【บรอนด์บี้】หลวงเจ้: ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์ – THE STANDARD

ผู้เขียนไม่แน่ใจเหมือนกันว่าบทความชิ้นนี้จะเป็นการสร้างดราม่าหรือเรียกทัวร์มาลงให้กับตัวเองหรือไม่ เพราะสิ่งที่กำลังจะพูดถึงมันคือเสน่ห์ความน่ารักและความน่าหลงใหลของ ‘หลวงเจ้’

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

แต่หลวงเจ้ในที่นี้คนละความหมายกับหลวงเจ้ที่เป็นพระตุ๊ดหรือเณรแต๋วนะ หลวงเจ้ที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงมันคือชื่อที่เหล่าสาวกใช้เรียก ‘AMITOFO’ อาร์ตทอยที่กำลังฮิตอยู่ ณ ตอนนี้

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์‘อมิตโตโฟ’ คืออะไร

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ผู้เขียนขอเริ่มที่มาที่ไปแบบนี้ก่อน จริงๆ แล้ว AMITOFO (อมิตโตโฟ) เป็นอาร์ตทอยรูปแบบกล่องสุ่มตัวใหม่ที่กำลังมาแรง ซึ่งเป็นผลงานของศิลปินชาวจีนคล้ายๆ กับ CRYBABY ของ มด-นิสา ศรีคำดี ศิลปินคนไทย หรืออาร์ตทอตสุดฮิตที่ไม่มีใครไม่รู้จักอย่าง LABUBU ของศิลปินชาวฮ่องกง

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

คำว่า ‘อมิตโตโฟ’ น่าจะมาจากคำว่า ‘อาหมีถวอฝอ’ ซึ่งเป็นการออกเสียงภาษาจีนเรียกชื่อ ‘พระอมิตภะพุทธเจ้า’ พระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งในพุทธศาสนานิกายมหายาน ถ้าใครพอจะคุ้นๆ เวลาเราดู ไซอิ๋ว แล้วได้ยินพระถังซัมจั๋งชอบพูดว่า ‘อมิตาภพุทธะ’ นั่นแหละองค์เดียวกันเลย

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ทีนี้อยู่ๆ ทำไมอมิตโตโฟถึงถูกเหล่าสาวกไทยเรียกว่า ‘หลวงเจ้’ ที่มาที่ไปคือ หนึ่งในชุดงานศิลปะอมิตโตโฟ ซึ่งเขามีชิ้นงานศิลปะแตกต่างกันไปหลายตัว น่าจะประมาณ 8 ตัวได้ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด แต่ตัวที่เป็น Top Secret ซึ่งทุกคนอยากได้และทุกคนต้องสุ่มซื้อเอาถ้าอยากได้ก็คือ ตัวพระพุทธรูปปางมาสก์หน้า ติดโบ และนุ่งจีวรสีชมพู คนไทยก็เลยพากันเรียกว่า ‘ปางหลวงเจ้’

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ปูพื้นที่มาที่ไปของหลวงเจ้เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาเข้าโหมดชวนคิดกันบ้าง เอาเข้าจริงความน่าสนใจของหลวงเจ้ นอกจากจะเป็นอาร์ตทอยงานศิลปะแห่งยุคสมัยที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับเหล่าศิลปินคนรุ่นใหม่กันอย่างมหาศาลแล้ว ความพิเศษและความน่าสนใจของหลวงเจ้มันอยู่ที่ ‘ความจริง’

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์‘ความจริง’ คืออะไร

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ความจริงที่อาร์ตทอยชุดหลวงเจ้หยิบยืมมานำเสนอมันคือ การนำเอาความจริงที่เป็นอากัปกิริยาที่เป็นกิจวัตรประจำวันของคนในปัจจุบัน ไปล้อกับแนวคิดเรื่องปางต่างๆ ของพระพุทธรูปตามคติเดิม เช่น พระพุทธรูปบ้านเราก็จะมีปางประทานพร ปางมารวิชัย ปางอุ้มบาตร ปางไสยาสน์ อะไรก็ว่ากันไป 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

แต่อาร์ตทอยหลวงเจ้กลับนำเอาอากัปกิริยาที่เป็นกิจวัตรประจำวันที่เป็นความจริงของคนในปัจจุบันไปออกแบบสร้างสรรค์ให้กลายเป็นงานศิลปะ มันเลยมีปางอะไรน่ารักๆ ออกมาหลายปางโดนใจกลุ่มเป้าหมาย เช่น ปาง It’s OK, ปางถือทิชชูนั่งอุนจิ (อึ), ปางรอกินข้าว, ปาง Work from Home, ปางนอนเล่นมือถือ และปาง Secret ปางอุ้มน้องแมว รวมถึงปาง Top Secret ที่เหล่าสาวกใฝ่ฝันอยากได้มาครอบครองนั่นคือ ปางมาสก์หน้า ติดโบ และนุ่งจีวรชมพู นั่นเอง

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์ทำไมอมิตโตโฟหลวงเจ้ถึงโดนใจคนไทย

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

จริงๆ จะว่าอาร์ตทอยชุดหลวงเจ้ช็อกวงการพุทธศาสนาไหม อันนี้ไม่แน่ใจ เพราะเอาเข้าจริง เรื่องการนำเอาพระพุทธรูปมาทำอะไรน่ารักๆ เป็นของฝาก เป็นของที่ระลึก เป็นตุ๊กตา เป็นขนม เป็นไอศกรีม ในต่างประเทศ พุทธโลกมหายานอย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ หรือฮ่องกง เขาก็ทำกันมาจนไม่ได้เป็นเรื่องชงเรื่องช็อกอะไรแล้ว

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

แต่ที่มันทำให้คนไทยเรารู้สึกตื่นตาตื่นใจ อาจจะเรียกได้ว่ามากกว่าคนประเทศอื่นๆ กับอาร์ตทอยชุดนี้ คงไม่ใช่เพราะความน่ารักของตัวงานศิลปะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ตื่นเต้นเพราะมันกำลัง ‘ท้าทายความจริง’ ความจริงที่พุทธศาสนาแบบไทยๆ เราไม่กล้าที่จะยอมรับมัน ความจริงที่ว่ามีพระตุ๊ดหรือเณรแต๋ว มีหลวงเจ้ที่มาสก์หน้า นุ่งผ้าเหมือนใส่กระโปรง ใช้ย่ามสีชมพู หรือจีวรเหมือนเกาะอก มีพระใช้มือถือ เล่นโซเชียลมีเดีย ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งความจริงเหล่านี้พุทธไทยเรารับไม่ได้ 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

พูดง่ายๆ งานอาร์ตทอยอมิตโตโฟ หรือหลวงเจ้ มันกำลังเล่นกับความรู้สึกในจิตสำนึกของพุทธไทยที่ว่า โอ๊ย! พระไม่ควรจับเงิน พระไม่ควรเล่นโซเชียล พระต้องสำรวม พระต้องนั่งสมาธิ ห้ามนั่นห้ามนี่ ความตื่นเต้นและความสนุกมันอยู่ที่การมีงานศิลปะบางอย่างที่กำลังชาเลนจ์ขนบความเชื่อเก่าแบบนี้แหละ

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ผู้เขียนต้องบอกก่อนว่า ทุกคนอาจไม่ได้คิดแบบผู้เขียนก็ได้นะ หลายคนเขาอาจจะแค่อยากสะสมหลวงเจ้ในฐานะที่มันเป็นเพียงงานศิลปะร่วมสมัยที่แสนมีเสน่ห์ก็เท่านั้นหรือเปล่า

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ถ้าจะพูดถึงเรื่อง ‘ความจริง’ ให้มากขึ้น อาร์ตทอยหลายชิ้นก็นำความจริงบางอย่างไปสร้างสรรค์เป็นผลงานจนโด่งดังเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น CRYBABY ก็นำเอาความจริงจากน้ำตาไม่ว่าจะน้ำตาในสภาวะอารมณ์ไหน น้ำตาจากความเศร้า น้ำตาจากความดีใจ น้ำตาจากความอ่อนไหว กระทั่งความสะเทือนใจ ไปสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะจนโด่งดัง

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

เพราะฉะนั้นจะเรียกได้ว่า ‘ความจริง’ คืออีกหนึ่งทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะในหลายๆ รูปแบบก็ว่าได้ รวมถึงหลวงเจ้อมิตโตโฟด้วยที่ใช้ความจริงมาเป็นทุนในการสร้างสรรค์งานศิลปะ 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

แต่ประเด็นคือคนไทยหลายคนรับความจริงไม่ได้ เมื่อรับความจริงไม่ได้ก็เกิดความพยายามที่จะปกปิดความจริง หรือมากถึงขั้นทำลายความจริง สร้างชุดความรู้สึกบางอย่างมากลบความจริงที่ถูกซ่อนอยู่ ลองนึกถึงภาพคนสวมหน้ากากที่มีรอยยิ้มแต่กำลังร้องไห้ดู ลักษณะประมาณนั้นแหละ 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

การไม่ยอมรับความจริงของคนไทยนี่เองที่เป็นประตูปิดกั้นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของคนไทย เช่น ปิดกั้นการนำเสนอความจริง ปิดกั้นการตีความความจริงที่อยู่นอกกรอบ ปิดกั้นการเปิดหน้ากากให้คนเห็นว่ากำลังร้องไห้ คนไทยรับไม่ได้กับสิ่งเหล่านี้

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ลองคิดดูว่าคนไทยจะรับได้ไหมถ้ามีภาพยนตร์ไทยสักเรื่องกล้าที่จะทำภาพยนตร์ที่ไม่ได้เล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างที่เป็นขนบความเชื่อหลัก หรือสร้างตามข้อถกเถียงต่างมุมมองของนักวิชาการบางท่าน คนไทยจะรับการตีความเนื้อหาแบบนี้ได้หรือไม่

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

เล่าไปเสียไกลเลย จริงๆ ผู้เขียนอยากจะบอกเพียงแค่ว่า

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

งานศิลปะคือการสะท้อนความจริงในสังคม และความจริงมันก็คือต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมงานที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมสร้างสรรค์ก็ไม่ควรมีกรอบความผิด-ถูกมากำหนด ไม่ต้องมีหน่วยงานใดเป็นตำรวจศีลธรรม ตำรวจประวัติศาสตร์ตรวจความถูกต้องหรือกุมความจริงแท้อยู่คนเดียว ให้ความจริงที่เกิดจากบรรทัดฐานของพวกคุณมันถูกตีความอย่างเสรีเสียบ้างก็เท่านั้นเอง 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

กลับมาถามว่า อมิตโตโฟหลวงเจ้จะดราม่าไหมในวงการพุทธไทย คำตอบของผู้เขียนคือ ‘ไม่มีแน่นอน’ แต่ถ้ามีก็ไม่เป็นไร ไม่กล้าสาบงสาบานอะไร เพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ที่ผู้เขียนค่อนข้างมั่นใจว่าจะไม่มีดราม่าแน่ๆ เพราะงานศิลปะชิ้นนี้ไม่ใช่งานศิลปะของคนไทยและไม่ได้เกิดขึ้นที่เมืองไทย หากแต่เกิดขึ้นที่จีน เพราะพุทธไทยถือคติจะดราม่าได้ก็ต่อเมื่อผลงานหรือความจริงเหล่านั้นเกิดขึ้นในขอบขัณฑสีมาพุทธอาณาจักรไทยเท่านั้น

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

ลองคิดเล่นๆ ดูว่า ถ้างานศิลปะที่เกิดขึ้นจากความจริงชุดหลวงเจ้นี้เป็นผลงานของศิลปินไทย โลกนี้คงเหมือนจะพังพินาศ คงไม่ต่างจากภาพศิลปะภิกษุสันดานกา ภาพถ่ายศิลปะภิกษุแต่งหน้า หรือพระพุทธรูปอุลตร้าแมน

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

 

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์

เพราะฉะนั้นผู้เขียนขอลงดื้อๆ และขอสรุปสั้นๆ ว่า ‘ความจริง’ และ ‘การยอมรับความจริง’ และความจริงเหล่านี้แหละที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่จะปลดปล่อยพลังของวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้กับคนไทย ‘จงยอมรับความจริงเสียเถิดคนไทย’ กล้าออกจากถ้ำมาเจอแสงสว่างสักที แม้เริ่มต้นมันจะทำให้คุณแสบตาจนทนไม่ไหวก็ตาม นี่คือสิ่งที่อยากจะฝากไว้ให้พิจารณา

หลวงเจ้ความจริงสู่งานศิลปะสร้างสรรค์TAGS: พุทธศาสนา