【ufaems】LGBTQ+ กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไป เมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียม | เดลินิวส์

ท่ามกลางเสียงดีใจสำหรับก้าวสำคัญทางความเท่าเทียมทางเพศในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อประเทศ ไทยได้ก้าวเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียต่อจากไต้หวันและเนปาล และยังเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บุคคลเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยังคงมีเสียงสะท้อนถึงความท้าทายของ LGBTQ+ ในอีกหลายประเด็นตั้งแต่การถูกยอมรับในสังคม การเข้าถึงสวัสดิการ  รวมไปถึงการถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

ผลสำรวจ Deloitte Global 2023 LGBT+ Inclusion at Work จากผู้ตอบแบบสอบถาม 5,474 คนที่ทำงานจากส่วนต่าง ๆ จาก 13 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, จีน, ฝรั่งเศส, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา  ชี้ให้เห็นว่าองค์กรหลายแห่งมีความพยายามให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศ

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

 แต่ในขณะเดียวกันนั้นพนักงาน LGBTQ+ ยังพบความท้าทายและถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงานเป็นจำนวนถึง 42% โดยพฤติกรรมการถูกเลือกปฏิบัติที่พบบ่อยสุดคือ ความคิดเห็นที่ไม่พึงประสงค์เรื่องเพศ  39% รองลงมาคือ มุกตลกและการหัวเราะเยาะ 31% ตามมาด้วย การประเมินการทำงานต่ำไป และได้รับความคิดเห็นที่เหยียดหยามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศ 27%

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

หากย้อนกลับมาที่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เริ่มมีองค์กรในไทยที่เริ่มพูดถึงประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ รวมไปถึงมีแนวทางเป็นรูปธรรมในแง่สวัสดิการแก่พนักงาน LGBTQ+  เช่น แสนสิริ พนักงาน LGBTQ+ สามารถลาแต่งงานได้ 7 วันเท่ากับการแต่งงานของชายหญิง ศรีจันทร์ พนักงาน LGBTQ+ สามารถลาเพื่อผ่าตัดแปลงเพศได้ไม่เกิน 30 วัน และ LINE MAN Wongnai พนักงาน LGBTQ+ ได้รับเงินสนับสนุนสำหรับการแต่งงานเพศเดียวกัน 20,000 บาท เทียบเท่าสวัสดิการของคู่แต่งงานชายหญิง โดยสามารถนำรูปงานแต่งงานมายื่นเป็นหลักฐาน โดยไม่ต้องรอกฎหมายสมรสเท่าเทียม

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

ที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นการเคลื่อนไหวในด้านความเท่าเทียมทางเพศที่ดี พร้อมกับการขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งของภาคประชาสังคมและกลุ่มที่ผลักดันความเท่าเทียมในสังคมการทำงาน อย่าง Pride at Work Thailand เครือข่ายธุรกิจที่มาจากความร่วมมือของภาคีเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่างของพนักงาน LGBTQ+ ในที่ทำงาน ในปัจจุบันก็มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนาสิทธิและความเท่าเทียมของ LGBTQ+ ในประเทศไทย

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

ในปีนี้มีพื้นที่ให้กับประเด็นความหลากหลายทางเพศมากเพิ่มขึ้น ทั้งพื้นที่ในการแสดงออก และการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับวงเสวนาในงาน LINE MAN Wongnai Celebration of Love จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองก้าวสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยถึงความท้าทายของพนักงาน LGBTQ+ ในอนาคตหลังจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน โดยประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นคือการที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายมิติ ตั้งแต่การโอบกอดและยอมรับตนเอง ไปจนถึงการยอมรับจากทั้งครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม กฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงเป็นก้าวที่สำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงของชุมชน  LGBTQ+ในประเทศไทย

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

คุณชลิต รัษฐปานะ หนึ่งในพนักงานของ  LINE MAN Wongnaiกล่าวว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมมีความหมายอย่างมากกับชุมชน LGBTQ+ อย่างแรก คือความสำคัญด้านกฎหมาย ทั้งการแต่งงานที่มีเรื่องสวัสดิการและการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อคู่รัก LGBTQ+ สามารถแต่งงานถูกต้องตามกฎหมายได้จะทำให้มีโอกาสในการสะสมทรัพย์และส่งต่อเป็นมรดกเทียบเท่ากับคู่รักต่างเพศ รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ในอนาคต และด้านความรู้สึก มันคือความภาคภูมิใจ เพราะการต่อสู้ของ LGBTQ+ ไม่เคยง่าย”

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

ระยะเวลากว่าทศวรรษสำหรับการเดินทางของกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งมาจากการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมและอีกหลายภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกัน ชัยชนะในครั้งนี้จึงเป็นเป็นการคืนสิทธิกลับคืนสู่  LGBTQ+ ดังนั้นเมื่อกฎหมายเปลี่ยน ในส่วนขององค์กรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามทั้งกฎและนโยบายขององค์กร

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

องค์กรจะสนับสนุนและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานมีได้จึงต้องมี 2 อย่าง คือ สวัสดิการที่เป็นรูปธรรม และบรรยากาศในที่ทำงานที่โอบรับความหลากหลายและให้ความสำคัญกับ LGBTQ+ สำหรับบรรยากาศในที่ทำงานอาจจับต้องไม่ได้แต่สามารถแทรกซึมในวัฒนธรรมองค์กรได้ ซึ่งเห็นอย่างชัดเจนที่ LINE MAN Wongnai

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

คุณเพ็ญทิพา แจ่มจันทร์เกษม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ LINE Pay เสริมอีกว่า “วัฒนธรรมของเราคือ Respect Everyone มันชัดตั้งแต่วันที่ทุกคนเข้ามาสมัครงาน เราไม่ได้สนใจคำนำหน้าของผู้สมัครว่าเป็นนาย นาง หรือนางสาว เรื่องแบบนี้เราทำจนมันกลายเป็นเรื่องธรรมชาติในการโอบรับความหลากหลายและเคารพผู้อื่น”

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

นอกจากนี้ LINE MAN Wongnai ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของไทยยังมองไปถึงการสื่อสารและปลูกฝังความเท่าเทียมแก่สังคม โดยเริ่มตั้งแต่เด็กวัยมัธยมผ่านค่าย “Spectrum Tech Camp ทุกคน ทุกเฉดสี มีที่ยืน” เพื่อทลายอคติทางเพศนำความหลากหลายมาสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศไทย รวมไปถึงการแบ่งปันแนวคิดขององค์กรในการส่งเสริมความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการมีส่วนร่วม ในงาน ‘Pink Power Up Business Forum’ เพื่อที่จะส่งเสริม Pink Economy ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม LGBTQ+ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอีกด้วย

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์

กฎหมายสมรสเท่าเทียมถือเป็นตัวชี้วัดว่าสังคมไทยได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น ในอนาคตข้างหน้าเชื่อว่าสังคมจะพัฒนาไปข้างหน้าได้อีก หากได้ความร่วมมือของหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งองค์กรยุคใหม่ควรให้ความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม และต่อยอดความเท่าเทียมให้เป็นโอกาสในแง่มุมอื่นทั้งเชิงเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

กับสังคมการทำงานที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยมีสมรสเท่าเทียมเดลินิวส์