【เว็บแดง】‘มีบวก!-มีลบ!’ลุ้นไป ‘เงินบาทแข็งค่า’ พา‘ใครดี?-ใครแย่?’ | เดลินิวส์
นักวิชาการที่ระบุถึงกรณีนี้กับ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” เพื่อสะท้อนต่อคนไทยคือ ผศ.ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการหลักสูตร aMBA (Analyst MBA) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่ง “ค่าเงินบาท” มีผลกับสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย ทั้งในภาพรวม ในส่วนของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ และในที่สุดก็ย่อมมีผลต่อประชาชนคนไทยทั่วไปด้วย
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์“ค่าเงินบาท” อาจ “อ่อนค่า แข็งค่า”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์กรณีดังกล่าวนี้ “ก็น่าทำความเข้าใจ”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภูษิต สะท้อนเรื่อง “ค่าเงินบาท”ผ่านทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” มาว่า ค่าเงินบาท หลังจาก “อ่อนค่า” ลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน แต่ ณ ตอนนี้มีการ “แข็งค่า” ขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าเงินบาทเคยอ่อนค่าสุดอยู่ที่ 37.25 บาทต่อ 1 คอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2567 แต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 32.91 บาท ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการ แข็งค่าขึ้นมารวดเร็วมาก โดยแข็งค่ามากถึง 11-12% ภายในเวลาไม่ถึง 5 เดือน ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น ค่าเงินบาทของไทยก็มีแนวโน้มที่อาจจะออกไปในทางที่เรียกว่า “ไซด์เวย์” หรืออยู่ในภาวะไม่มีทิศทางที่แน่นอน
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ผศ.ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่านั้น ผศ.ดร.ภูษิต ระบุว่า ปัจจัยในประเทศไม่ค่อยมีส่วนทำให้เปลี่ยนแปลง แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดจากปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งสาเหตุหลักทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกิดจากการที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณในการที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจริง ๆ ก็ลดลงมาแล้ว 0.50% มีผลทำให้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา และก็ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือเกิดจากการที่ เงินดอลลาร์สหรัฐไหลเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จากการที่หุ้นในตลาดหุ้นของไทยเกิดความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ตลาดหลักทรัพย์-ตลาดหุ้นไทยมีค่า P/E (อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ) ค่อนข้างต่ำ หุ้นในตลาดหุ้นเกิดความน่าสนใจ นักลงทุนก็กลับมาซื้อหุ้นในไทยมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามาในไทย นี่คือ “2 สาเหตุ” ทำให้ “เงินบาทแข็งค่า”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ถามว่า แล้ว “ทิศทางค่าเงินบาท” จากนี้ “จะเป็นไปอย่างไร?” ทาง ผศ.ดร.ภูษิต ระบุว่า “คงต้องกลับมามองที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าตกลงจะลดดอกเบี้ยตามหรือไม่ ซึ่งถ้าไทยไม่ลดดอกเบี้ยตาม ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง หากไทยมีการลดดอกเบี้ยลง ก็มีโอกาสที่อัตราแลกเปลี่ยนจะประคองตัวไปประมาณนี้”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ทางนักวิชาการท่านดังกล่าวยังได้สะท้อนย้ำกับ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” มาอีกว่า ผลที่จะเกิดขึ้นจากการที่ “ค่าเงินบาทแข็งค่า” นั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดย กลุ่มที่จะ “ได้รับผลในด้านบวก” คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ย่อมจะเกิดความได้เปรียบ เพราะเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น การนำเข้าสินค้าก็จะได้ในราคาที่ถูกลง ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ยานยนต์ อัญมณี เหล็ก พลาสติก เป็นต้น และ กลุ่มนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็จะมีต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำลง ด้วย ส่วน กลุ่มที่จะ “ได้รับผลด้านลบ” ก็คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้า
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์“แม้ประเทศไทยจะนำเข้าเครื่องจักร แต่ก็ส่งออกเครื่องจักรเยอะเหมือนกัน เพราะประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ อัญมณี โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรทั้งหลาย อย่างข้าว ยางพารา ผักผลไม้ต่าง ๆ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องไปแบบนี้ก็จะมีปัญหา เพราะทำให้สินค้าจากประเทศไทยแพงขึ้นในสายตาประเทศคู่ค้า ก็อาจลดการนำเข้า” ซึ่งหากเป็นแบบนี้ เศรษฐกิจไทยก็ย่อมจะได้รับผลกระทบ
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์และ ผอ.หลักสูตร aMBA ม.หอการค้าไทย ก็ชี้ “ผลลบจากการที่เงินบาทแข็งค่า” อีกด้าน คือ “การท่องเที่ยว”โดยระบุว่า ไทยคาดหวังว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาราว 35 ล้านคน จะมีรายได้ 1,818 ล้านล้านบาท แต่พอค่าเงินบาทแข็งขึ้น สิ่งที่คาดหวังไว้อาจไม่เป็นไปตามที่หวัง เพราะเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็จะมีผลต่อความรู้สึกของนักท่องเที่ยว เพราะค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย นักท่องเที่ยวที่ยังมาไทยก็จะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง หรืออาจจะเลือกไปประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่า และในทางตรงข้าม คนไทยอาจจะไหลไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายลดลง นี่ก็ผลอีกด้าน
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์“ผู้ประกอบการไทยก็ต้องปรับตัว หาวิธีรับมือให้ดี ต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยง” ทางนักวิชาการท่านเดิมระบุ และว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่คงไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนใหญ่มีสัญญาที่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ก่อนแล้ว แต่ที่จะได้รับผลกระทบหนักคือกลุ่มที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงไว้ซึ่งหลาย ๆ บริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกมักจะชะล่าใจเรื่องนี้
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภูษิต ได้แนะนำทิ้งท้ายมาด้วยว่า ผู้ประกอบการ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น นำนวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการผลิตมากขึ้น รวมทั้งเน้นการบริหารของเสียต่าง ๆ อีกทั้ง ควรเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การออกแบบเฉพาะ เพื่อจะทำให้สินค้าสามารถขึ้นราคาได้ ส่วน สินค้าเกษตรก็ต้องมีการเพิ่มมูลค่าอย่างการแปรรูป รวมถึง เพิ่มการทำตลาดออนไลน์ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งเงินบาทแข็งค่าไม่ได้แข็งขึ้นกับเงินทุกประเทศ ดังนั้น อาจลองเลือกคู่ค้าที่อาจจะมีความต้องการสินค้ามากขึ้นในอนาคต นี่ก็อีกวิธีที่มีการแนะนำ
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ก็ “หวังว่าทั้งรัฐทั้งธุรกิจจะรับมือได้”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์รับมือได้กับ “กรณีเงินบาทแข็งค่า”
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์โดย “ผลลบไม่เทสู่ประชาชน??”.
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์ทีมสกู๊ปเดลินิวส์
มีบวกมีลบลุ้นไปเงินบาทแข็งค่าพาใครดีใครแย่เดลินิวส์