【อาม่าให้ลาภ】เปิดกลยุทธ์ธุรกิจอาหาร"เพนต์พอยต์"หลัก “ฟู้ดเวสต์” | เดลินิวส์
เอส แอนด์ พี ประกอบธุรกิจ เบเกอร์รี่ และอาหารมากว่า 50 ปี นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 1989 ได้จัดตั้งสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2018 กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และทิศทางการพัฒนาความยั่งยืนของโลก ได้แก่ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งมีทั้งหมด 12 ข้อ เอส แอนด์ พี ดำเนินการสอดรับกับความยั่งยืนในใน 7 หัวข้อ อาทิ 1.สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 2.ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ 3. ร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดโรดแมปเ(Roadmap )เรื่องความยั่งยืนในปี 2016 มีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality )ปี2060 และปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions ) ปี 2065
มณีสุดา ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน ) กล่าวว่า บริษัทมุ่งให้เกิดความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การจัดซื้อ กระบวนการผลิต คลังสินค้าและระบบขนส่ง โดยได้ดำเนินการอย่างจริงจังในช่วงโควิดที่กำลังซื้อลดลง มีการระดมความคิดในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากโควิดจบรูปแบบการรับรู้รายได้ของธุรกิจอาหารเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เดิมลูกค้ามาทานอาหารในร้าน แต่ขณะนี้เปลี่ยนไปนิยมการทานอาหารเดลิเวอร์รี่มากขึ้น จนยอดขายดิลิเวอร์รี่ทำรายได้ขึ้นมา30-40 เปอร์เซนต์จากเดิมมีแค่3-4 % ทำให้รูปแบบการลงทุนเปลี่ยนแปลง แต่วันนี้ธุรกิจจะอยู่ได้นักลงทุน ผู้บริโภคจะหันมาถามว่าบริษัทได้ทำอะไร เพื่อลูกหลานในอนาคตแล้วหรือยัง ดังนั้นเป้าหมายการทำธุรกิจจะทำให้ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน
“เดิมที่การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบมีที่มาจากบริษัทใหญ่ ได้ปรับเปลี่ยนไปจัดซื้อจัดหากับชุมชนโดยตรงจากเกษตรกร นอกจากนี้ยังเข้าไปส่งเสริมให้เกษตกร มีความรู้ไปกับเรา นำเครื่องจักรลงไปช่วยเพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) ขณะที่ฝั่งโรงงานใหญ่ของเอส แอนด์ พี เริ่มจากการติดตั้งโซลาร์รูฟ และจากการเปลี่ยนมาโซลาร์รูฟทั้งหมดทำให้บริษัทประหยัดค่าไฟไปแล้วประมาณ10ล้านบาท ซึ่งบริษัททำเรื่องไคลเมทเชน (Climate Change )ก่อนที่รัฐบาลจะพูดเรื่องไคลเมทเชน โดยเริ่มต้นใช้พลังงานสะอาดมาตั้งแต่ปี2016 ตั้งแต่รัฐบาลยังไม่มีโรดแมป เริ่มต้นในยุคที่โซลาร์เซลยังมีราคาสูง ขณะเดียวได้บริษัทรับการส่งเสริมจากระทรวงพลังงานด้วยในยุคนั้นด้วย ”
มณีสุดากล่าวว่า ตอนนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานสีเขียวทุกแห่ง รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ ได้ทำระบบศูนย์กระจายสินค้าอัจฉริยะเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และมีความตั้งใจว่าต้องการเปลี่ยนรถขนส่งเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด แต่ตัวเทคโนโลยียังไม่สนับสนุน เพราะรถส่งอาหารต้องเป็นรถห้องเย็น ซึ่งใช้พลังงานสูงกว่า ขณะที่ระยะวิ่งของรถไฟฟ้ายังน้อย ทำให้ขนส่งไปต่างจังหวัดไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำคือปรับเส้นทางการขนส่งเบเกอร์รี่ใหม่ทั้งหมด แต่ก่อนมีโรงงาน 4 แห่ง ล่าสุดเปลี่ยนมาเป็นรวมศูนย์ และปรับเปลี่ยนจัดเส้นทางขนส่งอย่างน้อย1เส้นทางต้องส่งได้ 5-6 เอาต์เลต เพราะเบเกอร์รี่ผลิตทุกวัน และต้องขนส่งไปทันยังสาขาเพื่อพร้อมขายวันต่อวัน
สำหรับหน้าร้านได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แพคเกจจิ้งทั้งหมด เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก 97% แล้ว และส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดการใช้ถุงพลาสติก โดยมีถุงผ้าจากชุมชนมาขายในราคาถูก ซึ่งการทำแผนความยั่งยืนเมื่อปี2018 ใช้งบประมาณที่น้อย โดยเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในองค์กร พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เริ่มจากการสิ่งที่ง่ายๆใช้เงินน้อย เช่นให้หน้าร้านแยกขยะจนต่อยอดโรงงานสีเขียว ร้านอาหารสีเขียวทำให้ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ในปี 2022
หลังจากนั้นมีการทำ CFO (chief financial officer) มีการวัดการปล่อยคาร์บอนเครดิตในโรงงาน ศูนย์กระจายสินค้า ภาคการขนส่งครบทั้งองค์กรเมื่อปี 2023 หน่วยที่ยากที่สุดสำหรับธุรกิจอาหารคือการเก็บ ตัวเลขการปล่อยคาร์บอนฯในพื้นที่เอาต์เลต ซึ่งบริษัทมีประมาณ 400 จุดเพราะรูปแบบการเก็บข้อมูลต้องมีรายละเอียด ทั้งการใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้า รวมทั้งการเดินทางของพนักงาน การใช้สารทำความเย็น ทุกอย่างที่นับอยู่ในรูปแบบที่แตกต่าง เนื่องจากร้านอยู่ในพื้นที่ต่างกันทั้งรพ.ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า แสตนอโลน ถือว่าเป็น เพน พอยต์ (Pain Points ) หรืออุปสรรค์ของธุรกิจที่มีเอาต์เลต
เปิดกลยุทธ์ธุรกิจอาหารquotเพนต์พอยต์quotหลักฟู้ดเวสต์เดลินิวส์สำหรับธุรกิจอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะวัตถุดิบที่ได้มาไม่ว่าจะเป็นผัก เนื้อสัตว์ ล้วนปล่อยคาร์บอนในจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการตั้งเป้าการปล่อยคาร์บอนฯเป็นศูนย์ของบริษัทยังดูไกลกว่าเป้าของรัฐบาล
ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน )กล่าวต่อว่า บริษัทได้ให้ความสำคัญในเรื่อง Circular Ecomony ของเหลือทั้งหมดจะนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ที่เด่นชัดคือ น้ำมันใช้แล้ว นำไปร่วมโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง”กับบางจากฯ เพื่อผลิตเชื้อเพลิงอากาศยั่งยืน (SAF)ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุดถึง 80 % ทำแล้ว 1 ปีส่งน้ำมันใช้แล้วได้ประมาณ 100 ตัน และสามารถสร้างรายได้ 2.5 ล้านบาท ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 140 ตัน ซึ่งผู้รับน้ำมันจากเอส แอนด์ พี แจ้งกลับว่าเป็นน้ำมันที่สะอาดที่สุดในบรรดาน้ำมันที่รับไป ช่วยสะท้อนภาพออกมาว่าเอส แอนด์ พี เป็นอาหารปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาหารจะมีฟู้ดเวสต์จำนวนมาก ซึ่งสร้างก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูง การแก้ปัญหา เน้นหาพันธมิตรมาช่วย และใช้ระบบ อีออเดอร์ ในการสั่งสินค้าจากเดิมใช้ระบบให้ผู้จัดการสั่งผลิต ทำให้ฟู้ดเวสต์ลดลงประมาณ 15 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้ยังมีการส่งต่ออาหารให้ชุมชนผ่าน มูลนิธิ SOS ทำมาแล้ว4 ปี ขณะนี้ทำได้ 88 สาขา โดยตั้งเป้าขยะอาหารต้องลดลง20 %
“เรามีความหวังว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยี เรื่องตัวคาร์บอนแคป (Carbon Cap ) หรือรูปแบบการกักเก็บคาร์บอนฯ ที่พาองค์กรไปสู่การปล่อยคาร์บอนฯเป็นศูนย์ จะเห็นว่าภายใน3 ปี ที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมพัฒนาไปเร็วมาก มีความหวังทุกธุรกิจในทุกภาคส่วนจะได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ” มณีสุดา กล่าวทิ้งท้ายให้มุมมองในภาพอนาคต เพื่อพาธุรกิจอาหารให้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ตามที่ตั้งเป้าไว้
เปิดกลยุทธ์ธุรกิจอาหารquotเพนต์พอยต์quotหลักฟู้ดเวสต์เดลินิวส์