【ผลหวยฮานอยvip】ภัยแล้ง : ภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทย | เดลินิวส์

ภัยแล้ง เป็นปัญหาเรื้อรังที่คุกคามประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย พืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และผลไม้ต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตลดลง คุณภาพด้อยลง และกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร รวมทั้งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจปีละนับหมื่นล้านบาท

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

ผลกระทบโดยตรง เช่น ข้าว เมื่อขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโต ทำให้ช่อดอกฝ่อ ผลผลิตน้อยลง และคุณภาพเมล็ดข้าวลดลง , มันสำปะหลัง หากขาดน้ำจะทำให้หัวมันสำปะหลังมีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา และปริมาณแป้งลดลง , อ้อย  จะมีขนาดเล็ก น้ำตาลน้อยลง และส่งผลต่อคุณภาพน้ำตาลที่ได้ , ยางพารา แม้ว่าจะเป็นทนแล้งได้ แต่ภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานก็ส่งผลให้ปริมาณน้ำยางที่ได้ลดลง และคุณภาพยางเสื่อมลง และ ผลไม้หลายชนิด เช่น มะม่วง ทุเรียน มังคุด ต้องการน้ำในปริมาณมากในช่วงออกดอกและติดผล หากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วง ผลมีขนาดเล็ก และคุณภาพไม่ดี

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

สรุปสั้นๆ คือพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ทั้ง ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และผลไม้ต่างๆ ต้องการน้ำในการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตน้อยลง คุณภาพด้อยลง และส่งผลต่อราคาในตลาด และแน่นอนเมื่อผลผลิตลดลง รายได้ของเกษตรก็ต้องลดลงด้วย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและกำลังซื้อของชุมชน ราคาสินค้าเกษตรในตลาดสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน  การว่างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาคการเกษตรมีการจ้างงานสูง เมื่อผลผลิตลดลง โรงงานแปรรูปและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดการว่างงาน

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

หากเจาะลึกลงไปที่เฉพาะ อ้อย พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ปลูกอ้อยมากเป็นอันดับ 4-5 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศบราซิล จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า โดยเฉลี่ยในแต่ละปีไทยสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งในประเทศและส่งออกได้ปีละกว่า 180,000 ล้านบาท

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

จากรายงานผลสำรวจพื้นที่ปลูกอ้อยประจำปีการผลิต 2566/2567 (เดือนพฤษภาคม 2567) อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พบมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั่วประเทศในเขตพื้นที่สำรวจรวม 47 จังหวัด จำนวน 11,125,480 ไร่ ลดลงจากปีการผลิต 2565/66 จำนวน 273,343 ไร่ หรือ 2.40% จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยลดลงมากที่สุด 3 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ,นครสวรรค์ และ อุดรธานี ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง และราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น หากแยกพื้นที่ปลูกอ้อยตามแบ่งเป็นสัดส่วนตามภูมิภาค ดังนี้

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

-ภาคเหนือ มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อย 9 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ,อุตรดิตถ์ ,สุโขทัย ,ตาก ,พิษณุโลก ,กำแพงเพชร ,พิจิตร นครสวรรค์ ,เพชรบูรณ์ รวม 2,607,594 ไร่ ลดลง 130,437 ไร่ หรือ 1.17% จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยลดลงมากที่สุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ นครสวรรค์ และ กำแพงเพชร ,สุโขทัย ตามลำดับ

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์


-ภาคกลาง มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อย 12 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ,ชัยนาท ,สิงห์บุรี ,ลพบุรี ,สระบุรี ,อ่างทอง ,สุพรรณบุรี ,กาญจนบุรี ,นครปฐม ,ราชบุรี ,เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ รวม 2,916,324 ไร่ ลดลง 123,468 ไร่ หรือ 1.11% ปลูกอ้อยลดลงมากที่สุด 3 จังหวัดแรกได้แก่ ลพบุรี ,กาญจนบุรี และ สุพรรณบุรี ตามลำดับ

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์


-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อย 20 จังหวัด ได้แก่ เลย ,หนองบัวลำภู ,อุดรธานี ,หนองคาย ,บึงกาฬ ,สกลนคร ,นครพนม ,ชัยภูมิ ,ขอนแก่น ,มหาสารคาม ,ร้อยเอ็ด ,กาฬสินธุ์ ,มุกดาหาร ,อำนาจเจริญ ,ยโสธร ,นครราชสีมา ,บุรีรัมย์ ,สุรินทร์ ,ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี รวม 4,960,255 ไร่ เพิ่มขึ้น 10,202 ไร่ หรือ 0.09% จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 จังหวัดแรกได้แก่ บุรีรัมย์ ,นครราชสีมา และ ชัยภูมิ ตามลำดับ

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

-ภาคตะวันออก มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อย 6 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ,สระแก้ว ,ฉะเชิงเทรา ,ชลบุรี ,ระยอง และ จันทบุรี รวม 641,307 ไร่ ลดลง 29,640 ไร่ หรือ 0.27% จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 จังหวัดแรกได้แก่ ชลบุรี สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา ตามลำดับ

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

อย่างไรก็ดี ในรายงานดังกล่าวได้พูดถึงปรากฏการณ์เอนโซ เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบบรรยากาศมหาสมุทรในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเป็นระยะซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลก เกิดขึ้นทุกๆ 3-7 ปี (โดยเฉลี่ย 5 ปี) และโดยทั่วไปจะใช้เวลาเก้าเดือนถึงสองปี เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมความแห้งแล้งและความวุ่นวายอื่นๆ ทั่วโลก หมายรวมถึงปรากฏการณ์ทั้งเอลนีโญและลานีญา พร้อมคาดการณ์พื้นที่เก็บเกี่ยวและปริมาณอ้อยเข้าหีบรายภาคปีการผลิต 2567/2568 ครั้งที่ 1 ดังนี้ (ในตาราง)

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภัยแล้งส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการเกษตร โดยมีปัจจัยเสริมที่ทำให้ภัยแล้งรุนแรงขึ้นหลายส่วนทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนลดลงและเกิดภัยแล้งบ่อยครั้งขึ้น,การบริหารจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสม ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง การบุกรุกพื้นที่ป่า และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุลและขาดความสามารถในการกักเก็บน้ำ การขยายตัวของเมืองทำให้พื้นที่สีเขียวลดลง ส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของน้ำและความชื้นในอากาศ

ภัยแล้งภัยคุกคามเงียบที่กัดกินพืชเศรษฐกิจของไทยเดลินิวส์วอนเร่งช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย หลังอีสานตอนบนเผชิญวิกฤติภัยแล้ง