【ราชาสล็อต】ดึงพลังเกษตรกร แก้วิกฤตินมดิบขาดแคลน ความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืน | เดลินิวส์

ปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์นมเพิ่มสูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการรณรงค์ให้ดื่มนมของภาครัฐและภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคนมมากขึ้นอีกด้วย

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

ขณะเดียวกันอุปทานนมกลับลดลง สาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตนมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวนหนึ่งจึงตัดสินใจเลิกกิจการไป ทำให้ปริมาณนํ้านมดิบที่ผลิตได้ลดลง ทั้งยังมีเรื่องของปัญหาโรคระบาดในโคนมที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตนม ตลอดจนปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการผลิต นอกจากนี้ อุตสาหกรรมโคนม ยังเป็นหนึ่งในภาคส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่าง “มีเทน” ที่มีศักยภาพในการกักเก็บความร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 26 เท่าอีกด้วย

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาขายนมในตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้บริโภคบางส่วนอาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หรือหันไปบริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการแปรรูปนมก็ต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและปริมาณวัตถุดิบที่จำกัด อาจส่งผลกระทบต่อกำไรและความสามารถในการแข่งขัน

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

ล่าสุด “เนสท์เล่” ได้ร่วมมือกับเกษตรกรไทยในการนำหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟูมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มโคนม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตนํ้านมดิบที่มีคุณภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตนมและส่งเสริมการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

“สลิลลา สีหพันธุ์” ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) เล่าว่า เนสท์เล่ ให้ความสำคัญการจัดหานํ้านมดิบที่มีคุณภาพสูงและยั่งยืน เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด โดยเนสท์เล่ได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ปัจจุบัน นํ้านมดิบที่เนสท์เล่ใช้ทั้งหมดได้ผ่านมาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน 100% แล้ว เป็นการส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิต

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

“สลิลลา” ระบุต่อว่า เนสท์เล่ซึ่งมีความร่วมมือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยมายาวนานกว่า 40 ปี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนมในประเทศไทย จึงได้ริเริ่มโครงการนำร่องฟาร์มโคนมต้นแบบที่มุ่งเน้น “หลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู” ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตที่มุ่งเน้นการปกป้อง ทดแทน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ การนำมูลวัวมาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน นอกจากนี้ การปลูกพืชหมุนเวียนและการจัดการระบบนิเวศในฟาร์มยังส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย เพื่อให้ฟาร์มโคนมมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น เนสท์เล่ยังส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดต้นทุนการผลิต

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

ด้าน “ศิรวัจน์ ปิณฑะดิษ” นักวิชาการเกษตรจากบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) ที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร กล่าวว่า เนสท์เล่เป็นผู้นำในการนำแนวคิดเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูมาประยุกต์ใช้ในฟาร์มโคนมของประเทศไทยเป็นรายแรก ซึ่งจากการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหญ้าหลายชนิดผสมกับพืชตระกูลถั่วในแปลงเดียวกัน ทำให้ได้หญ้าอาหารที่มีคุณภาพสูงและอุดมไปด้วยโปรตีน ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพของนํ้านมดิบเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตนํ้านมดิบได้เฉลี่ย 13.5 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 11.7 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน อีกทั้งระดับโปรตีนในนํ้านมดิบยังเพิ่มขึ้นเป็น 3.02% จากเดิม 2.94% บ่งชี้ถึงสุขภาพที่ดีของแม่โคและคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้นของนํ้านม นอกจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจแล้ว การปลูกพืชหลายชนิดยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในแปลง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในฟาร์มอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

ขณะที่ “วรวัฒน์ เวียงแก้ว” ตัวแทนเกษตรกรโคนม อ.พิมาย จ.นครราชสีมา กล่าวถึงความท้าทายที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต้องเผชิญ รวมถึงปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวย อาทิ ปัญหาระบบไฟฟ้าที่เข้าไม่ถึงในพื้นที่ การลดลงของผลผลิตนํ้านม และการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนอาหารสัตว์ข้น ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและทำให้จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมลดลงอย่างต่อเนื่อง

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

“ผมเริ่มทำฟาร์มโคนมในปี 2561 และได้ร่วมงานกับเนสท์เล่ ในช่วงปี 2564 จากการเป็นสมาชิกเกษตรกรโคนมพิมาย ทางเนสท์เล่ได้ลงพื้นที่มาพูดคุยถึงปัญหาในการทำฟาร์ม ช่วยหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต รวมทั้งแนะนำหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟูเข้ามาประยุกต์ใช้ จึงได้เริ่มเป็นฟาร์มโคนมนำร่อง มีการทำแปลงหญ้ารูซี่ หญ้าไนล์ และปลูกพืชถั่วร่วมด้วย ทำบ่อไบโอแก๊ส ตากมูลวัว ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพราะไฟฟ้าเข้ามาไม่ถึง ตอนนี้จึงเป็นฟาร์มที่ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 100% และสามารถสูบนํ้าบาดาลมาใช้กับแปลงหญ้าได้ตลอดปี รวมทั้งนำมูลโคตากแห้งไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย” วรวัฒน์ กล่าว

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์

จากการเดินหน้าส่งเสริมการเกษตรเชิงฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการทำการเกษตรที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน 3 สหกรณ์ จำนวนกว่า 160 ฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่นำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในฟาร์มของตนเองแล้วมากกว่า 40 ราย ส่งผลให้สามารถผลิตนํ้านมดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ของกรมปศุสัตว์ และจำหน่ายให้กับเนสท์เล่ผ่านสหกรณ์ในราคาที่เป็นธรรม โดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้.

ดึงพลังเกษตรกรแก้วิกฤตินมดิบขาดแคลนความท้าทายใหญ่แก้ให้ยั่งยืนเดลินิวส์