึ่งคือการที่เราได้เจอคนในวงการหรือเพื่อน ๆ ที่อยู่ในโครงการในระดับ Mid-Career ด้วยกัน ทำให้ได้เห็นวิธีการทำงาน แนวทางการพัฒนาผลงานของทั้งจากมืออาชีพและเพื่อนของเราที่พัฒนาไปด้วยกัน และสามารถนำองค์ความรู้ที่มีเพิ่มขึ้นนี้มาปรับใช้และต่อยอดผลงานได้จริงต่อไปในอนาคต”

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

สำหรับทีมประเภทซีรีส์ คนหนีตาย ผีหนีเกิด อนุสรา กอสัมพันธ์, บุญรักษา สาแสง และพิชชากร จารุเศรษฐการ เล่าถึงบรรยากาศและความประทับใจต่อโครงการว่า “ก่อนอื่นเลยต้องขอบคุณโครงการนี้ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดกับคนในสายอาชีพเดียวกัน ทั้งผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ และคนเขียนบทจากหลายที่ ทั้งจากวิทยากรหรือแม้กระทั่งผู้เข้าร่วมโครงการทีมอื่น ๆ ทุกคนมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และแนวทางในการเล่าเรื่องของตนเอง ทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาโปรเจ็กต์ให้ดีกว่าเดิม อีกทั้งยังทำให้เรามีความมั่นใจในโปรเจ็กต์ของตัวเองมากขึ้น เนื่องจากภาพยนตร์และซีรีส์ถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่ไม่มีถูกผิด ไม่มีกฎเกณฑ์ เชื่อว่าผู้เข้าร่วมโครงการหลาย ๆ คน ไม่มั่นใจว่าโปรเจ็กต์ของตัวเองจะไปได้ไกลแค่ไหน แต่การได้พูดคุยกับผู้คนในสายอาชีพเดียวกัน และได้รับการสนับสนุนจาก CEA ทำให้เริ่มมีกำลังใจในการไปต่อ ช่วยให้มองเห็นทางที่จะไปต่อได้ชัดเจนและไกลขึ้นกว่าเดิม ึรวมถึงวิทยากรที่มาให้ความรู้ในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการ มีความถนัดที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้รับความรู้เฉพาะด้านที่หลากหลาย และมีกำลังใจในการพัฒนาโปรเจ็กต์ นอกจากนี้กิจกรรม Content Project Market ยังเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเรานักทำหนังอิสระที่อาจมีประสบการณ์ในการเข้าถึงเหล่านักลงทุนไม่มากนัก ได้นำเสนอโปรเจ็กต์กับนักลงทุนโดยตรง ซึ่งการเข้าถึงนักลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่ได้เป็นโปรดักชันที่มีทุนหรือชื่อเสียง โครงการนี้จึงเป็นเหมือนใบเบิกทางสำหรับนักทำหนังอิสระ”

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

ทั้งหมดนี้คือมุมมองและแรงบันดาลใจของผู้ร่วมโครงการ “Content Lab: Mid-Career” ภายใต้โครงการ “Content Lab 2024 สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” ในปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการผลักดันและสร้างโอกาสให้แก่บุคลากรวิชาชีพระดับกลางในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรเหล่านี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยให้เติบโต และก้าวสู่ความสำเร็จในระดับสากลได้ต่อไปในอนาคต

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Content Lab 2024 ได้ที่ เฟซบุ๊กเพจ Content Lab รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ของ CEA ได้ที่เว็บไซต์ www.cea.or.th 

พื้นที่สร้างสรรค์ของคนทำหนังและซีรีส์มืออาชีพเดลินิวส์