【999bet เครดิตฟรี】วัยหนุ่ม 2544 : สูญดับไปในสายลมและวันเวลา | เดลินิวส์

ถ้าผู้ปกครองกลัวเยาวชนเลียนแบบมาก ก็ต้องดูแลบุตรหลานของตัวเอง ไม่ใช่เอาแต่ผลักภาระให้สื่อและสังคม  ไม่ใช่มาตั้งความหวังว่าหนังทุกเรื่องต้องเป็นหนังเรทจี ( general )..การสั่งสอนคือหัดให้คิดแบบเอาหนังทั้งเรื่องมาคิดภาพรวม ไม่ใช่คิดแบบตัดมาเป็นต่อนๆ ที่มันดูเท่แล้วเอาไปเลียนแบบ  วัยหนุ่ม 2544 เป็น“หนังเชิงต่อต้านความรุนแรง” แต่มันก็ใช้ความรุนแรงเพื่อการขับเคลื่อนเหตุการณ์ไปข้างหน้า และสรุปด้วยความคิดว่า “ความรุนแรงไม่เคยแก้ไขได้ด้วยความรุนแรง และมันจะตามต่อมาเป็นลูกโซ่อย่างไม่รู้จบสิ้นเมื่อไร” ก็สอนให้ชัดว่า ความรุนแรงในเรื่องนำไปสู่อะไร

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ตอนแรกก็คิดๆ ว่า วัยหนุ่ม2544 อาจไม่ประสบความสำเร็จ “เท่าที่ควรเป็น” คือคาดหวังให้มันได้รายได้มากกว่านี้ในช่วงออกฉายสัปดาห์แรก ที่คิดเช่นนั้นเพราะมันฉายชนหนังผีอารมณ์ดีอย่าง 404 สุขีนิรันดร์ run run ..แต่ไปๆ มาๆ ด้วยหน้าหนังที่ดูดราม่าเข้มข้น อาจเป็นตัวดึงดูดให้คนอยากได้หนังไทยรสชาติใหม่ๆ ได้เยอะ.. ไม่ใช่แค่หนังพระเอกหล่อนางเอกสวย ใช้เกรดสีสว่างๆ หรือหนังผี ..อย่างไรก็ตาม อยากบอกเล่าความรู้สึกว่า “หนังไทยหลายๆ เรื่องมีปัญหาเรื่องการเขียนบทสนทนาจริงๆ” เพราะมันไม่เป็นธรรมชาติ การรับส่งอารมณ์ในหนังหลายเรื่องแข็งเป็นหินเพราะ 1.นักแสดงยังไม่เชื่อในบทสนทนา หรือบทของตัวเอง 2.บทสนทนาถูกเขียนอย่างประดักประเดิด บางเรื่องมึงมาพาโวยเยอะ บางเรื่องก็ตัวละครหญิงเสียงแหลมแปร๊ดๆๆๆ ใส่กันจนฟังแล้วเวียนหัว

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

แต่ในวัยหนุ่ม 2544 น่าจะเพราะนักแสดงแต่ละคนสนิทคุ้นเคยกัน เคยผ่านหนังเรื่อง 4Kings ทั้งสองภาค ที่ผู้กำกับคนเดียวกัน คือพุฒิพงษ์ นาคทอง การรับส่งบทสนทนาจึงเนียนกริบ 

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

สำหรับ“รสชาติใหม่ๆ”ที่ว่าข้างต้น คือการเข้าไปเห็นในโลกที่น่าจะเรียกว่า“โลกต้องห้าม”ก็คงได้ คือเป็นโลกที่เราได้ยินได้ฟังคนผ่านประสบการณ์มา เราอยากรู้อยากเห็นว่าในนั้นเป็นอย่างไรแต่ไม่อยากเข้าไปอยู่ แรงขับหนึ่งที่ทำให้คนสนใจโลกต้องห้ามคือเรื่องเซกส์ในนั้นแหละ เมื่อหนังคุกวัยหนุ่มออกมา เราก็เจอการเล่นมุข“หนมน๊าๆๆ” อันหมายถึงการต่อรองขอมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศในคุก ฝั่งคนอยากมีก็จะเอาของ- อาหารไปให้อีกฝ่าย แล้วกลางคืนก็ไปสะกิดบอก “หนมน๊าๆๆ” เพื่อเรียกมามีเพศสัมพันธ์ด้วย..แต่ถ้าจะคาดหวังฉากเพศสัมพันธ์ในหนังเรื่องวัยหนุ่ม 2544 แนะนำว่า ไปหาหนังสือเกี่ยวกับคุกอ่านเอามันจะได้ภาพชัดกว่า เพราะฉากอย่างว่าเรื่องนี้มันหดหู่

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ตัวละครที่ถูกนำเสนอภาพความรุนแรงในคุกมากที่สุด คือ ตัวฟลุ๊ค ( ภูมิภัทร ถาวรศิริ ) เป็นกะเทยที่ถูกล่อซื้อยา ความน่าสนใจของตัวละครนี้คือการสะท้อนภาพความทุกข์ของ LGBT+ เมื่อ 20 ปีก่อน ยุคที่ “กะเทยแบบเพลงสุดท้าย” ก็ยังเป็นภาพจำของคนไทย ว่า เป็นกะเทยแล้วถึงทุ่มเทในรัก ก็ต้องไม่สมหวังในรัก ต้องโดนผู้ชายหลอก ในวัยหนุ่ม บทฟลุ๊คเองก็ต้องติดคุกเพราะถูกยัดยาแทนแฟนหนุ่ม แม้จะสิ้นอิสรภาพ แต่ฟลุ๊คก็ยังหวังจะมีโอกาสถามไถ่ให้ได้รู้เขาสบายดีไหม ( จากฉากฟลุ๊คแอบจดหมายไว้ใต้หมอนด้วยแววตาพอมีความสุขบ้าง และเสียง V.O อ่านจดหมายที่สุดท้ายถูกพับเป็นเรือ ..มันไม่เคยถูกส่งออกไปจากแดนพันธนาการนี้ )

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ปี 2544 การเหยียดเพศยังเป็นเรื่องตลก  ในเรื่องมีการพูดถึงเพลง เกลียดตุ๊ด ของซีเปีย ( ซึ่งมีมาก่อนนั้นร่วม 10 ปี ) และภาพการมองกะเทยในยุคนั้น ยิ่งในกลุ่มคลั่งความเป็นชาย พวกยึดถือแนวคิดชายเป็นใหญ่ (patriarchy ) กะเทยคือพวกวิปริต ต้องบ้าอวัยวะเพศชาย ( และจะดูตลกเมื่อผู้ชายทำร้ายกะเทยที่มาจีบ ) เป็นภาพเหมารวม  ในปี 2541 เพลงฮิต ประเทือง ถูกเผยแพร่ครั้งแรก ทำสถิติถูกขอซ้ำบ่อยจนที่คลื่นวิทยุหนึ่ง จนเปิดถึง 3 รอบในชั่วโมงเดียว อวัจนภาษา โทนเสียงในเพลงนี้บอกถึงความรังเกียจแบบ กูนึกว่าผู้หญิง ก่อนเพลงประเทืองออกไม่นาน ก็มีเพลง ฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ของเจินเจิน ถูกแปลงเป็น เป็นตุ๊ดมันผิดตรงไหน

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ยิ่งกันคนหลากหลายทางเพศไปในทางน่ารังเกียจ ตลก  ในพื้นที่คลั่งความเป็นชาย ณ พศ.2544 การเป็นกะเทย ถ้าไม่มีพวกอยู่ยากเพราะโดนล่วงละเมิดทั้งทางกาย วาจา ใจ ..ตัวฟลุ๊คเป็นคนนอกในสังคมแบบสองขั้ว ( binary คือยอมรับความเป็นเพศตามเพศกำเนิดเท่านั้น ) ยิ่งการอยู่ในพื้นที่ที่ต่างก็ต้องกดขี่คนอื่นเพื่ออยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าของวังวน คนที่ถูกเหยียบคือคนที่แปลกแยกที่สุด ก็คือฟลุ๊ค  แม้ฟลุ๊คทำดีกับเผือก ( ณัฏฐ์ กิจจริต) แต่ที่สุดก็โดนทอดทิ้ง เหมือนตอนมาก็โดนอะไรหนักๆ มาเหมือนกัน แต่เมื่อเผือกหลุดพ้น ฟลุ๊คก็กลายเป็นคนแปลกหน้า (อาจด้วยระบบแบ่ง“บ้าน”ในคุกวัยหนุ่ม ) แต่กระนั้นก็ตาม ในฉากที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่อง “คนที่ควรช่วยฟลุ๊คได้” ก็ยังแสดงการเหยียดด้วยคำพูด

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ในคุก บ้านคลองเตยปฏิบัติต่อฟลุ๊คเหมือน อะไรสักอย่างที่บังเอิญเข้าใจภาษาคน ที่แม้แต่ชื่อก็ดูไม่มีใครสนใจจำ  ..มันน่าเศร้าที่กีดกันมนุษย์ออกจากความเป็นมนุษย์เพราะความแตกต่างของเพศวิถี..สิบกว่าปีต่อมา สิทธิมนุษยชนเฟื่องฟูขึ้นจากหลายเหตุ ถ้าฟลุ๊คติดคุกใน พ.ศ.นี้ คงจะมีคนเข้าใจเขามากขึ้น อย่างน้อยก็มีกลุ่มเปิดเผยตัวว่าเป็นเกย์ที่สามารถเข้าร่วมได้ หรือไม่ผู้คุมก็ช่วยจัดให้อยู่ในที่ๆปลอดภัย ..เมื่อพูดถึงเพศสภาพของฟลุ๊ค ก็คิดถึงเสรีในเรื่องตัวตนแห่งเพศในยุคนี้ ซึ่งกำลังจะมีสมรสเท่าเทียมต้นปีหน้า ..มันก็ทำให้เรารู้สึกว่า “ในอดีต กลุ่มหลากหลายทางเพศต้องประสบกับอะไรมาเยอะมาก และพวกเขาต่อสู้กับอะไรหลายๆ อย่างจนคนรุ่นหลังๆ อยู่อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี ได้รับการปฏิบัติด้วยดีมากขึ้น”

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ฟลุ๊ค เป็นตัวละครที่เหมือนถูกจัดวางให้ชะตากรรมเลวร้ายที่สุด เป็นคนที่ไม่มีที่จะอยู่เพราะความแปลกแยก ขณะเดียวกัน ตัวละครอย่าง “บังกัส” ( จ๋าย อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ) เป็นภาพของคนที่ไม่มีที่ให้ไป การบอกเล่าไม่ต้องให้ตัวละครพูดทำเท่ แต่ใช้การสนทนาระหว่างพ่อที่มาเยี่ยมลูกในคุกเพื่อเล่าว่า เมื่อบังกัสออกไปเขาก็ถูกกีดกันออกจากครอบครัวเพราะพื้นที่คุกเปลี่ยนเขาเป็น“คนนอก”ที่ครอบครัวก็ยังตั้งการ์ดใส่ไปแล้ว

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ตัวละครหลัก ( ที่ดูเหมือนแทบทั้งเรื่องจะเล่าผ่านสายตาตัวละครนี้ ) คือเผือก ( ณัฏฐ์ กิจจริต ) ก็ถูกกระหน่ำชะตากรรมตั้งแต่เด็ก จนเหมือนเป็นตัวละครที่“ไม่ว่าอยู่ในคุกหรือนอกคุก ชีวิตก็อยู่อย่างนี้” เพราะเติบโตมาในพื้นที่ที่เรียกว่า “ใต้ถุนสังคม” สิ่งแวดล้อมคือการค้ายา แกงค์นักเลง แบบชวนคิดว่า “ถ้าออกจากคุก เขาก็คงกลับไปในวัฏจักรความรุนแรงเดิมๆ ของที่ที่จากมา” ซึ่งถ้าจะดูแบบเอาแง่คิด ก็คิดได้ถึงสภาพที่โหดร้ายของความเหลื่อมล้ำที่ยังมีชุมชนที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการทำผิดกฎหมาย และพร้อมเผชิญความรุนแรงอยู่ในสังคมบ้านเรา ( ซึ่งในเมืองใหญ่ก็น่าจะยิ่งมีมาก ) เช่นนี้แล้ว การจัดการศึกษาและสวัสดิการสังคมจะทำอย่างไร เพราะสิ่งแวดล้อมแบบนี้คือที่บ่มเพาะของความรุนแรง ..การมองภาพเผือก ทั้งในคุกและนอกคุก มันเหมือนการสำรวจมนุษย์ในภาวะ เล้าไก่ อยู่ด้วยกันในเล้าที่ปลายทางคือโรงเชือด แต่ก็ยังดิ้นรน แย่งชิงการมีลมหายใจมากกว่าคนอื่น

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

เรารู้จักภูมิหลังของตัวละครเผือกที่หนังปูพื้นมาบ้างเล็กน้อย ว่า อยู่กับแม่ที่ค้ายา แต่เผือกเป็นเด็กอารมณ์ประมาณ “วันเฉลิม ทองเนื้อเก้า” คือไม่จมปลกลงในความต่ำตมของสิ่งรอบตัว เงื่อนไขที่หนังสร้างขึ้นมานี้บางคนอาจ“ไม่ซื้อ”นัก..  แต่มันคือการจัดวางเพื่อนำตัวละครเข้าพลอต ไปสู่สูตร tragedy หรือโศกนาฏกรรม ที่ “ความผิดพลาดของบุคคลๆ หนึ่ง ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ อารมณ์ชั่ววูบ หรือตัดสินใจผิด หรือจุดบกพร่องอื่นๆ ของตัวเอง ทำให้ชีวิตเขายิ่งถลำดำดิ่งลึกลงสู่ความเลวร้ายจนยากจะควบคุม” โครงสร้างบทเช่นนี้มีให้เห็นได้ในละครกรีกโบราณ, เชคสเปียร์  

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

หนังไม่ได้พาเราไปทำความรู้จักตัวละครอื่นมากพอ อย่างตัวเบียร์ ( เป้ อารักษ์ ) และบอย ( ทอป ทศพล หมายสุข )  ตัวร้ายประจำบ้านคลองเตยที่คนเกลียด หรือกอล์ฟ น่าสนใจว่า แต่ละคนถูกหล่อหลอมมาอย่างไร เคยเอาตัวรอดในชีวิตนอกคุกอย่างไร เช่น บอยที่ดูเหมือนห้าว เป็นสายชน แต่อาศัยเงาของเบียร์กำบังตัวอยู่ตลอดเวลา คนที่กลัวบอยก็เพราะกลัวเบียร์ทั้งที่จริงๆ ตัวละครนี้มีความ“ขี้แพ้”( loser ) เก่งแต่วางท่า พอถึงเวลาปะทะจริงๆ จังๆ โดนถีบทีเดียวหลับซะอย่างนั้น หรือตัวกอล์ฟ ( เบนจามิน โจเซฟ วาร์นี ) ที่ถูกเรียกว่าฝรั่ง เหมือนเป็นที่พึ่งพาของเพื่อนๆ ในคุกได้ ก็ไม่รู้ว่า ก่อนเข้าคุกเขาผ่านอะไรมา หรือมีจุดเปลี่ยนอะไรให้เขาปรับตัวเป็นคนเช่นนั้น ..ตัวละครถูกออกแบบมาบางๆ  เน้นอารมณ์การปะทะกันระหว่างกลุ่มดีกับกลุ่มร้าย และโชว์ความเป็น brotherhood หรืออารมณ์แบบ “เพื่อนกัน พี่น้องกัน ตายแทนกันได้”

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

ปูมหลังตัวละครอาจเป็นหรือไม่เป็นช่องโหว่ของหนังก็ได้ แล้วแต่ว่า“จะมีใครติดใจกับเรื่องนี้” แต่โดยภาพรวมหนังสื่อสารสิ่งที่มันตั้งใจออกมาได้ตรง คือ“ความโหดร้ายในคุก” เสิร์ฟอารมณ์ดิบๆ มาตลอดเรื่องแบบมีระยะผ่อนคลายน้อย ไล่ระดับเส้นเรื่องและอารมณ์ให้ไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ พอเสิร์ฟดราม่าฟายน้ำตามา มันไม่เศร้า แต่หดหู่ดิ่งลึก ..ดิ่งไปถึงอารมณ์ของคนที่ติดอยู่ในเวลาที่แน่นิ่ง จนเห็นความฝันแตกสลายไปต่อหน้า ต้องยอมรับด้วยความขื่นขม..หันหลังและลืมความฝันทิ้งไป สิ่งที่พอให้ยึดเหนี่ยวจิตใจมีเพียงมิตรภาพจากคนที่เปลี่ยนเวียนเข้าออก  ..และหนังก็เดินทางมาถึงจุดจบแบบไม่ประนีประนอม ความรุนแรงไม่ยุติลง แต่มันไปเริ่มฉากใหม่ เพราะ สำหรับคนกลุ่มใต้ถุนสังคม ชีวิตจริงมันเป็นอย่างนี้  

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

 คิดถึงเพลงประกอบ “เสียดาย”หนัง มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล วรรคหนึ่งที่ร้องว่า “ชีวิตเยาว์วัย ของใครทุกคน มีเพียงหนึ่งหน ทั้งรูปทั้งนาม ขยี้ทิ้งไป ไม่อาจทวงตาม ความสดใสสวยงามเสื่อมทรามสิ้นไป” วัยหนุ่ม 2544 ก็คือหนังที่พูดถึงการเผาไหม้เวลา“ในวัยงดงาม”ให้สูญดับ กลายเป็นเถ้าถ่านปลิวลับไร้ประโยชน์..ความผิดที่เกิดขึ้นจะโทษใครได้ ระหว่างตัวเองเต็มใจทำผิดโดยอารมณ์ชั่ววูบ หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่บีบบังคับคนๆ หนึ่งเข้าไปในมุมอับ จนต้องตอบโต้ทุกทางแม้จะรู้ว่า ปลายทางของตัวเองอาจนำไปสู่โลกในพันธนาการ..ถ้าจะเอาคำสอนจากหนัง ก็คือต้องใช้สติ คิดให้มากก่อนทำอะไร  

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์

เพราะไม่รู้ว่า หากเราเอง ทำลายช่วงเวลาที่งดงามที่สุดไป จะเหลือแรงใช้ชีวิตต่อไปด้วยดีได้หรือไม่. 

วัยหนุ่มสูญดับไปในสายลมและวันเวลาเดลินิวส์