【ufa569 ทางเข้า】ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำ ส่องไฮไลต์ ‘ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์’ | เดลินิวส์
ในแต่ละปีจะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าติดตาม โดยในปี 2568 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดโผคัดสรร 10 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เด่น ทั้งนี้นำไฮไลต์ของปรากฏการณ์ที่น่าติดตาม พาสัมผัสความงดงามท้องฟ้ามืดยามคํ่า โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้รายละเอียดว่า ปีนี้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์น่าติดตามนับแต่ต้นปี ดังเช่น ปรากฏการณ์ฝนดาวตก จากปีที่ผ่านมาปรากฏการณ์ฝนดาวตกที่เป็นไฮไลต์มีแสงจันทร์รบกวนตลอด แต่ในปีนี้แสงจันทร์ไม่เป็นอุปสรรค ปีที่ผ่านมาจึงไม่ใช่ปีของการดูฝนดาวตก แต่เป็นปีของดวงจันทร์ เป็นโอกาสศึกษา สังเกตการณ์หลากเรื่องราวความรู้จากดวงจันทร์
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์หนึ่งในไฮไลต์ของปรากฏการณ์น่าติดตามของปีนี้จึงเป็น “ฝนดาวตก” โดยที่เป็นไฮไลต์เด่นคือ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” ในช่วงเดือนธันวาคมของคืน วันที่ 14-15 โดยปีนี้ ฝนดาวตกเจมินิดส์ มีอัตราการตกจากการคาดการณ์ประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง ถือว่ามีอัตราการตกค่อนข้างสูง อีกทั้งในปีนี้ไม่มีอุปสรรคในเรื่องแสงจันทร์รบกวน และอยู่ในช่วงฤดูหนาว สภาพท้องฟ้าใสกระจ่าง ไร้เมฆฝนจึงเป็นจังหวะดีต่อการออกมาสังเกตการณ์
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์ขณะที่เดือนพฤศจิกายน “ฝนดาวตกลีโอนิดส์” ก็เหมาะต่อการเฝ้ารอชมและแม้จะมีอัตราการตกน้อย 15 ดวงต่อชั่วโมง แต่ก็เป็นช่วงจังหวะดีที่ไม่มีแสงจันทร์มารบกวน ขณะเดียวกันยังมีฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เกิดจากโลกโคจรเข้าตัดผ่านสายธารเศษหินและฝุ่นในอวกาศที่ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางทิ้งไว้อีกหลายครั้งเช่น ฝนดาวตกไลริดส์ ในเดือนเมษายน ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เป็นต้น
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์คุณศุภฤกษ์ให้มุมมองเพิ่มอีกว่า “ดาวอังคารใกล้โลก” และ “ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์” ในคืนวันที่ 12 มกราคม นี้ ก็เป็นอีกไฮไลต์ของปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตามในปีนี้ โดยดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด จากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ในวันที่ 16 มกราคม ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตการณ์ ดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ปรากฏสว่างเป็นสีส้มแดงบนฟ้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นนํ้าแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคาร
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์“ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุกสองปี สองเดือนหรือประมาณ 26 เดือนที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้โลก เป็นโอกาสของการศึกษาสังเกตการณ์ ทั้งนี้จะเห็นว่ามีหลายโครงการที่สำรวจดาวอังคารศึกษาถึงความเป็นไปได้หากมนุษย์จะย้ายถิ่นฐานโดยดาวอังคารนั้นเป็นเป้าหมายหนึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าวที่ดาวอังคารใกล้โลก จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ทั้งเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจหรือชื่นชอบการดูดาวจะได้ชมความสวยงามของดวงดาวได้ด้วยตาเปล่า หรือถ้าใช้กล้องโทรทรรศน์
ขนาดเล็กทั่วไปก็สามารถส่องเห็นรายละเอียดต่าง ๆ บนพื้นผิวได้ชัดเจนมากขึ้น และจากที่กล่าว กล้องโทรทรรศน์กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นนํ้าแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคาร รวมถึงรายละเอียดของภูเขาไฟโอลิมปัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยช่วงวันที่ 12-16 นี้ จะเป็นช่วงที่ดีที่จะสังเกตเห็นรายละเอียดของดาวอังคารใกล้โลกได้ดีที่สุด อีกทั้งในช่วงต้นปี ช่วงเวลานี้ ยังเหมาะต่อการสังเกตได้ดูดาวเคราะห์พร้อมกันถึง 4 ดวง ทั้งดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัส และดาวอังคาร”
ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ คุณศุภฤกษ์ อธิบายเพิ่มอีกว่า ดาวอังคารในช่วงที่เข้าใกล้โลกจะสังเกตได้นับแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป ทางทิศตะวันออก ในช่วงหัวคํ่า อย่างในช่วงเวลานี้ ถ้าสังเกตจะเห็นดาวอังคารสุกสว่าง มองเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 23-24 มีนาคม จะเป็นช่วงที่วงแหวนดาวเสาร์มีมุมเอียงน้อยที่สุด ผู้สังเกตบนโลกจึงมองเห็น ดาวเสาร์เสมือน “ไร้วงแหวน” เป็นอีกไฮไลต์น่าติดตาม ทั้งนี้ มุมเอียงของวงแหวนดาวเสาร์จะเปลี่ยนแปลงไปตามการโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์ หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 29.4 ปี ส่งผลให้ดาวเสาร์จะปรากฏเสมือน “ไร้วงแหวน” เมื่อมองจากโลกในทุกๆ 15 ปี ซึ่งปีนี้ก็เป็นปีครบรอบ
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์แต่อย่างไรแล้วช่วงเวลาดังกล่าว ดาวเสาร์จะปรากฏใกล้กับดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งยากต่อการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก แต่ปรากฏการณ์นี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมุมเอียงและโครงสร้างของวงแหวนดาวเสาร์ในระนาบต่าง ๆ โดยระนาบการเอียงที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ทำให้วงแหวนดาวเสาร์ปรากฏแตกต่างไปตามมุมมองที่มองจากโลก
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์จันทรุปราคาเต็มดวง (Cr. NARIT)“จันทรุปราคาเต็มดวง” ดวงจันทร์จะกลายเป็นสีแดงอิฐทั้งดวง ในคืนวันที่ 7 กันยายน ถึงวันที่ 8 กันยายน นับแต่เวลาประมาณสี่ทุ่มครึ่งจนถึงตีสามเกือบตีสี่ ตามเวลาประเทศไทย เป็นอีกไฮไลต์น่าติดตาม โดยจะสังเกตดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าตลอดปรากฏการณ์ ซึ่งช่วงที่เกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงอิฐระยะเวลานานถึง 1 ชั่วโมง 22 นาที
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์ขณะเดียวกัน ดาวเคียงเดือน ก็มีให้ติดตามชมได้ค่อนข้างบ่อย เป็นปรากฏการณ์ทั่วไป และในปรากฏการณ์นี้จะมีดาวดวงอื่น ๆ ที่เข้ามาใกล้กับดวงจันทร์ เมื่อเกิดขึ้นครั้งใดก็ชวนค้นหาคำตอบว่าดาวสว่าง สวยงาม ที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์เหล่านั้นคือดาวอะไร สร้างการเรียนรู้ การสังเกตและส่งต่อถึงความสำคัญ การอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้า เพิ่มพื้นที่ขยายจำนวน เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์“ปัจจุบันกิจกรรมการท่องเที่ยวยามคํ่าคืน การดูดาว ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมีความสำคัญต่อการสังเกตวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งยังส่งผลต่อธรรมชาติ ทั้งการอนุรักษ์พลังงาน การใช้แสงไฟอย่างปลอดภัย อย่างถูกต้อง ไม่สร้างมลพิษทางแสงมากขึ้น ฯลฯ โครงการดาร์ค สกาย สดร. เรารณรงค์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งขับเคลื่อนร่วมกับหลายหน่วยงานซึ่งปัจจุบันได้ขยายขอบเขตโครงการไปในหลายพื้นที่”
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นโอกาสของการสังเกตดวงอาทิตย์ โดยปีนี้เป็นปีที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ Solar Maximum เป็นช่วงที่มี sunspot บนพื้นผิวมาก โดยหากมีกล้องที่มีฟิลเตอร์กรองแสงจะสังเกตเห็นจุดมืดบนดวงอาทิตย์ได้ค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งยังมีปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปีดวงจันทร์เต็มดวงใกล้-ไกลโลกที่สุดในรอบปี โดยทั้ง 10 ปรากฏการณ์ เตรียมปักหมุดรอชมโดยอัปเดตติดตามได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์ปีที่มีความหลากหลายทางด้านปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในพื้นที่ประเทศไทย ทั้งเป็นโอกาสดีนับแต่ช่วงต้นปีที่จะได้สังเกตการณ์ สัมผัสความสวยงามของท้องฟ้ายามคํ่าคืน
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์พงษ์พรรณ บุญเลิศ
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์ภาพโดย : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ชมความงามความมืดท้องฟ้ายามค่ำส่องไฮไลต์ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เดลินิวส์