【ดูบอล.tv】“อนุรักษ์ป่าโกงกาง ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับ”จีโนม” | เดลินิวส์

 ป่าโกงกาง หรือป่าชายเลน คือด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยตามริมชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับชุมชนนับพันและเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีความซับซ้อน ปัจจุบันจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามมากมายจากมนุษย์และได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบนโลก

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

 ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียป่าโกงกางไปแล้วกว่า 60% จากการตัดไม้ทำลายป่าและการขยายพื้นที่เมือง ยิ่งสูญเสียป่าโกงกางมากขึ้นเท่าไรก็ย่อมส่งผลกระทบกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ประกอบกับ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปทำให้สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัว เช่นเดียวกับป่าชายเลน ต้องเผชิญกับน้ำทะเล เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระดับความเค็มของน้ำทะเล และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย ทำให้การอนุรักษ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วน มีข้อมูลทางพันธุกรรมเผยให้เห็นว่าพันธุ์พืชและสัตว์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

  ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับรู้ได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้เข้ามาให้การช่วยเหลือและปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญเหล่านี้อย่างเร่งด่วน โดยได้ร่วมมือกับบริษัท เอ็มจีไอ เทค จำกัด ( MGI ) บริษัทที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (จีโนมิกส์) นำเอาเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอขั้นสูงมาประยุกต์ใช้สำหรับโครงการวิจัยเพื่ออนุรักษ์ป่าโกงกางในประเทศไทย

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

  หัวใจสำคัญของโครงการนี้คือ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอแบบ DNBSEQ™ เฉพาะของ MGI ที่ช่วยให้การจัดลำดับดีเอ็นเอที่เชื่อมโยงกับตำแหน่งเอนไซม์ตัดจำเพาะ (RAD-seq) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง ทำได้อย่างครอบคลุมและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของระบบนิเวศสำคัญเหล่านี้ได้ RAD-seq สามารถระบุตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง เพื่อให้เข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรป่าโกงกางได้มากขึ้น องค์ความรู้นี้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการกำหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องระบบนิเวศสำคัญเหล่านี้

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

 ดร. วิรัลดา ภูตะคาม ผู้อำนวยการทีมวิจัยจีโนมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิงสำหรับพันธุ์ไม้โกงกางทั้ง 15 ชนิด ซึ่งการทำความเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมของป่าโกงกางเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแผนการอนุรักษ์ให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลทางพันธุกรรมเผยให้เห็นว่าพันธุ์พืชและสัตว์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับอุปสรรคและความท้าทายต่าง เครื่องวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอ DNBSEQ-G400RS จาก MGI ช่วยให้สามารถประเมินความหลากหลายนี้อย่างแม่นยำ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัยทำความเข้าใจความซับซ้อนทางพันธุกรรมได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์การอนุรักษ์

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

 ดร.เจเรอมี เชียร์แมน นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ดร.เชียร์แมนอธิบายเพิ่มเติมว่า จุดประสงค์หลักของการวิจัยคือเพื่อการอนุรักษ์ เราต้องการระบุชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ วิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมเพื่อสร้างฐานข้อมูลอ้างอิง และใช้เทคนิคการจัดลำดับเอนไซม์ตัดจำเพาะ เพื่อที่จะระบุได้ว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิตในป่าโกงกางทั่วประเทศไทยมากน้อยเพียงใด

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์

ป่าโกงกางมีความสำคัญต่อบริเวณชายฝั่งและปากแม่น้ำ เป็นเสมือนแนวกำบังกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นลมและพายุ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลวัยอ่อนที่จะเติบโตเป็นเสมือนขุมทรัพย์ของมหาสมุทร การเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมจะช่วยให้เราสามารถอนุรักษ์ระบบนิเวศที่มีค่านี้ไว้ได้ ดร.เจเรอมี ย้ำถึงคุณค่าของป่าชายเลน

อนุรักษ์ป่าโกงกางด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนมเดลินิวส์