【jdbaa ฟรีเครดิต】ชลประทานเชียงใหม่ เร่งพร่องน้ำ-เฝ้าระวังแม่น้ำปิง | เดลินิวส์
วันที่ 2 ส.ค. นายชนม์ฐพัฒน์ เครือศรี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบกับข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ประกาศว่า ในช่วงวันที่ 1 2 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 7 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขณะเดียวกันสถานการณ์น้ำท่าในแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสายสาขามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางด้านนายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้มอบหมายฝ่ายจัดสรรน้ำฯ และหัวหน้าฝ่ายส่งน้ำแะบำรุงรักษาที่ 1 8 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ทำการตรวจสอบประตูระบายน้ำ ฝาย อาคารประกอบ ให้พร้อมใช้งาน และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดจากการรายงานของ นายศิริฉัตร บัวพุทธา หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 8 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งรับผิดชอบควบคุมประตูระบายน้ำท่าวังตาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการระบายน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำ และลำน้ำสาขาแม่น้ำปิง น้ำแม่แตง น้ำแม่ริม ทางประตูระบายน้ำท่าวังตาล ได้เพิ่มการระบายน้ำ ปริมาณ 110 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยรักษาระดับน้ำไม่เกิน 300.8 ม. (รทก) เพื่อไม่ให้ไม่เกิดผลกระทบกับท้ายน้ำ
ในขณะเดียวกันจากการรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 7 โครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งควบคุมดูแลฝายดอยน้อย ได้เพิ่มการระบายน้ำปริมาณ 118.02 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยรักษาระดับน้ำไม่เกิน 278.10 ม.(รทก.) พร้อมทั้งได้แจ้งสถานีสูบน้ำด้านเหนือน้ำ ด้านท้ายน้ำ และผู้เลี้ยงปลากระชังในพื้นที่รับทราบโดยทั่วกันแล้ว เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ปริมาณน้ำด้านหน้าประตูระบายน้ำแม่สอย ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำตัวสุดท้ายที่อยู่ท้ายน้ำปิง ก็ได้เพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพร่องระดับน้ำด้านหน้าลงให้อยู่ที่ +6.50 เมตร เพื่อรองรับมวลน้ำที่จะสมทบมาเพิ่ม และจะเพิ่มการระบายน้ำขึ้นเป็นระยะ พร้อมทั้งได้แจ้งเตือนให้สถานีสูบน้ำทุกสถานีทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำเฝ้าระวังสถานีของท่านอย่างใกล้ชิดด้วย
ปัจจุบันสถานการณ์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ยังไม่เกิดภาวะวิกฤติแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับน้ำ ในแต่ละประตูระบายน้ำก็จะมีการพร่องน้ำเพื่อเตรียมรองรับน้ำไว้แล้ว ขณะเดียวกันก็ได้มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลสถานการณ์น้ำ แผนบริหารจัดการน้ำผ่านเว็บไซต์ กลุ่มไลน์ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ของสำนักงานชลประทานที่ 1 โครงการจังหวัด และโครงการส่งน้ำฯ รวม 7 แห่ง การกำจัดวัชพืชในทางน้ำ ปี 2567 ได้ดำเนินการทั้งหมดแล้ว 4 โครงการ ปริมาณวัชพืชรวม 27,768 ตัน ได้ขุดลอกกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทั้งหมด 17 งาน จัดทำแผนคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัย 12 โซน ติดตามสภาพภูมิอากาศ ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำในอ่างขนาดกลาง 13 แห่ง มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว ไปแล้ว จำนวน 2 จุด รวม 3 เครื่อง จุดแรกที่หมู่บ้านการ์เดนท์แลนด์ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ฝั่งตะวันตก บริเวณโรงสูบน้ำห้วยแก้ว ที่รองรับน้ำจากดอยสุเทพ พร้อมทั้งซักซ้อมแผนบริหารจัดการน้ำ และมีการอัพเดตแผนที่ One Map อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละจุด เมื่อเกิดภาวะวิกฤติสามารถประสานงานกันได้และเข้าช่วยเหลือพื้นที่เกิดอุทกภัยได้ทันท่วงที
ชลประทานเชียงใหม่เร่งพร่องน้ำเฝ้าระวังแม่น้ำปิงเดลินิวส์