【ฝาก20รับ100 วอเลท】‘สะเนียน’กรณีศึกษา ‘สุขภาพชุมชน’ ตัวอย่าง‘ดูแลเชิงรุก’ | เดลินิวส์

ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ร่วมลงพื้นที่ไปสังเกตการณ์การดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนไทยในระดับชุมชนท้องถิ่น ที่ จ.น่าน

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ที่มี “บริการสาธารณสุขที่ครอบคลุม”

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

มีการดูแล “ป้องกัน รักษาโรคเชิงรุก”

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

พื้นที่ดังกล่าวคือ ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน ซึ่ง นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ นางสาวจินตนา สันถวเมตต์ รก.ผอ.สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ ได้นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) อบต. สะเนียนโดยมี นายสว่าง เปรมประสิทธิ์ นายก อบต. และคณะ ต้อนรับและสรุปภาพรวม กปท. สะเนียน ที่ได้รางวัลการบริหารจัดการระดับดีเด่น สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ ปี 2567 เป็น กปท. ที่บริหารจัดการงบประมาณมีประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาบริการด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุม

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ทางนายก อบต. สะเนียน ระบุไว้ว่า ในพื้นที่นี้มีความหลากหลายของคนไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่ง กปท. สะเนียน ดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ถึงร้อยละ 77.58 โดยการดำเนินการด้านสุขภาพนั้นได้ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลเชิงรุก และฟื้นฟูสุขภาพคนในชุมชนทั้งนี้ กปท. สะเนียน มีการจัดทำโครงการเพื่อประชาชนในชุมชน โดยสนับสนุนงบประมาณ โครงการคัดกรองความผิดปกติทางสายตา และการแก้ไขปัญหาการมองเห็นไม่ชัดในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่ง ณ วันที่คณะ สปสช. ลงพื้นที่ มีการดูแลประชาชนแล้ว 406 ราย โดยมีเคสสายตาผิดปกติต้องพบแพทย์ 10 ราย และมี โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ดูแลประชาชน 19 ราย รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งหมดจำนวน 32 โครงการ เป็นเงินจำนวน 451,761 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.90

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

“ในพื้นที่สะเนียนมีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะเป็น อบต. ที่อยู่เขตอำเภอเมือง แต่มีกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 8 กลุ่ม ซึ่งเราสามารถดูแลบริหารจัดการได้ทั้งกลุ่มคนไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ ผลสำเร็จเกิดขึ้นได้เพราะการมีส่วนร่วม กรรมการกองทุน การรับรู้สถานการณ์สุขภาพ ความรู้สึกร่วมกันของคนในชุมชน ความรับผิดชอบการบริหารจัดการความสำเร็จของชุมชน วัฒนธรรมสุขภาพชุมชน ผสานภูมิปัญญาสุขภาพท้องถิ่น ผสานภารกิจความร่วมมือ จนเกิดเป็นข้อตกลงสุขภาพชุมชน การจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับชุมชน แม้ว่าพื้นที่จะห่างไกล และการสื่อสารมีปัญหาด้านภาษาชาติพันธุ์ รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่มีความหลากหลาย แต่ก็สามารถจัดการได้ เหล่านี้จึงส่งผลให้กองทุนฯ อบต. สะเนียนได้รับรางวัลการบริหารจัดการระดับดีเด่นในปี 2567” นายก อบต. สะเนียน ระบุ

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ด้าน นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล รองเลขาธิการ สปสช. ระบุถึงการดำเนินงานของ กปท. สะเนียน ว่า ขอชื่นชมการบริหารจัดการและการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใสและทันเวลา ซึ่งได้รับรางวัลการบริการจัดการกองทุนสุขภาพตำบลดีเด่นของ สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ แม้ว่าจะมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากถึง 8 กลุ่ม ก็สามารถดำเนินการให้บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในกลุ่มชาติพันธุ์ เน้นการดูแลคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน และยังจัดทำโครงการคัดกรองความผิดปกติสายตาและแก้ไขปัญหาการมองเห็นไม่ชัดในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ อบต. สะเนียน จัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติทางสายตาให้ได้รับแว่นสายตา และ เข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับชุมชนได้ทั่วถึง

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

สำหรับโครงการผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับขับถ่าย ที่พื้นที่นี้ก็มีการดำเนินการ เป็น สิทธิหลักประกันสุขภาพ โดยใช้งบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ผู้ที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ 1.บุคคลที่มีภาวะติดบ้านติดเตียง 2.บุคคลที่มีภาวะปัญหากั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และการประเมินของหน่วยจัดบริการ โดยให้รับผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับขับถ่ายฟรีไม่เกิน 3 ชิ้นต่อวัน ผ่านกองทุนสุขภาพตำบล หรือกองทุน กปท. ตามการประเมินตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) โครงการนี้ช่วยผู้มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตาม สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นสิทธิที่ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ทั้งนี้ นางนิภาพร พอใจ ผอ. รพ.สต.บ้านน้ำโค้ง ต.สะเนียน ได้ร่วมเปิดเผยข้อมูลไว้ บางช่วงบางตอนมีว่า ทาง อบต. และ รพ.สต. มีการดำเนินการออกตรวจคัดกรองโรค NCDs เช่น เจาะเลือดตรวจเบาหวาน วัดความดัน ทุกปี ในกลุ่มชาติพันธุ์มลาบริ ซึ่งมีประมาณ 90 คน โดยในปี 2566 จากการคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยง 3 ราย และได้นำเข้ากลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในปี 2567 การตรวจคัดกรองไม่พบกลุ่มเสี่ยง ขณะที่ นายบุญทิพย์ ดอยศักดิ์ หัวหน้ากลุ่มชาติพันธุ์มลาบริ บ้านห้วยลู่ ต.สะเนียน ระบุว่า ชาวบ้านดีใจที่ รพ.สต.บ้านน้ำโค้ง มาดูแลตรวจสุขภาพคัดกรองโรคในชุมชน ซึ่งชุมชนมี อสม. 2 คน ช่วยดูแลในพื้นที่และประสานกับ รพ.สต. ในการดูแลชาวบ้าน “ในชุมชนตอนนี้ไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพมากนัก เพราะเมื่อ รพ.สต. และ อบต. มาให้ความรู้ ลดหวานมันเค็ม สุขภาพคนในชุมชนก็ดีขึ้น” หน.กลุ่มชาติพันธุ์มลาบริห้วยลู่ระบุ

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

นี่ก็เป็นตัวอย่าง “เชิงรุกสุขภาพชุมชน”

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

กลไก “หลักประกันสุขภาพท้องถิ่น”

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ตาม “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”.

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

สะเนียนกรณีศึกษาสุขภาพชุมชนตัวอย่างดูแลเชิงรุกเดลินิวส์