【บอลสดลิเวอร์พูล】‘คลุกเกล็ดคลุกเกลือ’ ทิ้งอาชีพเท่ ๆ ‘วิศวะปลาเค็ม..อั้ม-นิพนธ์’ แม้จะเริ่มต้นใหม่ ‘ปังได้ด้วยกตัญญู’ | เดลินิวส์
“ตั้งแต่เด็กมีความฝันคือ…อยากทำงานเป็นวิศวกร จนเลือกเรียนทางด้านนี้…แต่ก็มีเหตุการณ์พลิกผันทำให้มาเริ่มต้นอาชีพใหม่กับอาชีพขายปลาเค็ม” เป็น “จุดเริ่มต้น-จุดเปลี่ยน” ชีวิตหนุ่มชัยนาทคนนี้ ที่บอกเล่ากับ “ทีมวิถีชีวิต” ไว้ ซึ่งทำไมเขาคนนี้ทิ้งเงินเดือนวิศวกร? เปลี่ยนมาเป็นพ่อค้าปลาเค็ม? วันนี้เรามีเรื่องราววิถีชีวิตเขาคนนี้มานำเสนอ…
เรื่องราวข้างต้นนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของ “อั้ม-นิพนธ์ อธิลาภ” ปัจจุบันวัย 33 ปี ซึ่งเขาได้เล่าถึงเส้นทางอาชีพ “วิศวกร” จนมาสู่การเป็น “พ่อค้าปลาเค็ม” ว่า ขณะกำลังเรียนอยู่ปี 3 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาโทรคมนาคม คุณพ่อก็เสียชีวิตด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ทำให้คุณแม่ต้องเป็นเสาหลักของครอบครัวคนเดียว ด้วยการทำปลาเค็มขายเพื่อส่งเสียตัวเขา จนเขาเรียนจบปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยรับผิดชอบดูแลการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพฯ กับปริมณฑล ซึ่งเขาอยากให้คุณแม่และน้องสาวมีชีวิตที่สบายขึ้นกว่าในอดีต จึงทุ่มเทให้กับการทำงานนี้มาก ๆ
แต่แล้วก็มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตอีก เมื่อคุณแม่ตรวจพบมะเร็งมดลูก ระยะ 3 ซึ่งตอนที่เขาทราบข่าวนี้ เขาแทบล้มทั้งยืน เพราะรู้สึกเศร้ามากที่สุดในชีวิตอีกครั้ง แต่ก็ต้องฝืนทำงานต่อไป โดยหลังคุณแม่ตรวจพบมะเร็ง อั้มบอกว่า เขาจะคอยทำหน้าที่พาคุณแม่ไปโรงพยาบาลเกือบทุกอาทิตย์ เพราะคุณแม่ต้องเข้ารับการฉายแสง และต้องให้เคมีบำบัดหรือทำคีโม
“ช่วงนั้นผมต้องเดินทางไปกลับ กรุงเทพฯ-ชัยนาท เป็นว่าเล่นทุกอาทิตย์ เพื่อพาคุณแม่ไปหาหมอ และบางครั้งช่วงเสาร์-อาทิตย์ ผมก็จะออกไปช่วยคุณแม่ขายปลาเค็มที่ตลาดนัดด้วย แต่ด้วยความที่ผมจะต้องลางานบ่อย ๆ เพื่อพาคุณแม่ไปโรงพยาบาล ผมก็เลยกลัวที่ทำงานจะมีปัญหา ก็นำเรื่องนี้มาทบทวนอยู่นานหลายเดือน ที่สุดผมก็ตัดสินใจว่าจะลาออกจากงาน เพราะที่บ้านมีแต่ผู้หญิง มีผมเป็นผู้ชายแค่คนเดียว” อั้มเล่าเรื่องนี้
พร้อมกับบอกว่า สาเหตุที่ตัดสินใจทิ้งอาชีพในฝันอย่าง “วิศวกร” นั้น เพราะอยากกลับมาดูแลคุณแม่ อีกทั้งตอนนั้น ภรรยาของอั้มเองก็กำลังตั้งท้องด้วย เขาจึงตัดสินใจลาออกและมาเริ่มต้นเส้นทางการเป็น “พ่อค้าปลาเค็ม” เพื่อจะได้อยู่ดูแลคุณแม่ และสานต่อธุรกิจครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้เขาจะคิดว่านี่คือสิ่งดีที่ควรทำ เพื่อคุณแม่และครอบครัว แต่ก็มีบางคนมาพูดเสียดสีว่า อุตส่าห์เสียเงินเรียนวิศวะ อุตส่าห์เสียเงินเสียทองเรียน แต่สุดท้ายก็ต้องมาขายปลาเค็ม…
“พอได้ยินคำพูดเหล่านั้น ผมก็เก็บทุกคำพูดที่ดูถูกเหล่านั้นไว้เพื่อเตือนตัวเองให้พัฒนา แม้ตอนเริ่มต้นอาจจะยาก เพราะไม่มีประสบการณ์แบบคุณแม่ แต่ผมตั้งใจเอาไว้ตอนที่ลาออกจากงานแล้วว่า จะพัฒนาสินค้าของครอบครัวให้กลายเป็นแบรนด์ที่โด่งดังให้ได้ โดยผมเริ่มจากการฝึกประสบการณ์ ด้วยการออกไปช่วยขายปลาที่ตลาดนัด และฝึกทำปลาแดดเดียวจากคุณแม่ ซึ่งตอนนั้นก็ขายแบบทั่วไป ไม่ได้ขายดีอะไรมาก เพราะคุณแม่จะขายอยู่แค่แถวบ้านเท่านั้น แต่ผมก็คิดว่าน่าจะลองเปลี่ยนใหม่ ลองขยายที่ขายดูบ้างดีกว่า ผมจึงเอาปลาเค็มกับปลาแดดเดียวใส่รถเอาไปขายต่างอำเภอ ปรากฏขายดี ยอดขายเพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ” เขาเล่าเรื่องนี้ด้วยน้ำเสียงภูมิใจ
พอก้าวใหม่นี้สำเร็จ ทำให้อั้มคิดถึงเรื่องการ “สร้างแบรนด์ปลาเค็ม” และต่อมาก็เกิดเป็นแบรนด์ชื่อ “วิศวะปลาเค็ม” ในที่สุด โดยแบรนด์นี้เขาบอกว่าเริ่มเป็นรูปเป็นร่างจริง ๆ ช่วงที่เกิดโควิด-19 ทำให้ตลาดนัดต้องปิดตัวลงทั้งหมด เขาจึงต้องเปลี่ยนมาขายทางออนไลน์แทน โดยเน้นการขายปลีก แต่แรก ๆ ก็ยังขายไม่ดีนัก เพราะเขาไม่รู้วิธีส่ง วิธีแพ็คของ ว่าจะทำยังไงของที่ส่งจึงจะไม่เสีย ทำให้ช่วงแรก ๆ ที่ขายออนไลน์ ถูกลูกค้าคอมเพลนเยอะว่าปลาเน่า ปลาเสีย ปลาไม่ดี ซึ่งเขาก็ต้องน้อมรับและกลับมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งลูกค้าก็ค่อย ๆ ตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ผลตอบรับจากการขายปลีกจะดีขึ้น แต่ผ่านไประยะหนึ่ง ยอดขายก็เริ่มทรงตัว เขาจึงคิดว่าไม่ได้การแล้ว จึงหันมาสนใจเรื่องการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ เพื่อที่จะเจาะตลาดขายส่ง จนเกิดเป็นแบรนด์ปลาเค็มดังกล่าวนี้ขึ้นมา
“พอแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จัก ปรากฏว่าพลิกชีวิตผมเลยก็ว่าได้ ซึ่งไม่เพียงปลาเค็มของเราจะสร้างรายได้ให้ครอบครัวเรา แต่ยังเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับคนอื่น ๆ ได้ด้วย จากการรับเอาปลาเค็มของเราไปขายต่อ โดยปรากฏว่าลูกค้าที่ซื้อปลาเค็มไปขายต่อนั้นมีตั้งแต่แม่บ้าน พนักงานโรงงาน พนักงานออฟฟิศ หรือแม้แต่ข้าราชการ”
อั้มเผยความรู้สึกต่อไปว่า ส่วนตัวรู้สึกดีใจที่ปลาเค็มแดดเดียวของเขาสามารถต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนอื่นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ยอดขายส่งของเขาเองก็มาแรงแซงหน้ายอดขายปลีกไปแล้ว โดยเขาวิเคราะห์ถึงสนามการค้าปลาเค็มที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ว่า ส่วนหนึ่งคิดว่ามาจากโควิด-19 ที่ทำให้คนหันมาสนใจการค้าขายออนไลน์ แต่บางคนไม่สามารถผลิตสินค้าขึ้นเองได้ ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้เลือกรับสินค้าไปขายต่อ ทำให้ปลาเค็มของเขาเลยได้อานิสงส์ไปด้วย
เขายังเล่าอีกว่า หลังจากสินค้าของเขา “ออเดอร์ปัง” ก็ทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเยอะขึ้น แต่ก็ไม่ได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะในใจคิดว่า เอากำไรน้อยหน่อย เน้นขายจำนวนมาก แล้วก็ช่วยให้คนที่ไม่มีทางเลือกชีวิตได้มีทางเลือกด้วยปลาเค็มของเขา เพราะเท่าที่รู้มา ลูกค้าที่รับปลาเค็มไปขายต่อนั้น บางคนก็ตกงาน บางคนก็ถูกเลิกจ้าง ซึ่งการที่เขาช่วยให้คนอื่นมีอาชีพ มีรายได้ ถือเป็นความสุขเล็ก ๆ ที่พ่อค้าตัวเล็ก ๆ อย่างเขาพอจะทำได้
“บางคนขายลอตเตอรี่อยู่ ก็เลิกขาย หันมารับปลาเค็มของเราไปขายแทน ซึ่งถ้าเป็นคนทั่วไป ปกติผมจะคิดค่าส่งสินค้า 200 บาท แต่ถ้าเป็นผู้พิการ ผมลดให้เหลือแค่ 100 บาทเท่านั้น เพราะอยากช่วย ถามว่ารู้ได้ไงว่าเขาพิการ ก็ใช้วิดีโอคอลคุยกัน ทำให้เรารู้ว่าเขาพิการจริง ๆ” อั้มเล่าเรื่องนี้ พร้อมกับบอกว่า หลังจากแบรนด์ปลาเค็ม “วิศวะปลาเค็ม” ของเขาติดตลาด และทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเยอะขึ้น จังหวะนี้นี่เองที่เขาได้ปัดฝุ่นวิชาวิศวะที่ร่ำเรียนมา ด้วยการนำเอามาปรับใช้กับธุรกิจปลาเค็ม ให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด โดยปัจจุบันปลาเค็มแดดเดียวที่ทำขายก็จะมีทั้งปลาสลิด ปลาช่อน ปลานิล ปลาดุก ปลาสวาย ซึ่งจะใช้ปลาสดในการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.5 ตันต่อวัน
“ตอนนี้ผมคิดว่าเรามาไกลมากนะ จากยอดขายวันละไม่กี่พันบาท ตอนนี้บางวันเผลอ ๆ มียอดสูงตกวันละเป็นแสนก็มี และในอนาคตถ้ามีลูกค้าติดต่อให้ส่งออก เราก็ทำให้ได้ ซึ่งที่สินค้าของเราขายดีนั้น นอกจากความอร่อยแล้ว ยังมีจุดเด่นเรื่องการขนส่ง เพราะเราจะเน้นส่งด้วยรถระบบห้องเย็น จึงมั่นใจได้ว่าของถึงมือลูกค้าอย่างมีคุณภาพแน่นอน กับอีกจุดเด่นคือ รับประกันไม่มีกลิ่นเหม็นขณะนำไปขายต่อแน่นอน เพราะออกแบบแพคเกจจิ้งให้ป้องกันกลิ่นรบกวนได้” เขาบอกเรื่องนี้ กับการได้ใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาพัฒนาอาชีพที่เปลี่ยนมาทำเพื่อที่จะได้ดูแลคุณแม่
ในฐานะเป็น “คนรุ่นใหม่สู้ชีวิต” นั้น “อั้ม-นิพนธ์” อดีตหนุ่มวิศวกรที่ปัจจุบันกลายมาเป็นพ่อค้าปลาเค็ม ก็ได้ฝากให้กำลังใจคนอื่นผ่าน “ทีมวิถีชีวิต” ฝากถึงคนที่อาจจะกำลังเผชิญปัญหาชีวิตว่า ต้องสะกดจิตตัวเองด้วยคำว่า “อย่าท้อ” และให้เดินหน้าสู้ต่อ ถึงแม้สู้แล้วอาจจะยังไม่ชนะ ก็ขอให้ค่อย ๆ สู้ต่อไป โดยพยายามนึกถึงครอบครัวให้มากที่สุด และอีกสิ่งที่ตัวเขาเชื่อว่า “ช่วยได้ราวปาฏิหาริย์” เหมือนเช่นที่เขาเองมีประสบการณ์หลังลาออกจากอาชีพในฝันมาดูแลคุณแม่ นั่นก็คือ…“คีย์เวิร์ด” ที่ชื่อ “ความกตัญญู”.
คลุกเกล็ดคลุกเกลือทิ้งอาชีพเท่ๆวิศวะปลาเค็มอั้มนิพนธ์แม้จะเริ่มต้นใหม่ปังได้ด้วยกตัญญูเดลินิวส์‘ผู้ให้กำเนิดธุรกิจ’ ยัง ‘คิดถึงเสมอ’
“อั้ม-นิพนธ์ อธิลาภ” เล่าไว้ด้วยว่า แรกเริ่มเดิมที ครอบครัวเขาขายผลไม้ตามฤดูกาลอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พอเขาเริ่มโตเป็นวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มเป็นห่วง เพราะเขาเป็นลูกชายคนเดียว คุณพ่อคุณแม่จึงตัดสินใจย้ายกลับมาทำนาที่บ้านเกิด จ.ชัยนาท ซึ่งพอมีเวลาว่างจากการทำนา คุณพ่อก็จะไปหาปลาตามหนองน้ำธรรมชาติเพื่อเอามาทำกับข้าวกินกันในครอบครัว ซึ่งบางครั้งก็ได้ปลามาเยอะจนกินไม่หมด คุณแม่ก็เลยนำปลามาใส่เกลือตากแดดไปขายตลาดนัด ทำให้มีรายได้อีกทาง ที่ถือเป็น “จุดเริ่มต้นธุรกิจปลาเค็มแดดเดียว” ของครอบครัว โดยเขาบอกว่า จากนั้นคุณพ่อก็เลยมีอาชีพหาปลามาให้คุณแม่ทำปลาเค็มแดดเดียวขายเรื่อยมา จนคุณพ่อเสียชีวิต ก็เลยไม่มีคนหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ต้องไปรับปลาจากชาวบ้านและคนเลี้ยงปลาเอามาทำขาย โดย… “ทุกครั้งที่เห็นปลา ก็จะต้องนึกถึง คิดถึงคุณพ่อทุกครั้ง ซึ่งถือว่าคุณพ่อเป็นผู้ให้กำเนิดธุรกิจปลาเค็มของครอบครัวก็ว่าได้”.
คลุกเกล็ดคลุกเกลือทิ้งอาชีพเท่ๆวิศวะปลาเค็มอั้มนิพนธ์แม้จะเริ่มต้นใหม่ปังได้ด้วยกตัญญูเดลินิวส์เชาวลี ชุมขำ : รายงาน
คลุกเกล็ดคลุกเกลือทิ้งอาชีพเท่ๆวิศวะปลาเค็มอั้มนิพนธ์แม้จะเริ่มต้นใหม่ปังได้ด้วยกตัญญูเดลินิวส์Tagged