【vb711】น่าตกใจ! คนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่ง เป็นตั้งแต่เด็ก รพ.เปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจร | เดลินิวส์

‘ความรู้สึกเศร้าหมอง’ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต แต่เมื่อความเศร้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ ‘โรคซึมเศร้า’

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ‘โรคซึมเศร้า’ เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หรือ คิดมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะทั่วไปที่ใครๆ ก็เคยเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า และขาดความสนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยกระตุ้นอารมณ์ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า คือ พันธุกรรม การมีประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นโรคซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ นอกจากนี้ สารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก เช่น เซโรโทนิน โดปามีน และนอร์เอพิเนฟริน ก็มีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคซึมเศร้า ความไม่สมดุลของสารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน อาทิ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง การเปลี่ยนแปลงงาน หรือปัญหาทางการเงิน ความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ การใช้ชีวิตที่ขาดความสมดุล ตั้งแต่การนอนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือการขาดการออกกำลังกาย ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมได้

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

ไม่เพียงเท่านี้ ลักษณะนิสัยส่วนบุคคลก็นับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะมองโลกในแง่ร้าย คิดมาก หรือมีค่านิยมในตนเองต่ำ อาจมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ การมีประวัติการถูกทารุณกรรมทางร่างกายหรือจิตใจในวัยเด็กก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

ปัจจุบัน โรคซึมเศร้าได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในปี 2566 มีคนไทยกว่า 1.5 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และจำนวนผู้ป่วยรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีตัวเลขผู้ป่วยที่เป็นที่ประจักษ์ แต่คาดว่ายังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสม สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

นอกจากนี้ ผลการรักษาของผู้ป่วยโรคซึมเศรายังเป็นอีกประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบดั้งเดิม ทำให้เกิดความต้องการในการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย อย่าง ‘การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ลึก’ (Deep Transcranial Magnetic Stimulation: dTMS) มาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งถือเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

ปัจจุบันโรคซึมเศร้าเป็นปัญหาที่พบในผู้ป่วยตั้งแต่อายุยังน้อย ไปจนถึงผู้ป่วยอายุมาก ในฐานะจิตแพทย์ที่พบผู้ป่วยจิตเวชมาเป็นจำนวนมาก เราเข้าใจดีถึงความยากลำบากที่ตัวผู้ป่วยเอง และบุคคลใกล้ชิดต้องเผชิญ เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราได้ใช้เทคโนโลยีที่ทำงานโดยการกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ทำให้สมดุลของสารเคมีในสมองกลับคืนสู่ภาวะปกติ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคซึมเศร้า ที่ช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เราหวังว่าศูนย์รักษาโรคซึมเศร้าของ BMHH จะเป็นที่พึ่งพิงให้กับผู้ป่วยทุกท่าน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่เข้าใจและให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น” พญ. ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ หรือ BMHH ระบุ

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

‘โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์’ (BMHH) ได้เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึมเศร้าล่าสุด ด้วยเทคโนโลยี ‘dTMS’ (Deep Transcranial Magnetic Stimulation) ณ ศูนย์โรคซึมเศร้าแบบครบวงจร เป็นการมุ่งเน้นให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การประเมินอาการเบื้องต้น การวินิจฉัยที่แม่นยำ และการรักษาที่หลากหลาย โดยทีมสหสาขาวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

‘พญ. ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล’ จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี Deep Transcranial Magnetic Stimulation หรือ dTMS ว่า ปัจจุบันวงการแพทย์มีตัวเลือกในการรักษาโรคซึมเศร้าหลากหลายวิธี อาทิ การใช้ยา การทำจิตบำบัด และเทคโนโลยี dTMS ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองและบรรเทาอาการซึมเศร้า

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

เทคโนโลยี dTMS ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากยาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ dTMS ยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยาและจิตบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้อีกด้วย

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

หลักการทำงานของ dTMS คือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองส่วนหน้าผ่านอุปกรณ์ที่สวมใส่บนศีรษะ โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีต่อครั้ง และต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 วัน ผลลัพธ์ของการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของแต่ละบุคคล ซึ่งก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจถึงกระบวนการและข้อควรระวังต่างๆ โดย พญ. ณัฏฐพัชร์ ย้ำว่า การรักษาด้วย dTMS ไม่ใช่การรักษาที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ผลลัพธ์ของการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาจต้องใช้เวลาในการรักษาหลายสัปดาห์จึงจะเห็นผลชัดเจน นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพร่างกายและจิตใจก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษา เพื่อให้ได้แผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง

น่าตกใจคนไทยป่วยซึมเศร้าพุ่งเป็นตั้งแต่เด็กรพเปิดศูนย์โรคซึมเศร้าครบวงจรเดลินิวส์