【slot168】ตึกเก่าเล่าเรื่อง “อัศวินภาพยนตร์” สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย | เดลินิวส์
เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่อาคารก่ออิฐถือปูน มีพื้นเป็นไม้แห่งนี้ถูกปิดทิ้งร้างไว้ ท่ามกลางความวุ่นวายของย่านการค้าอย่างตลาดโบ๊เบ๊-ยศเส ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ไร่ ใต้เงาร่มไม้ใหญ่ของต้นไทร จนวันนี้ไม่เพียงอาคารจะได้รับการปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่เรื่องราวเมื่อครั้งอดีตที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนรุ่นหนึ่งซึ่งต่างผูกพันกับอดีตที่มั่นของ “อัศวินภาพยนตร์” กำลังย้อนกลับคืนมาพร้อมกับการฟื้นคืนชีวิตของสิ่งปลูกสร้างที่มาในฐานะใหม่ “พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยอัศวิน”
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ปัจจุบัน หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล พระโอรสของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ ได้ทรงเข้ามาดูแลและปรับปรุงอาคารแห่งนี้ ทำให้ค้นพบเอกสาร เครื่องมือ และวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาและ
เผยแพร่ โดยทรงตั้งพระทัยที่จะเชื่อมโยงมรดกเหล่านี้เข้ากับมุมมองร่วมสมัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยได้ง่ายขึ้น
อีกทั้งทรงมีดำริปรับพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่เน้นการตีความใหม่ในด้านภาพยนตร์ การแสดง วรรณกรรม และดนตรี โดยจะใช้เป็นที่จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การแสดงภาพยนตร์ การเต้นร่วมสมัย และเวิร์กช็อป เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางศิลปะที่เข้าถึงได้ง่าย สำหรับคนยุคใหม่ ในชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “อัศวิน”
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์อาคารขนาด 4 ชั้น เรียกตามชั้นที่ลิฟต์จอดรับ-ส่ง แต่ที่จริงคืออาคาร 5 ชั้น เมื่อนับรวมชั้น G ที่เป็นชั้นล่างสุด เป็นอาคารเก่าที่ถือว่าทันสมัยในห้วงเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา เพราะด้านในมีลิฟต์ถึง 2 ตัว ตัวหนึ่งมีไว้เพื่อใช้ในการขนสิ่งของต่าง ๆ อีกตัวหนึ่งเป็นลิฟต์โดยสารที่ว่ากันว่าประตูลิฟต์ไม่เคยถูกเปิดออก
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์“ผมวิ่งเล่นอยู่ที่นี่ตั้งแต่เด็ก ชั้นล่างจะเป็นที่พักของคนที่เฝ้าและดูแลตึก ส่วนชั้นบนจะเป็นสถานที่ทำงานของเสด็จพ่อ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) ตั้งแต่เห็นมาลิฟต์โดยสารตัวนี้ก็ไม่เคยใช้งานได้ จนกระทั่งเข้ามา
ปรับปรุงอาคารจึงมีโอกาสให้ช่างเปิดประตูและซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้” ท่านชายปีใหม่-พันเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เริ่มต้นทรงนำชมอาคารสำนักงาน “อัศวินภาพยนตร์” ที่ผ่านการปรับปรุงจนกลับมาใช้งานได้ดั่งเก่า
ชั้นบนที่เป็นส่วนทรงงานของเสด็จพ่อที่ว่า หลัก ๆ อยู่ที่ชั้น 1 โดยมีห้องเลขานุการดักอยู่ด้านหน้า ก่อนจะเข้าไปสู่ห้องทรงงานถัดไปด้านใน ซึ่งทั้งหมดถูกรื้อออกจนเป็นห้องโถงโล่ง โดยระหว่างนั้นท่านชายปีใหม่ก็ได้ค้นพบชั้นลอย ซึ่งเคยถูกใช้เป็นโกดังเก็บฟิล์มภาพยนตร์ ด้วยความรู้สึกดูลึกลับที่สัมผัสได้ บันไดเสริมเพิ่มเติมใหม่จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังชั้นลอยที่ว่า ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดวางอุปกรณ์แคมปิ้งของ TANKstore ที่ให้ความรู้สึกคล้ายกับการเข้าไปอยู่ในบรรยากาศของภาพยนตร์แนวลึกลับผจญภัย
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ถัดมาที่ชั้น 2 วันนี้เป็นห้องโถงโล่งที่มีโปรเจกเตอร์ฉายหนังเก่าผลงานของอัศวินภาพยนตร์ ที่สามารถกู้ฟิล์มเก่ามารวมเป็นเรื่องได้อยู่ โดยมีเก้าอี้แบบโรงภาพยนตร์สมัยเก่าตั้งรอไว้ให้นั่งชมเพลิน ๆ ส่วนลึกเข้าไปด้านหลังสุดเป็นห้องที่ตั้งเครื่องฉายภาพยนตร์เก่าแก่ ซึ่งท่านชายปีใหม่ทรงบอกว่า เครื่องฉายภาพยนตร์เก่าเครื่องที่เห็นนี้ไม่ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่ใด เป็นของเก่าที่อยู่กับตึกนี้ โดยจะยังคงให้ตั้งอยู่ที่เดิมแม้ว่าจะใช้งานไม่ได้แล้วก็ตาม
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ส่วนถัดมาที่ติดกันมีเครื่องกรอฟิล์มภาพยนตร์ตั้งอยู่ อีกด้านคือ ห้องที่นำอุปกรณ์การตัดต่อฟิล์มที่เคยอยู่ส่วนอื่นของตึกมาจัดวางไว้
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์“เดิมห้องนี้เป็นห้องที่ปิดทึบ ไม่มีแสงใด ๆ เล็ดลอดเข้ามาได้เลย และจะเงียบสนิท โดยมีกระจกกั้นระหว่างห้องโถงด้านนอกกับห้องควบคุมข้างใน”
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ด้วยสภาพแวดล้อมที่ดูคล้ายกับเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก น่าจะเคยถูกใช้เป็นห้องที่ฉายภาพยนตร์เพื่อตรวจสอบมาก่อนด้วย นอกเหนือไปจากการใช้ในการอัดเสียงลงในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ซึ่งมีป้ายคอยบอกแจ้งการใช้งาน “กำลังอัดเสียง” ของเก่าดั้งเดิมเหนือประตูทางเข้า ซึ่งจะติดขึ้นขณะกำลังมีการอัดเสียงพากย์ด้านในที่ยังคงอยู่
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ส่วนชั้นที่ 3 นั้นเป็นพื้นที่ของ “อัศวินศิลปะการแสดง” โรงเรียนสอนการแสดงให้กับดาวดวงใหม่ที่จะก้าวขึ้นไปเจิดจรัสบนแผ่นฟิล์มในยุคนั้น ถือเป็นโรงเรียนการแสดงแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ ในยุคนั้นมี ป้าจิ๊-อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ เป็นครูใหญ่ ตามด้วยครูผู้สอนที่ใคร ๆ ก็รู้จักเช่นกันอย่าง ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ และ ปนัดดา
กัลย์จาฤก
ด้วยความที่เป็นพื้นที่ของโรงเรียนสอนการแสดง บนชั้น 3 นี้จึงมีเวทีขนาดย่อมอยู่ด้านหนึ่ง ขณะที่อีกด้านเป็นโถงกว้างที่เหมาะสำหรับการจัดวางเก้าอี้เพื่อรับชมการแสดงด้านบนเวที หรือเป็นโถงที่ไว้สำหรับการเรียนในเวลาปกติทั่วไป
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ระหว่างการชุบชีวิตอัศวินให้กลับมานั้น ท่านชายปีใหม่ยังได้พบกับเอกสารและหลักฐานที่สำคัญมากมายที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ การแสดงและดนตรีของไทย จึงดำริที่จะนำรากมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมในอดีต มาตีความ สื่อสารใหม่ร่วมกับ “พิเชษฐ กลั่นชื่น” ศิลปินและนักออกแบบท่าเต้นร่วมสมัย เพื่อเชื่อมเรื่องราวจากอดีต
ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการถกเถียง ครุ่นคิด สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมต่อยอดสู่คนรุ่นต่อไป โดยมีแนวร่วม Pichet Klunchun Dance Company ที่พิเชษฐก่อตั้งขึ้นเพื่อทำงานทางด้านศิลปะการเต้นและสร้างนักเต้นอาชีพ มาร่วมกันยึดพื้นที่ของพื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยอัศวินเพื่อจัดการแสดงเป็นคณะแรกบนชั้น 3 ที่ว่านี้
โชว์แรกที่ว่าคือ “เล่าเรื่องเมืองอัศวิน : ‘เงาะ รจนา’” การแสดงละครนอก ในภาพยนตร์เรื่องละครเร่ของคณะพ่อครูทับ ถูกสร้างใหม่ในวิธีการของคณะละครเร่พ่อครูพิเชษฐ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประกอบในกระบวนการแสดง ตั้งแต่การถ่ายภาพนักเต้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อปรับแต่งและแสดงผลในรูปแบบแกลเลอรีสามมิติ ซึ่งผู้ชมจะสามารถเข้าร่วมชมและสัมผัสกับนิทรรศการที่แสดงควบคู่กับการแสดงสดได้ภายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อค้นหาเนื้อคู่ที่แท้จริง ระหว่างโลกเสมือนจริงกับโลกความเป็นจริง
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์ก่อนจะต่อเนื่องด้วย “1923-2023” Lecture-Performance ที่ พิเชษฐ กลั่นชื่น สร้างสรรค์ขึ้นโดยการตีความใหม่ ที่ผสมผสานทั้งเทคนิคการแสดงแบบดั้งเดิมและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้ชมจะได้มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด เพียง 15 ท่านต่อหนึ่งรอบการแสดง ไม่เพียงแค่การรับชมการเคลื่อนไหว แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการถ่ายภาพและบันทึกประสบการณ์ด้วยตนเอง
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์นอกจากเปิดพื้นที่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ในการจัดการแสดง หรือนิทรรศการแล้ว ท่านชายปีใหม่ยังเปิดพื้นที่ต้อนรับผู้มาเยือน ที่ต้องการเข้ามาชมความสวยงามและมนต์ขลังของอาคารเก่าที่ได้รับการบูรณะใหม่แห่งนี้ โดยมีมุมกาแฟขนาดพอเหมาะไว้เป็นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจด้วย เข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ www.asvinbangkok.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวที่ Facebook : asvinbangkok และ IG : asvinbangkok.
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์หนึ่งตำนานหนังไทย
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงก่อตั้งบริษัทอัศวินภาพยนตร์ เป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2480 ภายใต้ชื่อ “ไทยฟิล์ม” และในปี พ.ศ. 2491 ได้ทรงพัฒนาเป็น “อัศวินภาพยนตร์” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 9 ซอยนาคราช ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร สถานที่แห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์ และดนตรีที่โดดเด่น ของวงการภาพยนตร์ไทย
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์อัศวินภาพยนตร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ไทยที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ภาพยนตร์ที่กลายเป็นตำนานแห่งความกตัญญู เสียสละ ได้รับการยกย่องและคัดเลือกให้เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติในปี พ.ศ. 2558 โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ส่วน เรือนแพ ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยระบบฟิล์ม 35 มม. ซูเปอร์ซีเนสโคป ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติในปี พ.ศ. 2555
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์อธิชา ชื่นใจ
ตึกเก่าเล่าเรื่องอัศวินภาพยนตร์สู่พื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเดลินิวส์