【ufasociety】‘มองมุมใหม่’สู้วิกฤติ ‘ใช้เศรษฐศาสตร์’ น่าคิด‘แก้ภัยด้านน้ำ’ | เดลินิวส์

ทั้งนี้ ท่ามกลางน้ำตาประชาชน ท่ามกลางทุกข์ชาวบ้าน ในวงการเมืองกลับมีประเด็นร้อนที่เกี่ยวเนื่องกับ “ปัญหาน้ำท่วม” กรณีที่ถึงขั้นมีการร้องห่มร้องไห้กลางสภา แล้วก็มีการนำมาเป็นเรื่องล้อเลียนกัน จนเป็น “ดราม่าร้อนกลางทุกข์น้ำท่วมของประชาชน!!”…

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

การเมืองกรณีนี้คนไทยก็ตรองกันดู?
ที่แน่ ๆ คือ “ไทยยังต้องเร่งแก้ภัยน้ำ”
โดย “มุมวิชาการก็เสนอวิธีไว้ไม่น้อย”

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

กับการ “แก้ปัญหาภัยน้ำ” ในประเทศไทย กับกรณี “น้ำท่วม” นั้น ในขั้นเฉพาะหน้ายามนี้ประชาชนคนไทยก็ย่อมจะหวังว่าการเมืองทุกฝั่งฝ่าย ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือแม้แต่ฝ่ายแค้น จะ “ไม่เอาแต่เล่นเกมการเมือง” และจะ “ไม่มัวแต่ดราม่า” จะทำหน้าที่แต่ละฝ่ายโดยยึดเป้าหมายสำคัญเป้าหมายเดียวคือ “แก้ทุกข์น้ำท่วมของประชาชน” แล้วในขั้นต่อ ๆ ไปประชาชนก็ย่อมจะหวังว่าการ “บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยน้ำ” รูปแบบต่าง ๆ จะมีซัคเซสในระดับที่เพียงพอจะ “ป้องกันบรรเทาภัยน้ำ” ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น-ครอบคลุมในภาพรวมทั่วไทย …ซึ่งคนไทยก็ยังต้องรอดูกันไป?

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

อย่างไรก็ดี กับการ “แก้ปัญหาภัยน้ำ” นั้น วันนี้ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูล “ข้อเสนอแนะจากมุมวิชาการ” จะสะท้อนต่อข้อมูล “กรอบแนวคิด” ที่น่าสนใจกรอบหนึ่ง นั่นคือ… “ใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชื่อมโยงประเด็นน้ำ” เพื่อให้เกิดการ “พัฒนาอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ” ที่มุมวิชาการเคยมีการเสนอไว้เพื่อ “แก้ปัญหาภัยน้ำทุกมิติ”

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

สำหรับกรอบแนวคิดกรณีนี้ จริง ๆ ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็เคยสะท้อนต่อข้อมูลไว้บ้างแล้วเมื่อครั้งที่ไทยประสบ “วิกฤติภัยน้ำแล้ง” เนื่องจากแหล่งน้ำทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในระดับต่ำมาก ๆ จนเกิดข้อกังวลว่าอาจเกิด “ปัญหาแย่งชิงน้ำ” โดยทางนักวิชาการด้านวิศวกรรมน้ำได้เสนอให้ “นำหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาน้ำ” เป็นการเสนอไว้โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ นักวิชาการ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นนักวิจัย “โครงการรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำของประเทศไทย : ทรัพยากรน้ำกับการพัฒนาเศรษฐกิจ” ซึ่งน่าสนใจ

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

จากชุดข้อมูลโดย ดร.พงษ์ศักดิ์ มีการฉายภาพไว้ โดยสังเขปมีว่า… โลกมีแนวโน้มการเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการน้ำจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งน้ำเชื่อมโยงกับทุกอย่าง จึงมีมูลค่ามากกว่าที่คิด มีความเชื่อมโยงของน้ำกับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวโยงกับการพัฒนาสังคมและประเทศ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรเพื่อตอบสนองการพัฒนา ทุก ๆ กิจกรรมล้วนต้องการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางสังคม รวมไปถึงทางสิ่งแวดล้อม ขณะที่อีกมุมหนึ่ง…น้ำสำคัญในแง่ผลกระทบทางลบด้วย เช่น ภัยพิบัติด้านน้ำ สร้างผลกระทบ-ความเสียหายให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี โดยเฉพาะ “ปัญหาน้ำท่วม” ซึ่งในประเทศไทยประสบปัญหาภัยน้ำรูปแบบต่าง ๆ เกือบทุกปี และ ฉุดรั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยมาตลอด

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

นักวิชาการท่านเดิมระบุไว้อีกว่า… ความเป็นจริงแล้ว “น้ำมีมูลค่า” แต่เป็นมูลค่าที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยมองกัน เพราะมักคิดเสมอว่าน้ำจากธรรมชาติเป็นของฟรี แต่เมื่อยิ่งมีความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น วันนี้จึง “ต้องมองน้ำเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง” เพื่อที่จะให้มีการ “พิจารณาลำดับความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ-พิจารณาบนข้อมูลเดียวกัน” …ซึ่งนักวิชาการด้านวิศวกรรมน้ำท่านนี้เสนอไว้ให้ไทย “เปลี่ยนมุมมอง” ด้วยการ “มองน้ำให้เป็นเศรษฐศาสตร์” และภาครัฐควรมีหน้าที่ให้ข้อมูล-ข้อเท็จจริง โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนการทำงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับน้ำ โดยเฉพาะเมื่อ สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหารุนแรงมากขึ้น ทั้งจาก “น้ำแล้ง” และ “น้ำท่วม” ที่ในประเทศไทยล้วนมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

ทั้งนี้ ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ระบุไว้อีกว่า… ในเมื่อ สถานการณ์น้ำของไทยเปลี่ยนแปลงจากอดีตค่อนข้างมาก ดังนั้น การ “บริหารจัดการน้ำให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป” ไทยควร “ใช้หลักเพิ่มผลิตภาพของน้ำ (Water productivity)” ด้วย ผ่านแนวทาง-วิธีต่าง ๆ เช่น มีมาตรการเพิ่มมูลค่าผลผลิต หรือลดความต้องการใช้น้ำ โดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาสนับสนุนมากขึ้น เป็นต้น และที่สำคัญ “ต้องบริการจัดการอย่างเป็นธรรมบนฐานข้อมูลเดียวกัน” ด้วย

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

“ความเสียหายจากน้ำท่วม เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ฉุดรั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยนับตั้งแต่ปี 2532 ถึงปัจจุบัน ไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติด้านน้ำรุนแรงมากขึ้นทุกปี รัฐจึงควรพิจารณาเรื่องน้ำเป็นเป้าหมายหลักโดยควรใส่ไว้ในแผนของการพัฒนาประเทศ โดยถ้าหากไทยแก้ปัญหาด้านน้ำได้ จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วย” …เป็นอีกส่วนจากการเสนอไว้โดยนักวิชาการวิศวกรรมจัดการน้ำ ที่ก็น่าคิดกับข้อเสนอ “แก้ปัญหาด้านน้ำ” โดยใช้ “กรอบแนวคิด” นี้เข้ามาช่วยด้วย…

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

พึ่ง “เศรษฐศาสตร์ช่วยจัดการเรื่องน้ำ”
หวัง “แก้ภัย-กันภัย…อย่างเป็นธรรม”
ยังไงก็ “ดีกว่าหวังดราม่าการเมือง!!”.

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์

มองมุมใหม่สู้วิกฤติใช้เศรษฐศาสตร์น่าคิดแก้ภัยด้านน้ำเดลินิวส์