【เลขเด็ดหวยเด็ดงวดนี้ หวยไทยรัฐ แม่จําเนียร】ต่างรุ่น ต่างวัย ต่างอำนาจ ปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่อง | เดลินิวส์
ขณะที่ผู้ใหญ่ตั้งแต่รุ่นนั้นเห็นว่าค่านิยมของเขามันถูก ซึ่งน่าจะลงมาถึงรุ่น Gen X ( หรือ Y บางส่วน) ที่ยังพอยอมรับได้ เพราะผ่านการกล่อมเกลาด้วยชุดการสั่งสอน ชุดค่านิยมแบบนั้นมา โดยเฉพาะค่านิยมที่ว่า “เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด” คือต้องมีความเชื่อฟังผู้อาวุโส และผู้อาวุโสก็ต้องไว้ตัวไม่ลงไปสนิทเล่นหัวกับเด็กมาก เพราะเดี๋ยวจะ“เสียการปกครอง-ไม่ได้รับความเคารพ”
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์การทำความเข้าใจคนในแต่ละรุ่น ก็เหมือนการศึกษาประวัติศาสตร์ คือไม่ใช่เข้าใจแค่สถานการณ์ แต่ต้องเข้าใจวิธีคิด คนโตมาในรุ่นเบบี้บูม น่าจะมีความห่างเหินกับพ่อแม่พอสมควรเพราะค่านิยมแบบโบราณที่สร้างให้พ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณสูงสุด มีความไว้ตัวกับลูกระดับหนึ่งเพื่ออำนาจในการสั่งสอน รักและหวังดีต่อลูก ลูกห้ามเถียงห้ามเห็นต่าง และยิ่งบางครอบครัวมีลูกมากการปกครองก็ยิ่งเข้มงวด ( ให้ลองนึกภาพพ่อแม่จากหนังดังเรื่อง ธี่หยด จะเห็นภาพ ) ลูกไม่ได้เรียนสูงมาช่วยงานครอบครัว การประสบความสำเร็จคือได้ทำงานหลวง ( รับราชการ ) เพราะมียศฐา มีสวัสดิการหลวงเลี้ยง การถูกกล่อมเกลาแบบนี้มีผลต่อความคิดที่พอตัวเองโตขึ้น ก็“เว้นระยะ”กับผู้อ่อนอาวุโสกว่า ไม่ชอบให้เถียง
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์.. ต่อมา ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีนัยยะสำคัญ คือการเข้าถึงสื่อมวลชน ทำให้เกิดการเปิดโลกของเยาวชน เด็กใช้เวลากับเพื่อนที่โรงเรียนมากขึ้น เพื่อน สื่อ ก็มีอิทธิพลต่อความคิดของคนรุ่นนั้น
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์แล้วก็มีแนวคิดว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่ถูกคนรุ่นเก่าสั่งสอนมา ต้องได้รับการรื้อถอน เพราะมันเป็นเรื่องกดทับ กดดันให้ยอมจำนนต่ออำนาจ ขณะที่คนรุ่นใหม่ๆ เห็นภาพอันพึงประสงค์ของชีวิตที่เสรีมากขึ้น และการเข้าถึงสื่อที่ง่ายและเร็วขึ้นทำให้คนเราอยากมีตัวตนมากขึ้น วิธีคิดก็ยิ่งแตกต่างจากคนรุ่นเก่าที่สงวนตัว สงวนความคิด น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก การเป็นคนเปิดเผย ตรงๆ ดูจะได้รับการยอมรับมากกว่า ..นอกจากทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสาร สื่อในยุคใหม่ทำหน้าที่ในการสร้างสาธารณมติและการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การให้คนเข้ามามีความเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสังคม และกลายเป็นการผลักดันสังคมให้เปลี่ยนแปลง มีการนัดกันเคลื่อนไหวทั้งบนพื้นที่อินเทอร์เนตและพื้นที่จริง
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์ก็กลายเป็นว่า มีผู้ใหญ่หลายๆ คนมองว่า“เด็กสมัยใหม่ไม่น่าเอ็นดู” แล้วก็พาลไปว่าบางพรรคการเมืองล้างสมองเด็ก ซึ่งเรื่องนี้ก็แล้วแต่จะมองว่า การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองแนวเสรีนิยมฝั่งซ้ายมีผลต่อความคิดของคนรุ่นใหม่หรือไม่ ..แต่อย่างไรก็ตาม คนรุ่นเก่าก็ยังพยายามที่จะคงการใช้อำนาจของตัวเองไว้ ด้วยวิธีต่างๆ ตามวิธีคิดของเขาที่เห็นว่า มีเหตุผล สมควรแล้ว ซึ่งวิธีคิดของคนรุ่นใหม่ อาจมองว่า ไม่มีเหตุผลและดูน่าตลกเอาก็ได้
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์เมื่อไม่นานมานี้ มีดราม่าเกิดขึ้นในสังคมอุดมดราม่าไทยแลนด์ เรื่องชุดนักกีฬาไปโอลิมปิค ที่ออกมาเป็นทรงพระราชทาน สีฟ้า แบบแก่ ชาวเน็ตเอาไปตัดต่อรูปหัวตัวเองใส่กันใหญ่ มีข้อความเย้ยหยันขบขันประเภท “อบต.ไทยจะไปโอลิมปิค” แล้วก็ควานหาตัวกันใหญ่ว่า “ใครเป็นคนอนุมัติ” ดราม่าลามไปถึงตัวลายเสื้อ จนทางแบรนด์ที่ออกแบบลายต้องร่อนหนังสือชี้แจงว่า “ไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบตัดเย็บ” และมีรายงานข่าวต่อมาว่า ห้องเสื้อเก่าแก่แห่งหนึ่งเป็นผู้ตัดเย็บ ห้องเสื้อก็ออกมาปฏิเสธเช่นกัน..ไม่ใช่ฉัน สรุปคือจับมือใครดมไม่ได้ว่า ใครตัด
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์คือที่เขาขบขันกันใหญ่เพราะแบบแก่ การโพสต์ การจัดองค์ประกอบภาพอะไรแก่ แก๊ แก่..คนใส่เป็นทรงกระบอกมาเชียว ทั้งที่การแข่งกีฬานั้น ชุดมันควรจะมี curve ความสวยงามกล้ามเนื้อของนักกีฬาก็จะสวยกว่า แล้วก็มีการเอาไปเปรียบเทียบกับชุดพิธีการของประเทศอื่น โดยเฉพาะมองโกเลีย ที่นิตยสารชื่อดังหัวนอกจัดให้เป็นชุดโอลิมปิคที่ดีที่สุด เป็นการผสมผสานระหว่างความโมเดิร์นกับแบบและลายวัฒนธรรมชนเผ่า ( แม้ว่าจะมีข่าวว่า ชาวมองโกเลียไม่ค่อยปลื้ม เพราะมีการล็อคสเปคของผู้ตัดเย็บชุดก็ตาม )
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์ชุดทรงพระราชทานของไทยเหมือนว่าน่าจะใช้เฉพาะกับส่วนงานพิธีการ ชุดแข่ง ชุดเข้าสนาม อาจปรับเปลี่ยนโดยใช้ชุดจากแกรนด์สปอร์ตที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลายบ้านเชียง ซึ่งดูแล้วก็สวยอยู่ทั้งชุดใส่แข่งทั้งแจ็คเก็ต แต่ปรากฏว่า “ผู้หลักผู้ใหญ่” ในกรรมการโอลิมปิคออกมาแสดงท่าทีเรื่องชุดเจ้าปัญหาแบบ“แก้สถานการณ์ไม่ถูกใจสังคม” คือออกมาในเชิงกราดเกรี้ยวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งจริงๆ ไม่ต้องใส่อารมณ์มากก็ได้ สังคมสมัยนี้ไม่ใช่สังคมประเภทคนใหญ่คนโตออกมาโวยวายอะไรแล้วคนกลัว แต่ออกไปทาง “ยิ่งเต้นคนยิ่งล้อ” เสียจะมากกว่า กลายเป็นภาพลักษณ์ของคณะกรรมการโอลิมปิคหัวโบราณ ควรปลดออกให้คนใหม่ๆ มาทำได้แล้ว
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์ลามไปที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่า “กราดเกรี้ยวทำไมอ่ะ ?” คือแค่เพราะกระทบอัตตาหรืออย่างอื่น แล้วจะลามไปว่า ตกลงการบริหารจัดการค่าแบบ ค่าชุดนี่ เป็นอย่างไร เลือกตามรสนิยมใคร ถ้ารู้ว่า มันเชยก็เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาทำดีไหม ไหนๆ ประเทศไทยก็จะส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ เสื้อผ้า แฟชั่นก็เป็นด้านหนึ่งที่เอามาเล่นความคิดสร้างสรรค์ได้ตั้งเยอะ แล้วตกลงใครตัด ? งบประมาณเท่าไร ..และก็มีบางคนที่บ่นๆ ว่า พวกบอร์ดกีฬาหลายอย่าง มักจะเป็นพวกทหารแก่ไปนั่งคุม ไม่ทราบว่า ผลประโยชน์ต่อปีเท่าไร และทำไมต้องให้ทหารแก่คุม ? บางคนเขาสงสัยลามไปว่า “จริงๆ ความรู้ความสามารถมีหรือไม่ หรือจ้างที่ปรึกษาเป็นหางว่าว ประธานบอร์ดแค่ฟังกรรมการ เคาะตามที่ปรึกษาเสนอ”
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์เอาจริง เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า เหมือนคนยุคเก่าๆ แก้ปัญหาง่ายๆ ไม่เป็นเพราะอัตตาเยอะ ดราม่าแค่นี้จริงๆ ไม่ต้องอารมณ์ขึ้น ไม่ต้องไปด้อยค่าชุดประเทศอื่นเป็นลิเกเป็นงิ้ว ( คือก่อนจะด้อยค่าลิเก เขาเข้าใจคุณค่าของลิเกในแง่ของความเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยหรือไม่ และเขาทราบหรือไม่ว่า นักแสดงลิเกดังๆ นี่รายได้เท่าไร ลิเกอาจเป็นต้นกำเนิดของวิธีคิดแบบแม่ยก ซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลในวงการบันเทิงปัจจุบันด้วยซ้ำ เปลี่ยนเป็นคำว่า เปย์ศิลปิน ) ..มีดราม่าก็แค่บอกว่า “สังคมว่าแบบนี้เหรอครับ อืม ก็จะรับไปพิจารณา และแก้ไขให้คนไทยชอบ และภูมิใจมากขึ้น” แค่เนี้ย.. ดราม่ามันก็ไม่แรง
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์อัตตาของคนเรา บางครั้งไม่ใช่แค่เรื่องวัย แต่มาจากยึดมั่นในเกียรติยศ อำนาจ ค้ำคอไว้ แบบใครไม่คล้อยตาม และยังกระด้างกระเดื่องถือว่าเสียเหลี่ยม เสียเกียรติ ผลคือ การยิ่งดึงดันจะใช้อำนาจในการแก้ปัญหามันจะขยายช่องว่างความไม่เข้าใจระหว่างวัยกันมากขึ้น เพราะชี้ให้เห็นว่า “คนแก่ก็ไม่ฟังเสียงคนวัยรุ่น” เอาแต่เรียกร้องว่าตัวเองถูก ยกข้ออ้างอาบน้ำร้อนมาก่อนๆ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมันเร็วมาก ..เทคโนโลยีเปลี่ยน นิสัยคนเปลี่ยน เอาแค่ง่ายๆ เรื่องการเข้าถึงการสื่อสารได้ง่ายด้วยการพัฒนาอินเทอร์เนตและสมาร์ทโฟน มันส่งผลถึงระดับการเปลี่ยนวิธีคิดของรุ่นทีเดียว
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์การพยายามเอาชนะแบบคนเก่าๆ แก่ๆ บางทีมันกลายเป็นภาพโศกนาฏกรรม ที่ไม่ได้หมายถึงใครตาย แต่คือการพยายามยึดอัตตาจนนอกจากปัญหาแก้ไม่ได้แล้วตัวเองยิ่งพัง ( โศกนาฏกรรม หรือ tragedy เป็นพลอตเรื่องที่ว่าด้วยตัวเอกที่ต้องมาพังเพราะข้อบกพร่องหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งเดียว ถลำลึกเข้าสู่หายนะ..เอากลิ่นอายแบบไทยๆ ก็บ้านนางเอกในละคร“ขมิ้นกับปูน”ที่ข้อบกพร่องคือตัวพระยาอภิบาล หัวหน้าครอบครัว ยึดมั่นในเกียรติศักดิ์ศรีตัวเองจนไม่สามารถพาครอบครัวไปตลอดรอดฝั่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ ) ก็อย่างคนใหญ่คนโตรายหนึ่งที่ไปด้อยค่าชุดมองโกเลีย ต่อมา ลูกหมั่นไส้ทำให้พอเขาพลาด ก็ถูกชาวเน็ตดูถูกกลับเรื่องปล่อยบ้งที่ว่านักบอลสเปนจริงๆ เกิดที่ยะลา
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์การ“เอาชนะ”ที่ดูแย่มาก บางครั้งออกมาในรูปเรื่องอื่นแพ้ คนไม่แพ้ เลยใช้อำนาจข่มเหงคนศักดิ์ต่ำกว่า อย่างเมื่อครั้งหนึ่ง มีการนำเสนอข่าวในเชิงตลกๆ ว่า ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรายหนึ่งมีบัตรประชาชนที่อำเภอออกให้ผิดพลาด ไปเกิดวันที่ 30 กุมภาพันธ์ ซึ่งมันก็เป็นเรื่อง “ถี่ลอดตาช้าง” บางทีก็มีพลาดกันได้ ก็แค่ขำๆ และแก้ไขกันไปก็จบ
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์ปรากฏว่าไม่ใช่แบบนั้น รมว.มหาดไทยขณะนั้น คือนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ออกมากราดเกรี้ยวทำนองว่า “ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านก็เป็นกลไกของมหาดไทย ทำไมถึงเอาเรื่องแบบนี้มาทำให้ดูเหมือนระบบทะเบียนของมหาดไทยเสื่อมเสีย” คือระดับรัฐมนตรี ทำท่าจะเอาเรื่องผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน..ก็คิดดูแล้วกันว่า “ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คนบ้านนอกซื่อๆ ตาดำๆ” เขาจะรู้สึกอย่างไร กลัว ตกใจ เสียใจ..พอ “ผู้ใหญ่” เล่นใหญ่เกินเบอร์แบบไม่มีพรหมวิหาร 4..ซึ่งเป็นธรรมะของนักปกครองประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา กับ “ผู้น้อย” จากเรื่องขำๆ เล็กๆ น้อยๆ มันกลายเป็นภาพการใช้อำนาจในการข่มเหงไปเสียอย่างนั้น และทำให้ผู้น้อยเป็นทุกข์
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์เมื่อคิดถึงเรื่องนี้ก็รู้สึกเสียดาย ถ้าเป็นปี พ.ศ.นี้ อาจเกิดกรณี “มุตาไม่ยอมเป็นเหยื่อของแกอีกต่อไป” คือกระแสชาวเน็ตนั่นแหละจะสับแหลก มท.1 ว่าเล่นใหญ่เกินเบอร์ ไม่เห็นใจชาวบ้าน อาจโจมตีต่างๆ ลามไปมีใครไปขุดตอนทำอะไรบ้งๆ มาเล่นบ้างแบบคนใหญ่คนโตในคณะกรรมการโอลิมปิคถูกชาวเน็ตแซวอยู่ในขณะนี้เรื่องนักบอลสเปน ..จะว่าคนรุ่นใหม่กระด้างกระเดื่อง..มันก็แล้วแต่ว่า จะใจกว้างในการนิ่งฟังก่อน แล้วค่อยมีปฏิกิริยาหรือไม่ ถ้าเริ่มจากวิธีคิดว่า วัยวุฒิไม่มีปัญหาต่อการพูดคุย ก็ต้องปรับจูนให้เข้ากันให้ได้ทั้งสองฝ่าย
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์คนรุ่นเก่า บางเรื่องก็อย่าเล่นใหญ่เกินเบอร์ว่าคนรุ่นใหม่งี่เง่าไม่เชื่อฟัง เปิดใจฟังกัน อย่าลืมว่า มันมีตัวแปรหลายอย่างที่ทำให้สังคมเปลี่ยนไป และวิธีคิดคนเปลี่ยน คนรุ่นใหม่เอง ก็เปิดใจรับฟังคนรุ่นเก่าที่เขาให้เหตุผลบ้าง เช่น เรื่องความสำคัญของระเบียบวินัย หรือไม่ก็ชี้แจงในสิ่งที่ยังไม่มีความเข้าใจกันด้วยวิธีที่ไม่ใช่การด้อยค่า หยุดฟังกัน ชี้แจงกัน และเข้าใจความแตกต่างทางความคิด แล้วความแตกต่างระหว่างรุ่นจะอยู่กันได้ อาจเป็นเรื่องอุดมคติแต่ถ้าทำได้ในบางประเด็นทางสังคมก็ดี
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์ไม่มีชุดความคิดไหนถูกต้องทั้งหมดหรอก ประสบการณ์และวิธีคิดของรุ่นเป็นตัวกำกับมันอยู่.
ต่างรุ่นต่างวัยต่างอำนาจปัญหาที่ทำคนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องเดลินิวส์………………………………………………………
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”