【slot ufa】ปัญหา เศรษฐกิจ สปป.ลาว และทางออกจากวิกฤต – THE STANDARD
แม้เศรษฐกิจของ สปป.ลาว จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1990 จนถึงปี 2019 ที่ระดับ 7% ซึ่งนั่นทำให้ สปป.ลาว พัฒนาขึ้นจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดมาเป็นประเทศกำลังพัฒนา และทำให้เปลี่ยนสถานะจากประเทศรายได้ต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (Lower-Middle Income) หากแต่หลากหลายปัจจัยก็ทำให้เศรษฐกิจ สปป.ลาว เข้าสู่ภาวะชะงักงันและถดถอยต่อเนื่องตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิดในปี 2020 จนถึงปัจจุบัน
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ขนาดของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของ สปป.ลาว หดตัวลดลงจาก 1.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 เป็น 1.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 รายได้เฉลี่ยของประชาชนลาวลดลงจาก 2,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี เหลือเพียง 1,858 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน และค่าเงินกีบก็อ่อนค่าจาก 8,550 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 สู่ 22,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน (เดือนกรกฎาคม 2024) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นจาก 3% ในปี 2019 สู่ 31.2% ในปี 2023 (ลดลงมาเป็น 26.15% ในเดือนมิถุนายน 2024)
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ภาครัฐของ สปป.ลาว มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด ซึ่งทำให้หนี้สาธารณะของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้นจาก 69% ของ GDP ในปี 2019 ไปสู่ระดับ 108% ของ GDP ในปี 2024 (มูลค่าหนี้สาธารณะประมาณ 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ ณ ปลายปี 2023 สปป.ลาว มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลืออยู่ที่ระดับ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือเทียบได้กับรายจ่ายของประเทศเพียงประมาณ 1.5 เดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐาน)
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
หนึ่งในคำถามสำคัญคือ เพราะเหตุใด สปป.ลาว ถึงแทบจะไม่สามารถรับมือกับวิกฤตโรคโควิดได้ และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง จากการสังเกตการณ์และการวิเคราะห์ของผู้เขียนพบว่าสภาวะเช่นนี้มีสาเหตุสำคัญมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตDollarization หรือ สภาวะที่ประชาชนลาวไม่ใช้เงินกีบ ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ สปป.ลาว มักจะดำเนินไปโดยใช้เงินตราต่างประเทศเป็นทั้งหน่วยในการวัดมูลค่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นเครื่องมือในการสะสมมูลค่า โดยเงินตราต่างประเทศที่มีบทบาทสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ เงินหยวนของจีน และเงินบาทของไทย ซึ่งสภาวะเช่นนี้ทำให้กระทรวงการคลัง และธนาคารกลางของ สปป.ลาว ไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตสปป.ลาว ไม่มีภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างรายได้ รายได้หลักของ สปป.ลาว มาจากการขายพลังงานไฟฟ้า สินแร่ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่ สปป.ลาว แทบจะไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา ราคาสินค้าเหล่านี้ถูกกำหนดซื้อขายในตลาดล่วงหน้า
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจ สปป.ลาว เป็นเศรษฐกิจขนาดเล็ก ทำให้ไม่ค่อยมีภาคการผลิตเกิดขึ้นภายในประเทศ สปป.ลาว พึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเกือบทุกรายการ ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือน พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ) วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบตั้งต้นในกระบวนการผลิต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ทั้ง 3 สาเหตุนี้ทำให้ สปป.ลาว มีเศรษฐกิจที่พึ่งพาต่างประเทศสูง และไม่มีอิสระเพียงพอในการกำหนดนโยบายได้ด้วยตนเอง
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องหมายเหตุตรงนี้ด้วยคือ ณ ปัจจุบันมีความพยายามของสื่อหลายสำนักที่ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการข่าวสารข้อมูล (Information Operation: IO) จากประเทศมหาอำนาจที่มีความขัดแย้งในทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ในระดับโลก ใช้วิกฤตเศรษฐกิจใน สปป.ลาว เพื่อชี้นิ้วกล่าวโทษ โดยพุ่งเป้าไปว่าปัญหาของเศรษฐกิจ สปป.ลาว เกิดจากกับดักหนี้ที่ สปป.ลาว เป็นหนี้จากโครงการก่อสร้างระบบรถไฟจีน-ลาว และจะถูกยึดระบบรถไฟดังกล่าวไปเป็นของจีน ทั้งที่โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในรูปแบบของการลงทุนร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่าย คือทั้ง สปป.ลาว และจีน ดังนั้นความเป็นเจ้าของและการรับผิดชอบภาระหนี้จึงเป็นของทั้ง 2 ประเทศอยู่แล้วตั้งแต่ต้น โดยจีนถือหุ้น 70% และ สปป.ลาว ถือหุ้น 30% ดังนั้นภาระหนี้ของ สปป.ลาว ในโครงการมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนี้จึงตกอยู่กับ สปป.ลาว ประมาณ 1.4-1.6 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (เทียบกับยอดหนี้สาธารณะรวมของ สปป.ลาว ที่ระดับ 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดังนั้นหนี้จากโครงการรถไฟจึงไม่น่าจะถูกเรียกว่าเป็นกับดักหนี้ดังที่หลายๆ สำนักมักจะกล่าวอ้าง ทั้งนี้ต้องอย่าลืมด้วยว่าหนี้สาธารณะจากการสร้างรถไฟนี้ถูกรับรู้ไปแล้วตั้งแต่ก่อนโรคโควิด ในขณะที่ สปป.ลาว มีหนี้สาธารณะประมาณ 69% ของ GDP หนี้สาธารณะก้อนใหญ่เกิดขึ้นเพราะการกู้มาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโรคโควิดมากกว่า จีนทำให้ สปป.ลาว มีหนี้สาธารณะทะลุ 100% ของ GDP
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
คำถามที่สำคัญที่สุดคือ แล้วทางออกของวิกฤตครั้งนี้ สปป.ลาว ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ของหลายๆ ประเทศที่เคยเผชิญภาวะวิกฤตในลักษณะคล้ายกัน ผู้เขียนเชื่อว่า สปป.ลาว ควรดำเนินการดังนี้
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
1. แก้ปัญหา Dollarization คือหัวใจ ต้องทำให้คนลาวใช้เงินกีบ ต้องทำให้ธุรกรรมต่างๆ ใน สปป.ลาว เกิดขึ้นโดยใช้เงินกีบ รวมทั้งการออมและการลงทุนของคนลาวต้องเป็นเงินกีบ ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงการคลัง และธนาคารกลางของ สปป.ลาว มีอิสระในการใช้เครื่องมือนโยบายการเงินและนโยบายการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า ณ ภาวะเช่นนี้ สปป.ลาว ต้องใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการเปลี่ยนระบบปริวรรตเงินตรา (Exchange Rate Regime) จากระบบ Crawling Peg Exchange Rate System ที่เป็นระบบที่กำหนดค่าเงินในประเทศไว้กับเงินสกุลหลัก และค่อยๆ ปรับลดค่าเงินของตนลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
เป้าหมายหลักของระบบนี้คือการแก้ปัญหาเงินเฟ้อพร้อมๆ กับความตั้งใจสร้างรายได้จากการส่งออกด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง แน่นอนว่าแนวทางนี้อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ สปป.ลาว ต้องการเงินตราต่างประเทศและต้องการลดอัตราเงินเฟ้อ หากแต่ปัญหาของ สปป.ลาว ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนั่นคือความไม่เชื่อมั่นในเงินกีบ ทำให้ประสิทธิผลของระบบปริวรรตเงินตราแบบ Crawling Peg ไม่เกิดขึ้นเท่าที่ควร
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ระบบปริวรรตเงินตราที่อาจจะต้องถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเงินกีบเสียก่อน อาจจะต้องกลับไปอยู่ที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ Fixed Exchange Rate Regime โดยในระยะสั้นเบื้องต้นอาจจะต้องเป็นการใช้ระบบปริวรรตเงินตราแบบ Currency Board เพื่อสร้างความมั่นใจให้คนลาวกลับมาใช้เงินกีบ หลังจากนั้นในระยะกลางจึงอาจจะปรับไปสู่ระบบปริวรรตเงินตราแบบตะกร้าเงิน (Basket of Currency)
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
2. Currency Board คือการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แต่เงินตราที่นำออกใช้ต้องมีเงินตราสกุลหลัก (อาจจะเป็นเงินสกุลเดียวหรือหลายสกุลก็ได้) และสินทรัพย์ต่างประเทศ หนุนหลังไม่น้อยกว่า 100% ในทางปฏิบัติ Currency Board จะกำหนดค่าเสมอภาค (Par Value) ของเงินสกุลท้องถิ่นเทียบกับเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นเงินสำรองไว้ที่อัตราคงที่ตายตัว (Fixed Exchange Rate) และต้องดูแลให้เงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีเงินสำรองหนุนหลังอย่างเต็มที่
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
การมีเงินสำรองหนุนหลังเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 100% ถือเป็นกฎกติกาที่ Currency Board ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะสูญเสียความน่าเชื่อถือ (Credibility) แน่นอนว่าระบบปริวรรตเงินตราแบบนี้จะทำให้ธนาคารกลางสูญเสียความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่สภาพ ณ ปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ใช้เงินกีบในการสะสมมูลค่าอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้ความเสียเปรียบประเด็นนี้ไม่ส่งผลรุนแรงมากนัก แต่ผลดีที่ได้คือการสร้างความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ให้กับเงินกีบ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า จากนั้นเมื่อประชาชนนิยมใช้เงินกีบทำหน้าที่ของเงินตราทั้ง 3 ประการอย่างเต็มที่แล้ว ธนาคารกลางก็ควรจะต้องเปลี่ยนระบบปริวรรตเงินตราอีกรอบสู่ระบบตะกร้าเงิน
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
3. ระบบตะกร้าเงินคือการผูกค่าเงินสกุลท้องถิ่นเข้ากับกลุ่มเงินของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศ เช่น เงินหยวนของจีน เงินดอลลาร์สหรัฐ เงินบาท เงินยูโร และเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (สำหรับกรณีของ สปป.ลาว) จากนั้นคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบตามสัดส่วนผสมการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเงินในตะกร้าเงิน โดยสัดส่วนผสมที่นำมาคำนวณต้องสอดคล้องกับมูลค่าการค้าการลงทุนของประเทศเหล่านี้กับ สปป.ลาว และต้องมีคณะกรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นผู้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทุกวัน มีการกำหนดอัตราซื้อขายอย่างชัดเจน รวมทั้งเข้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาค่าเงิน
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
4. คำถามคือ จะทำทั้งข้อ 2. และ 3. ได้ ต้องใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาล แล้วในภาวะที่ สปป.ลาว กำลังขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ทางการ สปป.ลาว จะไปหาเงินก้อนนี้มาจากไหน ในกรณีของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ประสบปัญหาเช่นนี้ ที่พึ่งและทางออกมักจะเป็นการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งแน่นอนว่าในทางการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจจะมีปัญหาในแง่ของความล่าช้า เงื่อนไขที่ยากลำบาก รวมทั้งการดึงไปเป็นประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
แต่ สปป.ลาว โชคดีกว่านั้น เพราะเป็นสมาชิกของความร่วมมือ ASEAN+3 ที่มีกลไกสำคัญที่เรียกว่า Chiang Mai Initiative Multilateralization (CMIM) ข้อผูกพันการให้สภาพคล่องทางการเงินฉุกเฉินระหว่างประเทศ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงินในรูปแบบ Self-Managed Reserve Pooling Arrangement (SRPA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเสริมสภาพคล่องให้แก่ประเทศสมาชิก โดยเป็นกองทุนขนาด 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (จีนและญี่ปุ่นสมทบเงินประเทศละ 30% ของกองทุน เกาหลีใต้สมทบเงิน 20% ของกองทุน และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสมทบเงิน 20% ของกองทุน)
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ซึ่งเชื่อว่าสำหรับ สปป.ลาว ที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุม ASEAN+3 ในปี 2024 รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีทั้งกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ไม่น่าจะมีความยากลำบากในการขอใช้เงินทุนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตในครั้งนี้ และเมื่อเทียบขนาดของกองทุน 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ กับขนาดเศรษฐกิจ สปป.ลาว ที่มีปริมาณอุปทานของเงินตรา (M2) ที่ระดับประมาณ 2.45 แสนล้านกีบ หรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเงินกองทุน CMIM มีมากเกินพอที่จะพยุงเศรษฐกิจ สปป.ลาว
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
5. จากนั้น สปป.ลาว คงต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะกลางและระยะยาวในการดึงดูดเงินลงทุน ขยายฐานรายได้ของประเทศ สร้างฐานการผลิต สร้างความหลากหลายของสินค้าที่ผลิตและส่งออก กระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาสินค้าและบริการนำเข้าจากต่างประเทศ และปฏิรูปภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการในภาคเศรษฐกิจแท้จริง ซึ่งต้องใช้เวลาในระยะกลางและระยะยาว เมื่อเทียบกับข้อ 1.-4. ที่เป็นมาตรการทางการเงินที่ต้องดำเนินการในระยะเร่งด่วนและระยะสั้น
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
6. ทั้งหมดนี้ การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ชาวลาวได้เข้าใจ สร้างความรักชาติ (Patriot ไม่ใช่ Nationalist) ให้เกิดขึ้น และต้องตั้งหน้าตั้งตาทำงาน โดยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของ สปป.ลาว จะฟื้นกลับมาได้
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤต
ภาพ: kavi designs via ShutterStock
ปัญหาเศรษฐกิจสปปลาวและทางออกจากวิกฤตสามารถติดตาม THE STANDARD WEALTHผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้งานอยู่แล้วได้เลย