【เปิดยูสเซอร์】"กรมราง" ชี้ "ความแปรปรวนทางธรณีวิทยา" ต้นเหตุ "ดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่ม" | เดลินิวส์

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางราง ครั้งที่ 1/67 กรณีดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง รวมทั้งผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง, สภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เข้าร่วมประชุม และมีผู้แทนฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน และผู้รับจ้างงานก่อสร้างสัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง เข้าร่วมชี้แจง

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมคณะทำงานฯ ได้รับทราบข้อเท็จจริงจากผู้แทน รฟท. ว่า เมื่อวันที่ 24 ส.ค.67 เวลาประมาณ 23.00 น. มีพนักงานของผู้ก่อสร้างกำลังปฏิบัติงานขนย้ายดินออกจากอุโมงค์คลองไผ่ ขณะที่ทำงานมีหินพังทลายจากด้านบนหลังคาอุโมงค์ บริเวณอุโมงค์ทางออกคลองไผ่ กิโลเมตรที่ 189+410 ถึง กิโลเมตรที่ 189+454 ส่งผลให้ดิน และหินดังกล่าวถล่มทับผู้ปฏิบัติงานชาวต่างชาติเสียชีวิตเป็นเพศชาย 3 ราย พร้อมกับเครื่องจักร 2 คัน โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาหาสาเหตุของการเกิดเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ พบว่า ภายในอุโมงค์คลองไผ่ในช่วงกิโลเมตรที่ 189+390 ถึง 189+460 ระยะทาง 110 เมตร อยู่บนเส้นทางก่อสร้างที่เป็นส่วนโค้งเบี่ยงซ้ายตามในแบบก่อสร้างที่มีรัศมี 2,000 เมตร และอยู่บนทางลาดที่มีความชัน 6.3 มิลลิเมตร ต่อ 1,000 มิลลิเมตร (6.3%๐)

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

ประกอบกับเป็นบริเวณที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ไม่เอื้ออำนวย โดยรอบเป็นหินประเภท Vb (Very Poor Rock) เนื่องจากมีรอยแตกระหว่างชั้นหิน และการผุกร่อนที่รุนแรงของชั้นหินที่อ่อนแอ ซึ่งบางส่วนถูกผุกร่อนในดิน breccia และดินเหนียว และมีการผุกร่อนที่ไม่สม่ำเสมอ ค่าความดันของชั้นหินมีความไม่สม่ำเสมอ เสถียรภาพโดยรอบไม่ดี ซึ่งในช่วงกิโลเมตรที่ 188+590 ถึง 189+460 ระยะทาง 870 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีหินดินดานผสมกับชั้นหินทรายแป้ง(Siltstone) มีมวลหินที่แตก มีรอยแยกที่ได้รับการพัฒนาอย่างดี มีมวลหินที่แตกหัก และมีหินโดยรอบเป็นหินประเภท Vb มีปริมาณน้ำอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับความสูงของผิวทางในอุโมงค์อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคอง

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

มีชั้นดินเหนืออุโมงค์ที่มีความบาง และมีชั้นหินแทรกซ้อนที่อ่อนแอ ซึ่งมีแนวโน้มให้น้ำทะลักเข้าตัวอุโมงค์ หลังคาถล่มและหินจะตกลงมาได้ง่ายในระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ต้องดำเนินการขุดโดยใช้กลไกเป็นหลัก เพื่อลดการรบกวน และลดความเสี่ยงต่อหินรอบๆ โดยการเสริมความแข็งแกร่งของมาตรการค้ำยัน การเสริมความแข็งแกร่งของท่อ Lock rock bolt และมาตรการอื่นๆ ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวข้างต้นในรายงานการประเมินความเสี่ยงอุโมงค์คลองไผ่ ฉบับเดือน มิ.ย.65 ได้กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงภัยจากการถล่ม (หลังคาอุโมงค์ถล่ม) โดยตัวอุโมงค์สร้าง ใช้วิธีการขุดแบบ Three Bench Method เจ็ดขั้นตอน และแบบ Temporary Inverted Arch สามระดับ ดำเนินการเสริมมาตรการ เช่น การค้ำยันเบื้องต้น การติดตั้ง Lock Bolt

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

มาตรการดังกล่าวจะต้องนำมาใช้สำหรับบริเวณที่มีหินประเภท V รอบๆ ในส่วนที่มีรอยแยกที่พัฒนาแล้ว ระยะห่างของ steel rib จะต้องลดลงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ช่วงกิโลเมตรที่ 187+650 ถึง 189+565 (ช่วงที่ดินกล่ม) ต้องเสริมความแข็งแรงด้วยการอัดฉีดน้ำปูน (Grouting) รวมทั้งบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต้องสร้างขึ้นตามขั้นตอนการก่อสร้างที่กำหนดไว้โดยแบบก่อสร้างอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการขยายตัวของความเสี่ยงในการก่อสร้างต่อไป และในระหว่างการก่อสร้าง ต้องเพิ่มการตรวจสอบ และวัดผลระบบค้ำยัน จากการวิเคราะห์ผลการเฝ้าติดตามและการวัดสำรวจ ให้เข้าใจสถานการณ์เคลื่อนตัวของหินโดยรอบ และส่วนค้ำยันโดยเร็วที่สุด เพื่อใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ และปรับการค้ำยันเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และดำเนินการก่อสร้าง Lining นอกจากนี้การก่อสร้างจะดำเนินการได้ ต่อเมื่อความเสี่ยงในการก่อสร้างได้รับการประเมินและดำเนินการลดระดับความเสี่ยง และต้องได้รับอนุมัติโดยหน่วยงานที่ปรึกษาและหน่วยงานออกแบบอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาข้อมูลจากการลงพื้นที่ และการรวบรวมข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ทั้งรายงานทางธรณีวิทยา รายงานวิธีการก่อสร้าง (method statement) รวมถึงแบบก่อสร้าง (shop drawing) มีความเห็นว่า สาเหตุอาจเกิดจากความแปรปรวนทางธรณีวิทยา (geological variability) ทำให้บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะหินที่มีความอ่อนแอ และไม่มีเสถียรภาพ หรือไม่มีความแข็งแรงเพียงพอทางโครงสร้าง จนอาจเกิดการพังทลาย หรือการวิบัติของหินด้านบนอุโมงค์ จนทำให้การก่อสร้างอุโมงค์ในส่วนที่อยู่ระหว่างการค้ำยันส่วนบนในชั้นแรก (first lining ที่ประกอบด้วย steel ribs, reinforcement และ shortcrete) ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และพังถล่มลงมา

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า คณะทำงานฯ เห็นว่า งานก่อสร้างอุโมงค์เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้าง จึงเห็นสมควรให้พิจารณาดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำ ดังนี้ 1. ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของผนังอุโมงค์ (convergence) และหน้าผิว (face) ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่ให้ผลได้ใกล้เคียง real time ที่สุด 2. ใช้เครื่องวัด multipoint extensometer ติดตั้งเหนือจุดยอดของอุโมงค์ (crown) ในบริเวณ overburden ต่ำ ที่เป็นแบบอัตโนมัติ (automatic) เพื่อให้ได้ข้อมูลของการเคลื่อนตัวแบบเรียลไทม์ และใช้ในการเฝ้าระวัง 3. ก่อนการปฏิบัติงานในอุโมงค์ทุกครั้ง ให้มีการควบคุม และทบทวนวิธีการทำงานโดยผู้ควบคุมงานอย่างเข้มงวด และมีนักธรณีวิทยาอยู่ประจำหน้างาน (on site) เพื่อให้คำแนะนำในทุกช่วงของการก่อสร้าง

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

4. ในการปฏิบัติงานในอุโมงค์ทุกครั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการทำงาน (method statement) อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเสี่ยงที่ระบุไว้ในรายงานประเมินความเสี่ยง และ 5. กรณีมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่างานก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางโครงสร้างธรณีวิทยาที่สำคัญ เช่น รอยเลื่อน (fault zone) จะต้องทบทวนวิธีการทำงาน และวิธีการติดตาม (monitoring) ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะทางธรณีวิทยาที่พบ อย่างไรก็ตามปัจจุบันงานสัญญา 3-2 มีความคืบหน้า 77.09% เร็วกว่าแผน 2.71% มีกำหนดสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มิ.ย.68 โดยหลังจากเกิดเหตุดินถล่มภายในอุโมงค์คลองไผ่ กระทรวงคมนาคมได้ให้ รฟท. สั่งหยุดงานก่อสร้างจนกว่าจะมีผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของ รฟท. ซึ่งเหตุดังกล่าว รฟท. จะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องของการดำเนินการตามสัญญา รวมถึงการขยายระยะเวลา เนื่องจากการหยุดงานในช่วงดังกล่าวที่ผ่านมาต่อไป

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า คณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์ทางราง มีหน้าที่วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะมาตรการเชิงป้องกันให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับการขนส่งทางราง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมิให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นคณะทำงานฯ นี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผู้กระทำความผิด และไม่ให้นำผลของรายงานการวิเคราะห์สาเหตุไปใช้อ้างอิงในทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามการหาผู้กระทำความผิดเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ส่วนความผิดแห่งสัญญาจ้างเป็นอำนาจหน้าที่ของ รฟท. ซึ่งที่ผ่านมานายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ได้มอบหมายให้ รฟท. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีวิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. เป็นประธาน.

กรมรางquotชี้quotความแปรปรวนทางธรณีวิทยาquotต้นเหตุquotดินในอุโมงค์คลองไผ่ถล่มquotเดลินิวส์