【ดาวโจนส์】กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอน “ Climate Change” | เดลินิวส์
บทบาทภารกิจของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) คือการขับเคลื่อนประเทศตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ทั้ง Mitigation และ Adaptation ในมิติต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในทุกระดับตั้งแต่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม การเกษตร และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานตาม Article 6 หรือ มาตรา 6 ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญและจำเป็นในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Climate Change ได้แก่ เด็กและเยาวชนในทุกระดับ
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์เมือวันที่27 ส.ค.67 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดงานเปิดตัวคู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ: Active Learning on Biodiversity and Climate change เป็นคู่มือครู เรียนรู้ Climate Change
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (อสส.) กล่าวว่ากรมฯได้ให้ความสำคัญและทำงานในภาคการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ Eco School โครงการ Zero Waste School เพื่อสนับสนุนหน่วยงานหลักอย่างกระทรวงศึกษาธิการ ในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ไม่ได้เรียนเพื่อแค่รู้ แต่เรียนแล้วต้องนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือ Climate Literacy
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์. ดร. พิรุณ กล่าวต่อว่า กรมฯ จึงได้ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน โดยมีทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง Climate Education สำหรับประเทศไทยเช่นเดียวกันกับกรม จึงได้ร่วมกันจัดทำสื่อการสอน คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ: Active Learning on Biodiversity and Climate change เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนเรื่อง Climate Change สามารถนำไปประยุกต์หรือบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนได้ โดยจะช่วยให้ครูเปิดมุมมองการสอนเรื่องของสิ่งแวดล้อมและเรื่องของ Climate Change ให้เป็นเรื่องสนุก สามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเด็กได้ เน้นไปที่การเรียนรู้เรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะในท้องถิ่นของตนเอง ได้เรียนรู้ในพื้นที่จริง ได้ลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้ธรรมชาติเป็นสื่อการเรียนรู้ เกิดความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และได้รับประสบการณ์ตรงหรือที่เรียกว่า Active Learning พร้อมตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์“หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษานี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความรับผิดชอบต่อโลก รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดความตื่นตัวต่อสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเรื่อง Climate Change ให้พร้อมตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในอนาคต”
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์ด้านนางเซเวอรีน เลโอนาร์ดี รองผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานของสหประชาชาติที่ได้รับมอบอำนาจให้คุ้มครองสิทธิของเด็ก ซึ่งรวมถึงสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม และเล็งเห็นว่าพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เด็ก เยาวชนเรื่อง Climate Change เริ่มจากการศึกษา และพื้นฐานความเข้าใจถึงผลกระทบ แนวทางการรับมือ รวมถึงวิธีการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบ และในฐานะภาคีหลักในการร่วมจัดทำคู่มือในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการขับเคลื่อนเรื่อง Climate Education สำหรับประเทศไทย และยังคงมีแผนการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคตอีกด้วย
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Climate Change โดยการผลักดันให้มีการบรรจุเนื้อหาหรือการพัฒนาเป็นหลักสูตรในระบบการศึกษา รวมทั้งการปรับโครงสร้างหลักสูตรแกนกลาง ฐานสมรรถนะต่าง ๆ ของผู้เรียน ให้เป็นไปตามทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นสื่อการสอนที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนเรื่อง Climate Change สามารถนำไปประยุกต์หรือบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในอนาคต
กรมโลกร้อนเปิดคู่มือครูสอนClimateChangeเดลินิวส์