【sigma game】"ออกหว่า" ออกพรรษาแม่สะเรียง 2567 | เดลินิวส์
เวียนกลับมาอีกครั้งสำหรับประเพณีออกพรรษาของชาวไทใหญ่ที่สืบทอดมากว่า 600 ปี “ประเพณีออกหว่า” ที่จัดขึ้นในวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับโลกมนุษย์หลังจากเสด็จโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันขึ้น 15 คํ่า เดือน 11
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์คำว่า “ออกหว่า” หมายถึง การออกจากฤดูฝน ในวันนั้นแต่ละบ้านจะจัดทำ “ซุ้มราชวัตร” หรือ “ปราสาทรับเสด็จพระพุทธเจ้า” ชาวไทใหญ่เรียกว่า “กยองเข่งปุด” โดยจะทำซุ้มประตูบ้านให้เป็นรูปปราสาท ประดับประดาด้วยโคมไฟหูกระต่าย ตกแต่งด้วยดอกไม้ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ช่อตุง ประทีปโคมไฟ เปรียบเหมือนการต้อนรับพระพุทธเจ้าที่พระองค์เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยแต่ละบ้านจะจัดทำซุ้มราชวัตรขนาดพอเหมาะหน้าบ้านก่อนงานออกหว่าอย่างน้อย 3-5 วัน และจะมีซุ้มราชวัตรศูนย์กลางที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้น ซึ่งจะจัดล่วงหน้าอย่างน้อยสองวัน คือก่อนวันขึ้น 14 คํ่า เดือน 11 ของทุกปี
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ตลอด 3 วัน จะมีการตักบาตรพระสงฆ์ที่หน้าบ้านของแต่ละคน ซึ่งถือเป็นการตักบาตรที่เช้าที่สุดในประเทศไทย โดยในวันแรกซึ่งตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม 2567 จะเป็นการตักบาตรอาหารสด การตักบาตรจะเริ่มตอนประมาณ 04.00 น. ซึ่งไม่เหมือนกับตักบาตรเทโวทั่วไป ส่วนอีกสองวันที่เหลือคือวันที่ 17-18 ตุลาคม 2567 จะเป็นการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ชาวอำเภอแม่สะเรียงมีความเชื่อว่า การตักบาตรที่หน้เาบ้านของตนเอง จะเป็นสิริมงคลต่อบ้านและคนในครอบครัว พระภิกษุและสามเณรกว่า 200 รูป จะเดินบิณฑบาตไปตามถนนสายต่าง ๆ
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ในวันแรม 1-14 คํ่า เดือน 11 จะมีกิจกรรมแห่ “เทียนเหง” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาเป็นประเพณีหนึ่งที่สืบทอดมาจากไทใหญ่ คำว่าเทียนเหง เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า เทียนพันเล่ม และเรียกประเพณีนี้ว่า “หลู่เตนเหง” คำว่า “หลู่” แปลว่า ถวาย หรือ ทาน คำว่า “เตน” แปลว่า เทียน และคำว่า “เหง” แปลว่า หนึ่งพัน
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ภายในขบวนมีการจัดสิ่งของเครื่องไทยธรรม เทียน 1 พันเล่ม โคมหูกระต่าย โคมกระบอก ตุงและตุงจ่องกรวยดอกไม้อย่างละ 1 พัน ในคืนวันแห่จะมีขบวนสตรีที่แต่งกายแบบหญิงไทใหญ่นำเครื่องไทยธรรมร่วมขบวน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้นโคมหูกระต่ายที่ทำเป็นชั้น ๆ เหมือนฉัตร หรือรูปพีระมิด 1 ต้น และต้นเกี๊ยะ ซึ่งมาจากการนำไม้สนสามใบมาจักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5 เมตร แล้วนำมามัดรวมกันเป็นต้นเกี๊ยะเพื่อจุดบูชาพระพุทธเจ้า
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ขบวนแห่เทียนเหงจะแห่จากที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียงไปตามวัดต่าง ๆ ในเขตเทศบาลแม่สะเรียง พร้อมกับมีการละเล่นที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชน มีการแต่งตัวเป็นเทพบุตร เทพธิดา และสัตว์ป่าหิมพานต์ การฟ้อนโต การฟ้อนกิ่งกะหล่า การฟ้อนกํ๋าเบ้อคง การฟ้อนเขียดแลว การฟ้อนผีโขน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการกลับจากสวรรค์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการประเพณีออกหว่า ณ ลานวัฒนธรรม วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) ถนนคนเดิน และนิทรรศการหน่วยงานต่าง ๆ ณ บริเวณรอบเทศบาลตำบลแม่สะเรียง กิจกรรม ณ ลานวัฒนธรรม วัดอุทธยารมณ์ วัดศรีบุญเรือง โดยมีกิจกรรมสำคัญวันที่ 16 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. พิธีเปิดงานประเพณีสืบฮีต สานฮอย ย้อนรอยออกหว่าและวิถีชนเผ่า วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 18.00 น. มีกิจกรรมกาดหมั้ว ครัวฮอม
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์สำหรับกิจกรรมงานรื่นเริง ณ เวทีกลาง หน้าสถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง มีการแสดงรื่นเริง ตลอด 3 คืน ในวันที่ 16-18 ตุลาคม 2567 ได้แก่ การแสดงจากโรงเรียนต่าง ๆ และการประกวดรำนก รำโต พิธีเปิดงานประเพณีออกหว่า เทศกาลออกพรรษาอำเภอแม่สะเรียง โดย อ.อัครัช สิปปนันท์ และพบกับ “ครูเต้ย” ศิลปินที่มีชื่อเสียง
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ขบวนแห่เทียนเหง ในค่ำคืนวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. สัมผัสขบวนแห่เทียนเหง (เทียนพันเล่ม) กว่า 20 ขบวน มีการสอดแทรกเรื่องราวของงานประเพณีออกหว่า เทศกาลออกพรรษา ให้สามารถสัมผัสได้อย่างใกล้ชิด
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์นอกจากนี้ ในวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ได้จัดให้มีงานวิ่ง “กว่า แหล่ โกม ครั้งที่ 3” ณ ลานหน้าที่ว่าทำการอำเภอแม่สะเรียง โดยกิจกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป มีระยะทาง 5 กิโลเมตร และระยะทาง 10 กิโลเมตร ตามลำดับ
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์ช่องทางสอบถามรายละเอียดประเพณีออกหว่า เพิ่มเติมโทร. 0-5368-1231 ต่อ 19 มือถือ : 08-1287-6938 (กองการศึกษา) Facebook : เทศบาลตำบลแม่สะเรียง เทศบาลตำบลแม่สะเรียง.
ออกหว่าquotออกพรรษาแม่สะเรียงเดลินิวส์