【ล็อตโต้8888】ไม่แยกขยะโดนแน่! กทม.เก็บพุ่ง 3-4 เท่า ย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะ | เดลินิวส์
รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณขยะมูลฝอย 17,873 ตันต่อวัน ภาคใต้ 9,705 ตันต่อวัน ภาคตะวันออก 7,073 ตันต่อวัน ภาคเหนือ 4,582 ตันต่อวัน และภาคตะวันตก 3,268 ตันต่อวัน ซึ่งยังไม่นับรวมขยะที่มีปริมาณตกค้างในแต่ละปีที่มีจำนวนนับหมื่นตันต่อปี หากจังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร มีปริมาณขยะ 12,748 ตันต่อวัน
2. จ.สมุทรปราการ มีปริมาณขยะ 3,465 ตันต่อวัน 3. จ.ชลบุรีมีปริมาณขยะ 3,374 ตันต่อวัน 4. จ.นครราชสีมา มีปริมาณขยะ 2,588 ตันต่อวัน 5. จ.นนทบุรี มีปริมาณขยะ 2,065 ตันต่อวัน
ส่วนใหญ่เป็นขยะเศษอาหารมากกว่า 50% ปัญหาใหญ่ คือ การทิ้งขยะรวมกัน โดยไม่แยกขยะก่อนนั้น ทำให้เกิดมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่าง ๆ เป็นปัญหารบกวนสุขภาพกายใจของผู้คนสัญจรไป-มาและผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ที่ผ่านมาผลเสียจากการไม่แยกขยะในกทม. พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้งบประมาณในการบริหารจัดการขยะต้องใช้เงินมากถึง 7,000 ล้านบาทต่อปีที่ต้องทุ่มงบประมาณลงมา แทนที่จะนำเงินไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการพัฒนาเมืองกทม. จึงเป็นที่มาของการประกาศขึ้นค่าเก็บขยะล่าสุดของกทม.พุ่งขึ้นกว่า 3–4 เท่า หรือกว่า 300-400% ทีเดียว เช่น จาก 20 บาท กลายเป็น 60 บาท จาก 2,000 บาท กลายเป็น 8,000 บาท ซึ่งจะประกาศใช้ภายใน 180 วันหลังจากนี้ เนื่องจากราคาเดิมใช้มาตั้งแต่ปี 46 เท่ากับว่า ใช้ของเดิมมาเกิน 20 ปีแล้ว ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์แต่เรื่องนี้ กทม.รู้ดีว่า เป็นเรื่องใหญ่ ที่กระทบกระเทือนคนในกทม.อย่างแน่นอน!!! จึงต้องเปิดทางเลือกให้กับบ้านไหน ครัวเรือนไหน ร่วมมือกันแยกขยะ ไม่ต้องทำให้กทม. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเยอะ ก็จะได้รับการยกเว้นจ่ายเท่าเดิม ส่วนบ้านไหน ธุรกิจแบบไหน จะจ่ายใหม่ จ่ายเดิม เป็นอย่างไร ทาง “พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์” ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาชี้แจง ก่อนที่จะมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อไป
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์“พรพรหม” ขยายความให้เห็นภาพชัดเจนว่า มาตรการนี้นับว่าเป็น game changer ที่สำคัญในมิติของการส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนแยกขยะ ที่ผ่านมาเราทำได้แค่ “ส่งเสริม” “ขอความร่วมมือ” “สมัครใจ” ซึ่งก็ดีแต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่พอ ถ้าคนทำดีก็ดีไป แต่คนส่วนใหญ่ที่ไม่สนใจ เราก็ทำอะไรเขาไม่ได้ ก็ต้องปล่อยไปตามเดิม มาตรการนี้เป็นครั้งแรกที่จะมีการใช้ “กลไกทางเศรษฐศาสตร์” เข้ามาช่วยในการส่งเสริมให้ประชาชนมีการแยกขยะ เป็นแรงจูงใจให้คนอยากแยกเพราะเนื่องจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย ส่วนถ้าไม่แยกก็จ่ายอัตราเต็มไป ซึ่งหลายเมืองทั่วโลกมีการใช้กลไกค่าเก็บขยะเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนแยกขยะ เช่น การลดหย่อนอัตราค่าเก็บสำหรับบ้านที่แยกขยะ จะประสบความสำเร็จอย่างมาก
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ จะมีข้อสงสัยเยอะเป็นปกติ “พรพรหม” ได้สรุป 3 ประเด็นที่ได้รับการสอบถามมากที่สุด
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ประเด็นแรก จะเพิ่มอัตราเป็นเท่าไหร่? สำหรับใครบ้าง? ต้องตอบว่า เราจะเพิ่มอัตราการเก็บ 3-4 เท่าจากปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะของท่าน พูดให้เห็นภาพ คือ กลุ่ม 1 ในกรณีที่บ้านท่านมีขยะไม่เกิน 20 ลิตร (4 กก.) ต่อวัน จะอยู่ “กลุ่ม 1” ซึ่งครัวเรือนส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มนี้ มีอยู่เกิน 2 ล้านครัวเรือน ที่ผ่านมาจ่ายอยู่ 20 บาทต่อเดือน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60 บาทต่อเดือน หรือ 3 เท่า เป็นการจ่ายแบบ “flat rate” แปลว่า ไม่ว่าจะมีขยะ 1 ลิตรต่อวัน หรือ 20 ลิตรต่อวัน ก็จะจ่ายเท่ากันที่ 60 บาท
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์แต่ข้อพิเศษของข้อบัญญัติฉบับนี้ สำหรับบ้านที่แยกขยะ ซึ่งกทม. จะเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อลดหย่อนค่าธรรมเนียมกลับมาเป็น 20 บาทได้ กลุ่ม 2 สำหรับผู้ที่มีขยะเกิน 20 ลิตร หรือ 4 กก.ต่อวัน แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร (200 กก.) ส่วนใหญ่จะเป็นห้องแถว ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ จะต้องจ่ายเป็น “อัตราก้าวหน้า” หรือจ่ายต่อหน่วย (หน่วยละ 20 ลิตร) จะต่างจากแบบ “flat rate” เหมือนกลุ่มที่ 1 ที่ผ่านมาจ่ายหน่วยละ 40 บาท และเราจะเพิ่มเป็นหน่วยละ 120 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่า
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์เช่น ถ้าเป็นร้านอาหารมีขยะ 100 ลิตรต่อวัน จะเท่ากับว่าท่านจะต้องจ่าย 5 หน่วย แปลว่า ที่ผ่านมาจ่าย 200 บาทต่อเดือน (5 × 40) แต่ในอัตราใหม่ จะต้องจ่าย 600 บาท (5 × 120)
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ถ้าต้องการที่จะลดค่าธรรมเนียม สามารถทำได้ถ้ามีการแยกขยะไปใช้ประโยชน์ จะทำให้ลดปริมาณขยะที่จะทิ้งให้กับกทม. เช่น ถ้าขยะลดลงจาก 100 ลิตรต่อวัน เป็น 60 ลิตรต่อวัน จะเท่ากับหน่วยขยะลดลงจาก 5 หน่วยเป็น 3 หน่วย ซึ่งในอัตราใหม่ จะลดลงจาก 600 บาทต่อเดือน เป็น 360 บาทต่อเดือน
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์กลุ่ม 3 ผู้ที่มีขยะเกิน 1,000 ลิตร (200 กก.) หรือ 1 ลูกบาศก์เมตร เป็นสถานประกอบการต่างๆ เช่น ห้าง ตลาด สำนักงาน โรงแรม จะอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นการจ่ายแบบ “อัตราก้าวหน้า” เหมือนกลุ่ม 2 โดยจะคิดเป็น หน่วยละ 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ผ่านมาจ่ายหน่วยละ 2,000 บาท และจะเพิ่มเป็นหน่วยละ 8,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่า เนื่องจากเป็นการจ่ายแบบ “อัตราก้าวหน้า” เหมือนกับกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้ก็จะสามารถลดอัตราค่าธรรมเนียมถ้ามีการลดปริมาณขยะที่ส่งให้กทม. ได้เช่นกัน
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์อาจจะสงสัยว่าทำไมสำหรับกลุ่ม 1 กับ 2 เราเพิ่มอัตรา 3 เท่า แต่กลุ่ม 3 เราเพิ่ม 4 เท่า มี 2 เหตุผลหลัก คือ กลุ่ม 3 เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่จะมีประสิทธิภาพในการลดขยะมากกว่าอีก 2 กลุ่ม ถ้ามีการคัดแยกขยะแล้วมีปริมาณรีไซเคิลอยู่มาก จะสามารถขายได้ มีคนพร้อมมารับซื้อ ส่วนเศษอาหารถ้ามีปริมาณมากก็มีเกษตรกรพร้อมมารับถึงที่ อีกประเด็น เรามองว่า การเพิ่มค่าธรรมเนียมสำหรับประชาชนทั่วไป และเอสเอ็มอี ในอัตราที่เท่ากับเอกชนรายใหญ่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เป็นธรรม
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ประเด็นที่ 2 คำถามสำคัญที่หลายคนถามคือ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครแยก ไม่แยก? เรื่องนี้ก่อนอื่นต้องให้ข้อมูลว่า กทม.จะมีเวลา 180 วันระหว่างวันที่ราชกิจจาฯออกกับวันบังคับใช้อัตราใหม่ ที่ทางกทม. จะออกระเบียบ จัดทำระบบรองรับ ซึ่งได้มีการเตรียมมาก่อนเสนอข้อบัญญัติอยู่แล้ว ที่สำคัญจะต้องสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจเรื่อย ๆ ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแยกขยะ “บ้านนี้ไม่เทรวม” + การส่งหลักฐานผ่านระบบที่เตรียมไว้ + จะมีแจกอุปกรณ์ส่งเสริมการคัดแยกที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สังเกตง่ายขึ้น
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ประเด็นที่ 3 ที่ถูกพูดถึงเยอะ ทำไมถึงต้องเพิ่มอัตรา? ประเด็นหลัก เป็นผลจากอัตราปัจจุบันทำให้สัดส่วนของรายจ่ายด้านจัดการขยะต่างกับรายได้จากค่าธรรมเนียมอย่างมาก หากให้เปรียบเทียบให้เห็นได้ชัด ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการขยะ เทียบกับรายได้ค่าเก็บขยะจากอัตราปัจจุบัน โดยค่าบริหารจัดการขยะทั้งหมดต้องใช้งบประมาณ เกิน 7,000 ล้านบาท แต่จัดเก็บอยู่ที่ 522 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่าย 1 บ้าน ในกทม. เท่ากับ 9.12 บาทต่อวัน แต่ปัจจุบันเราเก็บบ้านละ 0.67 บาทต่อวัน โดยขยะ 1 กิโลกรัม กทม. มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2.28 บาท แต่อัตราปัจจุบันเก็บเพียง 0.1675 บาท เท่ากับว่ากทม. จ่ายอยู่ 93% ส่วนประชาชนจ่ายเพียง 7% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดตอนนี้อัตราที่ต่ำทำให้ภาระตกอยู่ที่ท้องถิ่นหมด ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจเพราะอัตราต่ำ และไม่มีแรงจูงใจให้ลดหรือคัดแยกขยะ
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์ทั้งนี้เป็นการสื่อสารถึงที่มาและหลักคิดของมาตรการนี้ หลังจากนี้ทางกทม.จะมีการชี้แจงให้ข้อมูลและสื่อสารรายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป ที่สำคัญกทม.ย้ำนักย้ำหนาให้ประชาชนเชื่อมั่น รถขยะกทม.ไม่เทรวมแล้วจริง ๆ นะ.
ไม่แยกขยะโดนแน่กทมเก็บพุ่งเท่าย้ำเดี๋ยวนี้ไม่เทรวมแล้วจริงๆนะเดลินิวส์