【ยืนยัน ตัว ตน รับเครดิตฟรี 30】การเมืองร้อน เอ็มโอยู 'เกาะกูด' บทสรุปจะอยู่ตรงไหน-ไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่ | เดลินิวส์

แม้ น.ส.แพทอง ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันจะเดินหน้าใช้เอ็มโอยู 2544 ที่ทำไว้ยุครัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร มาเป็นเครื่องมือในการเจรจากับทางกัมพูชา ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกาะกูด และเกาะกูดไม่ได้อยู่ในเอ็มโออยู่ อีกทั้งรัฐบาลในอดีตไม่เคยยกเลิกเอ็มโอยูดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมทั้งเดินหน้าจะแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee:JTC) ไทย-กัมพูชา หรือ คณะกรรการJTC ในเร็วๆ นี้ แต่ก็ยังมีเสียงต่อต้านจากคนบางกลุ่ม

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

โดย นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า นายกและตัวแทน ครม. ที่จะตั้งคณะไปเจรจาตามเอ็มโอยู 2544 ช่วยตอบคำถามง่ายๆ ตามแผนที่พลังงานในอ่าวไทย ที่กัมพูชาตีเส้นเคลมผ่าเกาะกูดเข้ามากลางอ่าวไทย จะไปยอมเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ตามโครงการคนละครึ่ง โดยไม่ทำการเจรจาเขตแดนทางทะเลให้ยุติก่อน เพียงอ้างว่า ถ้าไม่รีบขุดมาใช้ น้ำมันและก๊าซจะหมดราคาหมดคุณค่าในอนาคต และให้คนไทยฝันว่า จะได้ใช้น้ำมันและก๊าซราคาถูกนั้น ตอบหน่อยครับว่า พื้นที่แปลงสัมปทานขุดเจาะไหนเป็นของไทย เพราะเท่าที่นับได้ ตามแผนที่ที่ถูกอ้างความทับซ้อนนั้นมี chevron 16 แปลง มี total 1 แปลง มี pttep 2 แปลง ตอบให้คนไทยรักชาติ ตาสว่างด้วยครับว่า คนไทยทั้งประเทศจะได้ประโยชน์ตรงไหน จะได้ใช้น้ำมันและก๊าซราคาถูกอย่างไรครับ

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ขณะที่ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวงถึงความกังวลเกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ว่า ผลการเจรจา หากจะสำเร็จ และยุติได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย รัฐสภาของทั้งสองประเทศ จะต้องให้ความเห็นชอบ ผ่านการเสนอจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เข้าสู่กระบวนการรัฐสภาในฐานะผู้แทนประชาชน ที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า เห็นชอบกับผลการเจรจาหรือไม่ และข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง ส่วนการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมนั้น ยังไม่สามารถกระทำได้จนกว่าการเจรจาดังกล่าวจะมีข้อยุติ ซึ่งเอ็มโอยู 2544 กำหนดให้จะต้องเจรจา 2 เรื่องทั้งเขตทางทะเล และการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันไปพร้อมๆ กัน โดยไม่อาจแบ่งแยกได้ พร้อมยืนยันว่า หากการเจรจาสำเร็จ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ และคนไทย

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิกเอ็มโอยู 2544 เพราะถือเป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิของกัมพูชา และทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนนั้น รมว. ต่างประเทศ ระบุว่า ไม่ได้ยอมรับเส้นอ้างสิทธิในไหล่ทวีปของกัมพูชา และไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดนใดๆ เพราะเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย 100% การคงไว้ซึ่งเอ็มโอยู 2544 เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้ทั้งสองฝ่าย มีพันธกรณีที่จะต้องมาเจรจากัน ทั้งในเรื่องเขตทางทะเล และพื้นที่พัฒนาร่วมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านกฎหมาย จนได้ข้อสรุป เสนอเป็นมติครม.ในปี 2557 ว่า การคงเอ็มโอยู 2544 ไว้ เป็นผลดีมากกว่าเสีย และที่สำคัญการมีเขตทางทะเลที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเจรจาการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ขอให้เชื่อมั่นว่า การเจรจาจะคำนึงถึงอธิปไตยและผลประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้ง โดยยืนยันว่ากระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด นายมาริษ ยืนยัน

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

จากนี้ต้องรอดูข้อมูลภาครัฐและฝ่ายคัดค้านใครจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ขณะที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์ เรื่องการงดรับ งดให้ ของขวัญ ของกำนัลทุกชนิด จากการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. ทุกระดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ก่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงจัดให้มีการประกาศเจตนารมณ์ เรื่องการงดรับ งดให้ของขวัญ ของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Git Policy) และเพื่อเป็นการปลูกฝั่งค่านิยม เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม อีกทั้งยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการโดยการไม่รับ ไม่ให้ของขวัญ ของกำนัล ทุกชนิด ในช่วงเทศกาลและทุกโอกาส เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำอันอาจมีผลต่อดุลยพินิจ หรือการตัดสินใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

นอกจากนี้หน่วยงานภายในทำเนียบรัฐบาล ทั้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และสำนักปลัดสำนักนายกฯ (สปน.) ก็มีการออกนโยบายดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้สำนักเลขาธิการนายกฯ (สลน.) อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารเพื่อเสนอให้นายกฯ ลงนามต่อไป

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ถือเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าชื่นชม เพียงแต่ควรหามาตรการในป้องกันการทุจริตภาครัฐในโครงการต่างๆ ด้วย เพื่อทำให้การเมืองเกิดความใสสะอาด

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

แต่ที่ต้องลุ้น คือ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) เป็นประธาน กมธ. ได้มีมตินัดประชุม วันที่ 7 พ.ย. เวลา 09.30 น. โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ พิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

โดยได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลต่อ กมธ. ได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย (สร.) พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ นายวัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผอ.รพ.ราชทัณฑ์ น.ส.รวมทิพย์ สุภานันท์ นพ.รพ.ราชทัณฑ์ นพ.วิชัย วงศ์ชนะภัย ผช.เลขาฯ แพทยสภา และนายวาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชน. ในฐานะประธาน กมธ.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาฯ เข้าร่วมประชุมด้วย

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ขณะที่ นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐฯ กล่าวว่า การนัดประชุมกมธ. ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ ซึ่งมีวาระพิจารณากรณีกรมราชทัณฑ์ให้ นายทักษิณ พักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ กับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ว่า ไม่มีความกังวลใดๆ เพราะใครมีหน้าที่อะไร ก็ต้องดำเนินการไป ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะกระทบข้อมูลส่วนบุคคลนั้น แล้วแต่ กมธ. ทั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของ กมธ. ทราบว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไม่มา ส่วน พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผบ.ตร. นั้นทราบว่ามา

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันว่าจะไม่ไปให้ข้อมูลต่อ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เนื่องจากให้ข้อมูล พร้อมส่งหลักฐานให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หมดแล้ว การเชิญตนมาให้ข้อมูลคงไม่เหมาะสม เพราะใน กมธ. มีคนจากพรรค พท. เข้าร่วม เขาเป็นลูกน้องนายทักษิณ เกรงว่าความลับจะรั่วไหล

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ต้องรอดูว่า จะมีใครมาตามคำเชิญของ กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐฯ บ้าง รวมทั้งจะได้ข้อมูลมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งข้อมูล บิ๊กโจ๊ก จะยืนยันได้หรือไม่ว่า นายทักษิณ ป่วยทิพย์หรือป่วยจริง

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์

ทีมข่าวการเมือง

การเมืองร้อนเอ็มโอยูเกาะกูดบทสรุปจะอยู่ตรงไหนไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่เดลินิวส์