【สร้างบ้าน coin master】มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว “MAHIDOL AQHI” มุ่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน | เดลินิวส์
ทั้งนี้ “MAHIDOL AQHI” ได้แนะนำรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติตนของประชาชนกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ระดับความเสี่ยง ประกอบด้วย ความเสี่ยงแรก คือ ความเสี่ยงระดับต่ำ 1-3 เป็นสีเขียว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สามารถทำกิจกรรมภายนอกอาคาร หรือ วิ่งออกกำลังกายได้ปกติ ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจจะเพิ่มเฝ้าติดตามสถานการณ์เป็นระยะ ๆ ถ้าเป็นความเสี่ยงระดับปานกลาง 4 – 6 กลุ่มเสี่ยงอาจจะต้องพิจารณา ถ้าหากมีความจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมภายนอกอาคาร ให้พิจารณาปรับรูปแบบกิจกรรม หรือหากปรับเปลี่ยนได้ก็ควรหลีกเลี่ยง หากมีความจำเป็นต้องออกไป ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง อาทิ หน้ากากป้องกัน PM2.5 และลดระยะเวลาการออกไปสัมผัส หรือหากพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงระดับสูงมาก เกินกว่า 10 ขึ้นไป ทั้งประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มทั่วไป ควรจะอยู่ในพื้นที่หรือห้องที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศ ในส่วนของสถานพยาบาล ควรมีการเพิ่มการแจ้งเตือนสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีนัดที่มีอาการคงที่ ไม่มีอาการรุนแรง หากเดินทางไปในพื้นที่วิกฤตมลพิษอากาศเพื่อพบแพทย์ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ควรมีระบบการส่งยาทางไปรษณีย์ให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในส่วนของสถานศึกษาในพื้นที่ที่มีค่า AQHI อยู่ในระดับสูงมาก อาจพิจารณางดเว้นการเรียนการสอนหรือกิจกรรมภายนอกอาคาร ควรจัดให้มีห้องควบคุมคุณภาพอากาศให้สำหรับกลุ่มเสี่ยง หรือปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมดหรือแบบผสมระหว่างการเรียนออนไลน์กับการเรียนในห้องเรียน อย่างไรก็ตามถือได้ว่าคนทุกกลุ่มวัยมีความเสี่ยงต่อการรับสารมลพิษทางอากาศ แม้กระทั่งคนที่มีร่างกายแข็งแรง เมื่อรับสารมลพิษมากขึ้น สารพิษเหล่านั้นส่วนหนึ่งจะเข้าไปสะสมในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิต เช่น มะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้น การรับรู้สถานการณ์โดยใช้เครื่องมือที่สามารถประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากมลพิษทางอากาศได้ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันตนเองของประชาชนทุกคน
มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัวMAHIDOLAQHIมุ่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเดลินิวส์