【betflik เครดิตฟรี 50 ล่าสุด วันนี้】"ดัชนีMCI" เข็มทิศพาสู่เน็ตซีโร่ได้เร็ว | เดลินิวส์
สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนหรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เป็นกลไกการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้าประเภทที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง เช่น ซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฮโดรเจนและไฟฟ้า ซึ่งจะเก็บค่าธรรมเนียมหากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเกินกว่าข้อกำหนด
ดัชนีMCIquotเข็มทิศพาสู่เน็ตซีโร่ได้เร็วเดลินิวส์
** TIIS วันสตอปเซอร์วิสการค้าที่ยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จัดกิจกรรม NSTDA Meets the Press ชวนรู้จัก ฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDGs เพื่อการค้าและความยั่งยืน นำประเทศไทยสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมี ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์ ผู้อานวยการกลุ่มวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) เอ็มเทค สวทช. ดร.เอนกประชา แก้วมณี ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจโรงกลั่น บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นายวิชัย รายรัตน์ Sustainable Development Director บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด มาให้ข้อมูล ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) เอ็มเทค สวทช. และพันธมิตรภาคเอกชน ทั้งนี้สถาบัน TIIS ถือเป็นหน่วยงานที่ให้บริการครบวงจร (One stop Service) ด้านข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การค้าและความยั่งยืน
ดร.นงนุช กล่าวว่า สถาบัน TIIS ได้พัฒนาชุดข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor: EF) ที่ครอบคลุม 22 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบและรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 12 ประเภทของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนการประเมินและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Economy และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดการใช้วัตถุดิบรอบสอง ส่งเสริมโมเดลธุรกิจหมุนเวียน รวมทั้งลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
**น้ำมันบางจากได้ฉลากคาร์บอน 5 ผลิตภัณฑ์
“ตัวอย่างกรณีของบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้นำค่า EF จากฐานข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงจำนวน 5 ชนิด จนได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ในปี 2556 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ได้นำดัชนี MCI มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยนำวัสดุหมุนเวียนมาใช้ทดแทน โดยยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของ เอสซีจี”
ดร.เอนกประชา กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่มีขอการรับรองฉลากคาร์บอนทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ 1. น้ำมันเตา (Fuel Oil) 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas (LPG)) 3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (High Speed Diesel) 4. น้ำมันแก๊สโซลีนพื้นฐาน (Gasoline based) 5. น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเครื่องบิน (Illuminating or Industrial Kerosene (IK)) มีค่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำส่งผลช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกในปัจจุบัน เนื่องจากในปัจจุบันในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพรินต์มาใช้กันแล้วอย่างเช่นใน อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นต้น
**ซัพพลายเชนการผลิตใช้พลังงานถึง57 %
ดร.เอนกประชา กล่าวว่าขณะนี้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแชมเปี้ยนโปรดักส์ของบางจากเป็นน้ำมันที่ใช้กับรถไฟฟ้า ส่งไปขายที่เกาหลีใต้ เพราะในกระบวนการผลิตสามารถทำให้เกิดค่ากัมมะถันต่ำ อย่างไรก็ตามการสู่เป้าหมายเน็ตซีโร่ของทุกองค์กรในกระบวนการผลิตต้องใช้เชื้อเพลิง ใช้น้ำมัน ยกตัวอย่างการผลิตทูน่า 1 กระป๋อง 57 เปอร์เซนต์ใช้เชื้อเพลิงจึงก่อให้เกิดคาร์บอน ดังนั้นการใช้น้ำมันที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า จะย้อนมาสู่ที่ผลิตภัณฑ์ บางจากจึงทำให้ระบบทั้งซับพลายเชนของขบวนการผลิตปล่อยคาร์บอนที่น้อยกว่า ทำให้ผู้ผลิตเมื่อส่งสินค้าส่งออกไปต่างประเทศจึงเสียภาษีน้อยกว่า ซึ่งในอดีตประเทศไทยไม่มีฐานข้อมูลกลาง แต่ปัจจุบันทางเอ็มเทคได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้ฐานข้อมูลกลางด้านการใช้พลังงานในมีความแตกต่าง ตัวอย่างการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า ขณะที่ประเทศไทยไม่มีการใช้พลังงานด้านนี้เป็นต้น
**ผลิตภัณฑ์ได้ค่า MCI สูงดีต่อโลก
ดร.นงนุช ได้อธิบายว่า “ค่าประสิทธิภาพหมุนเวียนของวัสดุก่อสร้าง MCI”คือ ตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงระดับการหมุนเวียนของวัสดุในผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ โดยเปรียบเทียบกับวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การผลิต การใช้งาน จนถึงการจัดการของเสีย หากผลิตภัณฑ์ใดมีค่า MCI สูง แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวสถาบัน TIIS ได้จัดทำข้อมูล MCI ของวัสดุก่อสร้าง 12 ประเภท ได้แก่ คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ประตููและหน้าต่าง อิฐ กระเบื้องปูพื้น วัสดุปิดผนัง สุขภัณฑ์ ท่อประปา ฝ้าเพดาน หลังคา และฉนวนกันความร้อน โดยร่วมกับผู้ประกอบการในการปรับปรุงข้อมูล MCI ของวัสดุทุกชนิดให้เป็นปัจจุบันตลอดทุกปี (เปิดรับข้อมูลจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรม)
** SCGนำเศษคอนกรีตมาย่อยใช้แทนหินปูน
วิชัย กล่าวว่า SCG ตั้งเป้าหมายในปี 2030 ให้มีการนำวัสดุหมุนเวียนมาใช้ทดแทนวัตถุดิบธรรมชาติให้ได้ 10% ซึ่งในปี 2023 เอสซีจีสามารถใช้วัสดุหมุนเวียนได้ 6.64% ซึ่งแนวทางสำคัญคือการนำวัสดุที่เป็นของเสียที่ไม่เป็นอันตรายทั้งจากภายในและภายนอกเอสซีจีหรือสินค้าที่หมดอายุการใช้งาน กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทน ในสัดส่วนที่สินค้ายังได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังพัฒนาวิจัยที่จะนำวัสดุธรรมชาติที่สามารถทดแทนใหม่ได้ (Renewable resources) มาทดแทนเพิ่มเติมอีกด้วย โดยใช้ดัชนี MCI มาเป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิผลของการหมุนเวียนวัสดุทดแทนของสินค้าแต่ละประเภท เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า MCI สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ มีการนำเถ้าลอย (Fly ash) มาทดแทนหินปูน และใช้ยิปซั่มสังเคราะห์มาทดแทนแร่ยิปซั่มธรรมชาติ
“ที่สำคัญในการวัดค่าดัชนี MCI คือการหมุนเวียนสินค้าที่หมดอายุการใช้งานหรือเป็นของเสียในระหว่างติดตั้งให้มีการนำกลับมาสู่ระบบการหมุนเวียน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เอสซีจีให้ความสำคัญและดำเนินการ เช่น การนำเศษคอนกรีตจากการก่อสร้างหรือทุบทำลายมาย่อยและนำกลับมาใช้ทดแทนหินปูนในการทำคอนกรีต การนำโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วซึ่งทำงานร่วมกันกับโฮมโปร นำมาย่อยและนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนดินในการทำกระเบื้อง การนำเศษอิฐมวลเบาหรือเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีต มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หรือนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน เป็นต้น” Sustainable Development Director บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวทิ้งท้าย
ดัชนีMCIquotเข็มทิศพาสู่เน็ตซีโร่ได้เร็วเดลินิวส์