【เลขดับทุกสำนัก】“ดร.รักษ์” หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียน แนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่ | เดลินิวส์

เมื่อวันที่  21 ส.ค. ที่ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ นสพ.เดลินิวส์ และ เดลินิวส์ออนไลน์  จัดงานเสวนาเดลินิวส์ ทอล์ก 2024 (Dailynews Talk 2024) ครั้งที่ 3 ของปีนี้ ในหัวข้อเรื่อง “THAILAND : FUTURE AND BEYOND…ก้าวต่อไปของประเทศไทย” มี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ถอดรหัส…โอกาสเศรษฐกิจไทย” และมีเวทีเสวนาในหัวข้อ “ฝ่าลมต้านเศรษฐกิจ…สู่การเติบโตที่ยั่งยืน” โดยมี นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

พร้อมด้วย น.ส.ฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และนายพชรกฤษฏิ์ ชื่นชม ประธานบริหาร บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ร่วมวงเสวนา

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า  เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ยังเติบโตต่ำแค่ 2%  ถือว่าอยู่ในช่วงผงกหัวขึ้น  แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งถ้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ทาง โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะ แน่นอนว่าเรื่องสงครามการค้าเกิดขึ้นแน่ ประเทศจีน จะไม่มีที่ระบายสินค้า ก็ต้องส่งออกมายังประเทศพันธมิตรเพื่อนบ้าน สินค้าจีนจะทะลักในอาเซียน  ทำให้ไทยต้องมองหาตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศใหม่ๆ ที่มีโอกาสเติบโต เช่น กลุ่มซีแอลเอ็มวี  อินเดีย แอฟริกา เป็นต้น ซึ่งญี่ปุ่นเข้าไปยังภูมิภาคแอฟริกา ตั้งแต่ 15 ปีแล้ว เป็นเศรษฐกิจที่มีโอกาสเกิดใหม่

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

“สิ่งที่ประเทศไทยต้องกลับมามอง คือ  สินค้าไฮเทค ที่ยังมีสัดส่วนน้อย ไม่เกิน 25% ขณะที่คู่แข่งเพื่อนบ้านมีสัดส่วนส่งออกไป 40% แล้ว และสินค้าสีเขียวยังน้อย  ผู้ประกอบการสินค้าสีเขียวที่ผันตัวไปเป็นผู้ส่งออกยังมีน้อยแค่ 1% เท่านนั้น  หากสามารถปรับตัวกลายเป็นผู้ส่งออกได้ จะมีรายได้มากกว่าขายในประเทศอย่างเดียวถึง 2.5 เท่า ผู้ประกอบการจึงควรมองต่างประเทศมากขึ้น”

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

ดร.รักษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้หากมองในส่วนของผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปต้องการสินค้าสีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะจ่ายกับสินค้ากลุ่มดังกล่าวสูงถึง 80% ในการซื้อสินค้าที่สนับสนุนความยั่งยืน  เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่กำลังมา ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง เนื่องจากประเทศต่างๆ มีกฎหมายและระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว มีการกำหนดภาษีคาร์บอนฯ  ต้องนำไบโอพลาสติกมาใช้  ถือเป็นกำแพงในการนำสินค้าเข้าไป ถ้าไม่ปรับตัวจะมีต้นทุนที่สูงกว่า และสูญเสียตลาดส่งออกได้

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

ผู้ประกอบการส่งออกของไทย ต้องมองไปยังตลาดใหม่ๆ มากกว่า 5 ประเทศตลาดหลัก  เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ที่เศรษฐกิจเติบโตสูง ประชากร 40% อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ที่ต้องกินต้องใช้ รวมถึงตลาดในตะวันออกกลาง ที่เติบโตสูง รายได้เงินในกระเป๋าประชากรมากกว่าคนไทย 7 เท่า และยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ต่างจากตลาดเก่า เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ โดยสินค้าที่มีโอกาสในตลาด คือ สินค้าที่เกี่ยวกับการรักษ์โลก ดิจิทัล และสุขภาพ ซึ่งในส่วนของสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ไทยก็มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วต้องรักษาความเป็นผู้นำไว้

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์

“เมื่อผู้ประกอบการสามารถทรานส์ฟอร์มตัวเองได้ให้มีกรีน ดีเอ็นเอ จะมีโอกาสใหม่ๆ  มีสินเชื่อซอฟต์โลนจากภาครัฐสนับสนุน ทั้งการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเป็นโรบอท ออโตเมชั่น การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสีเขียว ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ  4-5% เท่านั้น ซึ่งหากผู้ประกอบการเปลี่ยนสินค้าให้มารักษ์โลก มีแพ็กเกจที่ย่อยสลายได้ สามารถตั้งราคาขายที่สูงขึ้นได้ และเปิดตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศได้ จะช่วยให้มีรายได้เติบโตและยั่งยืนได้” 

ดรรักษ์หวั่นสงครามการค้าทำสินค้าจีนทะลักอาเซียนแนะผู้ส่งออกหาตลาดใหม่เดลินิวส์