【slot1234ฝาก10ได้100】เที่ยวแบบ Low Carbon สโลว์ไลฟ์ ‘ตรัง-สตูล’ | เดลินิวส์
มาถึงตรังอันดับแรกที่จะต้องทำก็คือ การตื่นให้เช้ากว่าเดิมเพื่อจะได้ไปทันเมนูติ่มซำหลากหลายที่วางเรียงซ้อนกันไว้ให้เลือกตามความชอบ เพราะหากชะล่าใจออกไปสายอาจจะต้องพลาดกับบางเมนูที่จะหมดก่อน และร้านติ่มซำแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นพงษ์โอชา ร้านเก่าแก่ที่มีถึง 3 สาขา ร้านเลตรัง ร้านเตอรัง รวมถึงร้านสไตล์ชิค ๆ อย่าง “เฉินเจีย” จะเปิดให้บริการแต่เช้าตรู่ และจะมีแฟนคลับมารอตั้งแต่เปิดร้าน ใครอยากลองหมูย่างเมืองตรังเลื่องชื่อด้วย บางร้านก็มีให้สั่งมาลิ้มลองด้วยเช่นกัน
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์เติมพลังเรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาผจญภัยย่านเมืองเก่าไปกับตุ๊ก ๆ หัวกบ ช่วงที่แดดยังไม่แรงกล้าแนะนำให้ไปเช็กอินกับสตรีทอาร์ตที่บอกเล่าเรื่องราวของเมืองตรังที่กระจายอยู่ในเขตเมือง เริ่มด้วยปากซอยราชดำเนิน 1 กับภาพเขียน “ต้นศรีตรัง” ต้นไม้มงคลประจำจังหวัดที่จะออกดอกเป็นสีม่วงเกือบทั้งต้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปีแบบในภาพที่เห็น
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์เดินเข้าซอยถัดไปราว 100 เมตร มีภาพเขียน “ต้นยางพารา” เพื่อให้สมกับที่ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีการนำมาปลูก ด้วยการนำเมล็ดมาเพาะ โดยต้นยางรุ่นแรกเหลืออยู่เพียงต้นเดียวที่ถนนตรังคภูมิ อ.กันตัง ขยับไปไกลอีกหน่อยราว 500 เมตรมีภาพ “ถํ้ามรกต” หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอันซีนยอดฮิตของตรังที่อยู่ที่เกาะมุก ถ้ายังไม่ได้ออกทะเลไปสัมผัสกับของจริงมาถ่ายภาพเก็บความประทับใจไว้ล่วงหน้าก่อน
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์จากนั้นไปชมความงดงามของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของ “คริสตจักรตรัง” หนึ่งในสถานที่ห้ามพลาด สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2458 โดดเด่นแปลกตาเพราะอาคารสีเหลืองมัสตาร์ดและหอระฆังที่อยู่ด้านหน้า ต่อด้วยหมู่อาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ก่อนจะออกไป “วงเวียนพะยูน” อีกแลนด์มาร์คที่ใคร ๆ ต้องแวะมาเพราะพะยูนคือสัตว์อนุรักษ์ที่อยู่คู่กับทะเลตรัง ปิดท้ายด้วยอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้นำยางพาราเข้ามาปลูกที่ตรัง
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์ก่อนออกไปสัมผัสกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติโดยมีมัคคุเทศก์น้อยนำชมที่ “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” ผืนป่าดิบชื้น ป่าพรุ และเนินเขาเตี้ย ๆ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ มีการแบ่งเป็นส่วนพื้นที่ของกลุ่มพันธุ์พืช เช่น สวนเฟิร์น พืชกินแมลง พืชวงศ์ปาล์ม พืชวงศ์ยาง และยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชทางภาคใต้อีกหลายชนิด ภายในมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พืช ห้องประชุม พื้นที่สำหรับกางเต็นท์และกิจกรรมค่ายพักแรม รวมทั้งเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติให้เลือกหลายเส้นทาง แต่ละเส้นทางจะตัดผ่านป่าดิบและป่าพรุ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้ (Canopy Walk Way) ระยะทางยาว 175 เมตร ความสูงสามระดับ ตั้งแต่ 10-18 เมตร
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์สตูล : อุทยานธรณีสตูล Satun UNESCO Global Geopark : อุทยานธรณีโลกแห่งแรกในประเทศไทย
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์ข้อมูลเส้นทาง
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์บนเส้นทางท่องเที่ยวที่รวมความสวยงามของธรรมชาติ พร้อมกับบรรยากาศที่หลากหลาย สัมผัสความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวแบบ Low Carbon ในจังหวัดตรังและสตูล ทั้งได้ลิ้มรสความอร่อยของอาหารท้องถิ่น เดินทางท่องเที่ยวฟังเรื่องเล่าไปกับชุมชน เดินป่าในเมือง เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นทะเบียนเป็น Geopark ได้หลายจุด อาทิ ถํ้าที่พบซากฟอสซิลสเตโกดอน ชมเขตข้ามกาลเวลาของชั้นหินที่อยู่คนละยุคสมัย ปราสาทหินพันยอด ได้รับประสบการณ์กลับไปอย่างมิรู้ลืม
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์ออกจากตรังเดินทางต่อไปที่ อ.ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ที่ตั้งของ “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ที่องค์การยูเนสโกให้การรับรองให้เป็น “อุทยานธรณีโลก” (UNESCO Global Geopark) สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวที่รวมแหล่งและสภาพภูมิประเทศที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาระดับนานาชาติ ณ พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์ลงเรือพายลอด “ถํ้าเลสเตโกดอน” ถํ้านํ้าเค็มที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ที่ตั้งชื่อตามชื่อฟอสซิลขากรรไกรเเละฟันล่างของ “ช้างสเตโกดอน” ช้างโบราณยุคนํ้าเเข็ง ที่พบในถํ้า ด้วยความยาวนับกิโลเมตรทำให้ต้องใช้เวลาในการล่องนานถึง 3 ชั่วโมง โดยมีหินย้อยให้ชมเป็นระยะ สลับกับซากฟอสซิลสัตว์โบราณอย่างนอติลอยด์ที่อยู่ตามเพดานถํ้า
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์แต่หากอยากเปลี่ยนบรรยากาศ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปันหยาบาติก” ใน อ.ละงู คืออีกตัวเลือก ผ้าบาติกของที่นี่นอกจากจะแตกต่างเพราะใช้สีย้อมผ้าจากดินหินปูนผุ (เทอราโรซ่า) ที่มีในท้องถิ่นแห่งเดียวในประเทศไทยแล้ว ยังโดดเด่นด้วยลวดลายผ้าบาติกที่มีความพิเศษกว่าที่อื่น ๆ เพราะมีการนำเรื่องราวทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีสตูลมาประยุกต์ โดยเอาภาพจำลองสภาพแวดล้อมทะเลโบราณในยุคออร์โดวิเชียนหรือเมื่อประมาณ 444 ล้านปีก่อน มาทำเป็นลายผ้าโดยมีปลาหมึกโบราณหรือนอติลอยด์ และไทรโลไบท์ เป็นตัวเอก
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์จากนั้นไปชม “สะพานข้ามกาลเวลา” บริเวณที่มีการพบรอยสัมผัสของหินทั้ง 2 ยุค คือ หินทรายสีแดงยุคแคมเบรียน (อายุประมาณ 541-485 ล้านปี) และหินปูนยุคออร์โดวิเชียน (อายุประมาณ 485-444 ล้านปี) เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลก เปรียบเสมือนเราสามารถข้ามผ่านกาลเวลาจากยุคแคมเบรียนไปสู่ยุคออร์โดวิเชียนได้เพียงแค่ก้าวเดียวเท่านั้น
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์เปลี่ยนบรรยากาศไปสัมผัสวิถีชุมชน “บ้านบ่อเจ็ดลูก” เจ้าของตำนานเล่าขานเกี่ยวกับบ่อนํ้าศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 บ่อที่สันนิษฐานว่ามีการขุดมากกว่า 100 ปี ว่ากันว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านบ่อเจ็ดลูกเป็นชาวเลที่อพยพมาจากเกาะที่ห่างไกล เมื่อมาปักหลักอยู่อาศัยจึงมีการขุดบ่อนํ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ปรากฏว่าเมื่อขุดไป 6 บ่อแล้วแต่ไม่สามารถใช้ได้เพราะเป็นนํ้ากร่อย จนขุดบ่อที่ 7 จึงมีนํ้าจืดออกมา ปัจจุบันบ่อทั้ง 7 ถูกเรียกว่า “โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก”
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์แล้วล่องเรือหางยาวออกไป “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา” ชมความสวยงาม ณ อ่าวโต๊ะบ๊ะ แวะรับประทานอาหารแบบวิถีชาวบ้านบนเกาะ พายเรือคยัคชมประติมากรรมภูเขาหินปูนที่เกิดจากการกัดเซาะและการละลายของหินปูน จนเกิดเป็นรูโพรงและรูปทรงต่าง ๆ ที่คล้ายกับปราสาทหิน จึงเรียกว่า “ปราสาทหินเขาพันยอด” ซึ่งจะเข้าไปชมได้เฉพาะช่วงนํ้าลดเท่านั้น ชมทะเลแหวก “สันหลังมังกร” อันซีนของสตูลที่เป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติกลางทะเลอันดามัน ระยะทางยาวกว่า 4 กิโลเมตร
เที่ยวแบบLowCarbonสโลว์ไลฟ์ตรังสตูลเดลินิวส์