【บอลล็อค】เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา | เดลินิวส์

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรณีว่างงานต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน รวมถึงผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจาก 7 กรณี ดังนี้ 1.ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3.ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 4.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 5.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 6.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และ 7.ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

เช็กสิทธิกรณีว่างงานกรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทนหากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาเดลินิวส์Happy young asian man at home looking at cellphone, with emotion of winner or victory, financial promotion sports betting. The man happily exclaims while playing the game. Excited with joy, celebrating success

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ดังต่อไปนี้ กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่หากผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

เช็กสิทธิกรณีว่างงานกรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทนหากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม การยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนทุกกรณี ผู้ประกันตนจะต้องยื่นเรื่องขอรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) และหนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถรับเงินทดแทนได้สะดวกมากขึ้นด้วยการแจ้งบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนได้ทุกธนาคาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.sso.go.th และ Line@ssothai

เช็กสิทธิกรณีว่างงานกรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทนหากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาเดลินิวส์