【ibc bet】'ดอยคำ' พาเปิดโรงงานหลวงฯ สินค้ารักษ์โลก-ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร | เดลินิวส์

กว่า 30 ปี ที่บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้ดำเนินกิจการในรูปแบบ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ผ่านการน้อมนำ “หลักการทรงงาน” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปรับใช้เป็นแนวทางการทำงาน จนกลายเป็น “ศาสตร์พระราชาในตำราดอยคำ” ที่เป็นต้นแบบในด้านธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งสร้างอาชีพที่มั่นคงแก่พนักงาน นำกำไรที่ได้กลับมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เกษตร เกิดการสร้างรายได้แก่คนในชุมชนโดยรอบโรงงานหลวงฯ และเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการรายเล็ก

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

ย้อนกลับไป เมื่อปี พ.ศ. 2512 หากคนเมืองต้องการรับประทานผักผลไม้จากยอดดอย คงจะเป็นอะไรที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสมัยนั้น เทคโนโลยีการถนอมอาหารยังมีไม่มากนัก ยิ่งเป็นเรื่องการขนส่งยิ่งลำบากเลย การจะขนส่งผลผลิตทางการเกษตรที่เปราะบาง เสียหายง่ายจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการที่ตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตที่ตีนดอยจึงเป็นอีกแนวคิดที่แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรชาวเขา และสามารถช่วยยืดอายุผัก ผลไม้ให้สามารถขนส่งนำไปจำหน่ายยังพื้นที่ห่างไกลจากต้นทางได้ง่ายขึ้น ลดความเสียหาย และความบอบช้ำของผลผลิตระหว่างทางที่ขนส่ง 

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

นับแต่วันที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริ และพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มูลนิธิโครงการหลวงก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ บัดนั้นแบรนด์ธุรกิจเพื่อสังคม ภายใต้ชื่อทางการค้า “ดอยคำ” จึงถือกำเนิดขึ้น ณ หมู่บ้านบ้านยาง อำเภอฝาง เพื่อนำผลผลิตทางการเกษตรที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมและรับซื้อเข้ามาแปรรูปบรรจุกระป๋อง และจำหน่ายในนามเอกชน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวเกษตรกรที่สามารถขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมแล้ว ยังถือเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนที่เข้ามาเป็นพนักงานในโรงงานหลวงฯ อีกด้วย นอกจากกนี้ โรงงานหลวงฯ ยังนำความเจริญและความสะดวกเข้ามายังในพื้นที่ อาทิ สถานีอนามัยพระราชทาน ซึ่งต่อมาคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง (รพ.สต.บ้านยาง) ที่สนับสนุนเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนต่างๆ ศาลเจ้าแม่กวนอิมพระราชทาน สำหรับเป็นที่พึ่งทางใจของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และยังเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทย – จีนยูนนาน แก่เยาวชนในพื้นที่ รวมไปถึง

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

โรงไฟฟ้าพระราชทาน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก แห่งแรกของประเทศไทย ในความดูแลของ กฟภ. และเป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่งในเวลาต่อมา ที่เป็นแห่งกำเนินไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าแก่โรงงานหลวงฯ และชุมชนในพื้นที่

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนา เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนจะนึกถึง ดอยคำจึงนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ และอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค หนึ่งในนั้นคือ “โรงปฏิบัติการวิจัยทางพืช” ที่ตั้งอยู่ ณ โรงเก็บผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และโรงปฏิบัติการวิจัยทางพืช โรงงานหลวงฯ ที่ 1 (ฝาง) โดยใช้ทุนก่อสร้างกว่า 30 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับศึกษา วิจัย และพัฒนาสายพันธุ์พืชทางการค้าให้แข็งแรง สามารถต้านทานโรคพืช และแมลงศัตรูพืชได้ รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ เพื่อให้เกษตรกรในโครงการมีต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพใช้งานเหมาะสมกับพื้นที่การเพาะปลูก ช่วยเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาฅนดอยคำ เกษตรกร ให้มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญจากงานวิจัยต่างๆ ถือเป็นการพัฒนาคน และผลผลิต ไปในคราเดียวกัน

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

นอกจากนี้ “ดอยคำ” ยังให้ความสำคัญกับเรื่องชุมชนรอบพื้นที่โรงงานหลวงฯ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ ที่มีหน้าที่จัดกิจกรรมที่ก่อประโยชน์แก่ชุมชนต่างๆ อาทิ งานวัฒนธรรมท้องถิ่น งานศาสนา วันสำคัญประจำถิ่น กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระวังภัยอย่าง “ฝายดอยคำ” ที่จะถูกสร้างขึ้นจากความร่วมแรง ร่วมใจของฅนดอยคำ (โรงงานหลวงฯ) คนในชุมชน หน่วยงานรัฐในพื้นที่ ที่สร้างขึ้นในบริเวณทางน้ำไหล เพื่อชะลอแรงน้ำฤดูน้ำแหลก ป้องกันการชะล้างของดิน ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน รวมถึงเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าชุมชน เป็นการแก้ไขปัญหาไฟป่าจากต้นทางอีกสาเหตุหนึ่ง 

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

อนึ่ง “ดอยคำโมเดล” นับเป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบความยั่งยืนของบริษัทฯ ผ่านการสาธิตและทดลองปฏิบัติ การดำเนินธุรกิจภายใต้รูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม ที่ใช้แนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ การลดของเสียอาหาร (food waste) อย่างการรับซื้อผลเสาวรสสำหรับเป็นวัตถุดิบ จากเดิมทีที่โรงงานหลวงฯ ที่ 2 (แม่จัน) จ.เชียงราย จะรับซื้อผลเสาวรสทั้งเปลือกเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งจะสูญเสียทั้งกำลังคนในการคัดแยกคุณภาพ ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของทรายในกระบวนการ และการเสียเนื้อเสาวรสบริเวณเปลือกจากการใช้เครื่องจักร จากปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มคัดแยกของเกษตรกรเสาวรส ที่รวมตัวกันเพื่อแยกเนื้อเสาวรสกับเปลือกออกจากกัน ด้วยการใช้ช้อนขูดผลต่อผล ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อเสาวรส 100% และสามารถคัดแยกผลเสียที่มีทรายป่นเปื้อนออกได้ แก้ปัญหาความเสียหายได้ตรงจุด และที่สำคัญเป็นการลดการขนขยะ (เปลือก) เข้าสู่โรงงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์จากการขนส่ง

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เรา “ฅนดอยคำ” ตั้งใจตอบแทนสังคมไทย ให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงการพัฒนาขั้นพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น คนไทยได้บริโภคผลิตภัณฑ์คุณภาพสากลในราคาที่จับต้องได้ ดั่งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระผู้ทรงพระราชทานกำเนิด บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

ดอยคำพาเปิดโรงงานหลวงฯสินค้ารักษ์โลกยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเดลินิวส์