【โปรแกรม กีฬา ถ่ายทอด สด】‘จับตา’มิใช่แค่ตากใบ ‘ปัญหาไฟใต้’ ไฉนจึงไม่ดับ? (2) | เดลินิวส์

ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวนี้เกิดจากการ“นำงานวิจัยมาใช้เป็นฐานในการจัดทำแนวทางการแก้ปัญหา”โดยมีการ“เสนอปรับแก้ 5 ปัจจัย”ที่คาบเกี่ยวกัน ที่ยึดโยงกับ “ปัญหาไฟใต้” ซึ่ง 5 ปัจจัยนั้นได้แก่ 1.รูปแบบการปกครอง 2.วัฒนธรรม 3.กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน 4.เศรษฐกิจ และการพัฒนา 5.การศึกษาโดยตอนที่แล้วได้นำเสนอปัจจัยแรกไปแล้ว ส่วนตอนนี้ก็มาดูกันต่ออีก 4 ปัจจัย

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ข้อเสนอเชิงนโยบายจากฐานงานวิจัย

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

กับอีก 4 ปัจจัยนี่ก็นับว่าน่าพิจารณา

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

เกี่ยวกับเรื่องนี้กรณีนี้ ก็เป็นข้อมูลที่สะท้อนผ่าน “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” มาโดย ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ นักวิชาการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสำหรับข้อเสนอกับอีก 4 ปัจจัย โดยสังเขปนั้นมีดังนี้

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“วัฒนธรรม” ปัจจัยหรือหัวข้อนี้ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ ได้สะท้อนมาว่า “ไฟใต้” เหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาทางการเมืองที่มีมูลเหตุทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นชาติพันธุ์และศาสนา เนื่องจากคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูนับถือศาสนาอิสลาม จึงมีความรู้สึกถูกกลืนกลายหรือกดทับมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นแทบไม่มีความเกี่ยวข้องกับกระแสอิสลามสุดขั้วสากล แต่กลับถูกชวนให้เข้าใจไขว้เขวว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระแสดังกล่าว

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

การแก้ปัญหาทางวัฒนธรรม ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐก็ได้ดำเนินกิจกรรม ส่งเสริมพหุวัฒนธรรม อย่างกว้างขวาง แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่า เป็นการส่งเสริมที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดนี้ อีกทั้งยังดำเนินกิจกรรมในลักษณะบังคับให้ผสมกลมกลืนตามวัฒนธรรมกระแสหลัก มากกว่าที่จะเป็นการประสานความร่วมมือบนฐานของการเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คนในพื้นที่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ จนทำให้ การส่งเสริมที่เกิดขึ้นของรัฐนั้นกลับก่อให้เกิดช่องว่างทางวัฒนธรรม กลายเป็นเงื่อนไขใหม่ ที่ทำให้คนต่างชาติพันธุ์และศาสนาในพื้นที่มีระยะห่างออกจากกันมากขึ้น กว่าเดิม

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“ข้อเสนอในเรื่องนี้ก็คือ ควรออกแบบกิจกรรมส่งเสริมพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์มากกว่าที่จะเน้นไปที่การทำให้ผสมกลมกลืน อาศัยความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นฐานในการสร้างวัฒนธรรมร่วมที่เปิดกว้าง ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดเงื่อนไขใหม่ให้กับการเคลื่อนไหวและการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่” ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ถัดมา “กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน” ทางนักวิชาการท่านเดิมระบุว่า นอกจากปัญหาที่เกิดจากรูปแบบการปกครองและวัฒนธรรม เหตุความไม่สงบ “ไฟใต้” ที่ผ่านมาถูกหล่อเลี้ยงด้วยปัญหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้วย โดยงานวิจัยพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายค่อนข้างมาก เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ไม่ค่อยทราบรายละเอียดของกฎหมาย ทำให้ไม่ค่อยได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย จนถึงการทำให้ถูกละเมิดสิทธิด้วย

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเสนอให้มีการแก้กฎหมายพิเศษเหล่านี้ โดยอาศัยประสบการณ์จากพื้นที่อื่น เช่น อาเจะห์ และมินดาเนา เป็นแนวทาง เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองบนหลักนิติธรรม และสิทธิเสรีภาพ”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ขณะที่หัวข้อหรือปัจจัยด้าน “เศรษฐกิจ และการพัฒนา” นั้น ด้านนี้ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจและการพัฒนาในหลายลักษณะ ซึ่งมุมมองดังกล่าวนำสู่การดำเนินโครงการพัฒนาจำนวนมากในพื้นที่ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และการเกษตร พร้อมกับความหวังว่าจะลดปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงได้ อย่างไรก็ตาม แต่สภาวการณ์กลับมิได้เป็นดังที่คิด โดยสาเหตุอาจเกิดจากการพัฒนาและใช้รูปแบบทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ จึงไม่เกิดการกระตุ้นอย่างที่ควรจะเป็น

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“ข้อเสนองานวิจัยเพื่อแก้ปัญหานี้ก็คือ 1.พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานวัฒนธรรม โดยเฉพาะความเป็นชาติพันธุ์ และศาสนา 2.เร่งส่งเสริมนักธุรกิจมุสลิมท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมาภาคธุรกิจที่รัฐส่งเสริมมักเป็นการลงทุนโดยคนภายนอก 3.รวมชายแดนภาคใต้เข้ากับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศด้วย” นี่เป็นข้อเสนอทางด้านนี้

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

สุดท้าย เสนอแก้ปัญหาที่เกิดจากปัจจัย “การศึกษา” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ความไม่สงบ “ไฟใต้” ซึ่งงานวิจัยพบว่า สาเหตุที่เด็กมลายูมุสลิมไม่เข้าโรงเรียนสายสามัญ ไม่ได้มาจากขาดความมั่นใจการใช้ภาษาไทย แต่มาจากการที่ผู้ปกครองเคร่งครัดศรัทธาศาสนาอิสลามมาก จึงต้องการให้บุตรศึกษาศาสนาควบคู่ไปด้วย

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

เพื่อที่จะ “ลดการเกิดเงื่อนไข” จากประเด็นการศึกษา ทาง ศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ ระบุถึงข้อเสนอว่า ควรมีการจัดหลักสูตรใหม่ในรูปแบบพหุวัฒนธรรมที่เน้นสร้างความรู้สึกเชิงบวก ทั้งในส่วนไทยพุทธ มลายูมุสลิม รวมถึงชาติพันธุ์กับศาสนาอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์โดยไม่ถูกผูกขาดด้วยมุมมองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมุมมองประวัติศาสตร์ที่ต่างกันเป็นอีกสาเหตุของความขัดแย้งและเหตุความไม่สงบ ทั้งนี้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นแง่มุมโดยสังเขปจาก “ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ใช้งานวิจัยเป็นฐานในการจัดทำ” ที่มีเป้าหมายสำคัญคือ

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

“ร่วมหาทางออก” กรณี “ปัญหาไฟใต้”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ที่ระลอกหลัง “2 ทศวรรษก็ยังไม่ดับ”

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ซ้ำ “มีกรณีที่อาจทำให้ยิ่งลุกโชน??”.

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

จับตามิใช่แค่ตากใบปัญหาไฟใต้ไฉนจึงไม่ดับเดลินิวส์